สวัสดีครับ วันนี้ขอมาต่อส่วนขยายจากตอนที่แล้วนะครับ ในตอนที่1 นั้นเรารู้แล้วว่าวัสดุที่ใช้ทำเสื้อผ้านั้นมีอะไรบ้าง มีความคงทน มีหลักในการดูว่า วัสดุชนิดไหนมีความทนทานมากกว่ากัน พร้อมทั้งการวัดตัว ว่าการใส่ให้พอดีนั้นต้องวัดอย่างไร วันนี้เราจะมาดูกันต่อครับว่านอกจากสิ่งที่พูดไปแล้วยังมีอะไรอีกบ้าง
เมื่อเราตัดสินใจได้แล้วว่า เราจะซื้อเสื้อตามวัสดุ ความสวยงาม และประโยชน์การใช้สอย ก็ไปตามหาแบบเสื้อกันครับ
Full armour Protection

Credit picture -
http://riskontrol.org/citationsเราเหล่าอัศวินม้าศึกในยุคสมัยมิลเลเนี่ยม พวกเราคงไม่ต้องใช้เกราะเหล็กทั้งชุดแบบนี้นะครับ ^^ แต่แนวคิดจะใกล้เคียงกันมาเพียงแต่เปลี่ยนวัสดุที่ใช้แล้วปรับขนาดและน้ำหนักให้เบาลง

credit picture -
http://www.rulesoftheroad.ie/rules-for-pedestrians-cyclists-motorcyclists/motorcyclists/motorcycle_protection-equipment.htmlก่อนอื่นเลย ขอเสนอ เกราะแบบเต็มตัว
ด้านหลัง

ด้านหน้า

รายละเอียดของชุด


credit picture -
http://www.bikeapparels.com/m/armors/full/Motorcycle_body_armor_jackets.html(ขออภัยในความไม่สะดวก มีข้อมูลขั้นรายการ โปรดอ่านต่อได้ข้างล่าง)
------------------- ข้อมูลขั้นรายการ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรฐานของชุด - Cambridge standard มาตรฐานที่สูงที่สุดในโลก สำหรับชุดนักขับขี่

มาตรฐานตัวนี้ถูกนำมาใช้ในปี ค.ศ. 1994 โดย Dr. Woods
เป็นมาตรฐานที่จะมาช่วยผู้บริโภคว่าแบบไหนดี ไม่ดีอย่างไร โดยมีการกำหนดรูปแบบในการทดสอบต่างๆภายในที่กำหนดไว้ เช่น
บริเวณที่กระทบรุนแรง - ไหล่ ข้อศอก หัวเข่า และ คาง การทดสอบจะใช้พลังงานมีหน่วยเป็น กิโลจูลน์ ถ้าเป็นแบบทั่วๆไป 50 กิโลจูลน์ แต่ถ้าเป็นแบบที่ดีมากๆ จะต้องใช้แรงกระทำมากกว่า 75 กิโลจูลน์ในการทดสอบ
บริเวณที่มีการถู สไลด์ด้วยความรุนแรง เช่น ไหล่ ศอก แขน สะโพก ก้น หัวเข่า และ คาง ต้องมีการเสริมชั้นของวัสดุ เช่นหนังเข้าไปด้วย การตรวจสอบจะตรวจโดยการขัดถูอย่างแรงต่อหน่วยวินาที ก่อนที่วัสดุเหล่านั้นจะใช้งานไม่ได้
บริเวณที่ขาดได้ง่าย จะถูกทดสอบด้วยแรงเป็น นิวตันต่อตารางหน่วย
ในเรื่องของหน่วยวัดนั้นไม่ต้องไปสนใจนะครับ เป็นแรงวัดการกระแทก อย่าง 75 กิโลจูลน์ พูดง่ายๆ ก็ ใช้แรงกระแทกราวๆ 7ตัน แค่นั้นเองครับ ( น่าเอาไปกันกระสุนแทนจัง - -" รึไม่ก็ผมคำนวนผิด 5555+)
รูปประกอบ


Aritcle - picture credit -
http://www.hideout-leather.co.uk/manufacturing เค้าทดสอบด้วยเครื่องแบบนี้ครับ
อันนี้ทดสอบแรงกระแทกครับ

อันนี้ทดสอบการขัดถู สึกกร่อน

ดูชัดๆ

เครื่องวัดการเจาะทะลุ


credit picture -
http://www.pva-ppe.org.uk/standards.htm -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่นี้เรามาต่อกันครับ
เกราะแบบเต็มตัวจะมี 2แบบ คือ แบบที่ใส่ไว้ด้านในแล้วใส่เสื้อ Jacket ทับไปอีกที อีกแบบคือเป็นเกราะอ่อนกระจายไปทั่วทั้งตัวแต่ยังต้องหาชุดมาสวมทับนะครับ
รูปประกอบ

อะ อันบนนี้ยังไม่ใช่นะครับ แบบนี้คงเอาไปขี่ไม่ได้แน่ๆ 555+

credit picture -
http://dirtmag.co.uk/features/design-classic-dainese-body-armour วันนี้ขอจบส่วนขยาย แค่นี้ก่อนนะครับ ในตอนหน้าเราจะมาพูดถึงเรื่อง ชุดชั้นในสำหรับท่านชาย รวมไปถึง ชุดเสริมอื่นๆ ถ้าหากท่านผู้อ่านมีข้อมูลเพิ่มเติม อยากแนะแนว รึว่ามีข้อคิดเห็นใหม่ๆ ช่วยกันโพสนิดนะครับ เพราะว่าเนื้อหาอาจไม่ครอบคลุม
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ ขับขี่ปลอดภัยครับ