Login
บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98  (อ่าน 28982 ครั้ง)

TiDD HD

  • Sportster 1200 L
  • ****
  • กระทู้: 180
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #45 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2012, 09:48:28 AM »
สุดยอดเลยครับพี่พอมีรายละเอียดของการเติมลมยางเช่นขอบ 21นิ้วหรือ 16นิ้วไหมครับว่าควรเติมเท่าไหร่

eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง

  • Dyna Street Bob
  • **
  • กระทู้: 372
  • อิ๊ดดี้ 1HD Flstc. 1998 Evo. Never die
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #46 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2012, 10:24:05 AM »
สุดยอดเลยครับพี่พอมีรายละเอียดของการเติมลมยางเช่นขอบ 21นิ้วหรือ 16นิ้วไหมครับว่าควรเติมเท่าไหร่

หวัดดีครับคุณ TiDD HD และเพื่อนๆ ลองศึกษาดูนะครับ   handshake handshake

http://hd-playground.com/smf/index.php/topic,45655.msg772946.html#msg772946
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 21, 2012, 06:05:04 AM โดย eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง »

Ktt

  • Sportster 883 L
  • **
  • กระทู้: 32
  • Born For Buriram
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #47 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2012, 08:32:51 AM »
  handshake handshakeโดยทั่วไปอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้เสียกันง่ายๆนะครับ ผมว่าตรวจเช็คไล่สายตามจุดต่อต่างๆขยับให้แน่น ใต้ถังน้ำมันสายพาดผ่านถึงเรือนไมล์ มีเวลาถอดรื้อขยับสายไฟก่อนครับ ถึงแม้จะเห็นว่าสายจุดต่อเสียบอยู่ลองชักออกมา ฉีดน้ำยา contrac cleaner ล้างคราบไคล แล้วเสียบให้แน่น เราอาจขับขี่ในทางขรุขระ ทำให้ขยับ หลุดหลวมหรือสกปรกได้   แก้ปัญหาอย่างง่ายก่อนแล้วค่อยไปอย่างยากครับ    handshake handshake
หาเจอแล้วครับและหายแล้วครับ........ขอบคุณครับ    ต่อไปจะเปลี่ยนน้ำมันเครึ่องครับซื้อมาแล้วจะลองเปลี่ยนเอง    ติดขัดตรงใหนจะเข้ามาถามน๊ะครับ.

eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง

  • Dyna Street Bob
  • **
  • กระทู้: 372
  • อิ๊ดดี้ 1HD Flstc. 1998 Evo. Never die
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #48 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2012, 02:26:07 PM »
 boogie boogie ขยับสายข้อต่อ ทำความสะอาด เป็นปกติแล้ว ยินดีด้วยครับ
ทีนี้เรามาดูส่วนประกอบโช๊คและการปรับแต่งกันครับ
   boogie boogie






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 07:00:25 PM โดย eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง »

eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง

  • Dyna Street Bob
  • **
  • กระทู้: 372
  • อิ๊ดดี้ 1HD Flstc. 1998 Evo. Never die
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #49 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2012, 08:13:28 PM »








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 07:04:04 PM โดย eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง »

eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง

  • Dyna Street Bob
  • **
  • กระทู้: 372
  • อิ๊ดดี้ 1HD Flstc. 1998 Evo. Never die
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #50 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2012, 08:18:34 PM »
 handshake handshakeระบบสตาทร์และเซนเซอร์   handshake handshake



eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง

  • Dyna Street Bob
  • **
  • กระทู้: 372
  • อิ๊ดดี้ 1HD Flstc. 1998 Evo. Never die
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #51 เมื่อ: ธันวาคม 02, 2012, 01:17:44 PM »
 handshake ขี่ไปศึกษาไปครับ สนุกๆ handshake

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 06:41:51 PM โดย eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง »

hiway

  • EXILE
  • กระทู้: 6,006
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #52 เมื่อ: ธันวาคม 02, 2012, 06:26:15 PM »
ข้อมูลแน่นมากๆ ครับน้า .....  thumbsup thumbsup
จากสูงสุดสู่สามัญ ....

TiDD HD

  • Sportster 1200 L
  • ****
  • กระทู้: 180
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #53 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2012, 06:07:28 AM »
พี่ครับผมอยากเห็นรูปตูดstarterคือว่าผมไปซื้อซูรินอยมากะว่าจะเปลี่ยนเองคนขายบอกว่าเวลาเเกะออกระวังสปิงมันเด้งออกมาดังนั้นหาพี่มีรูปผมจะได้ศึกษาไว้ก่ินจะแกะออกมาครับ

eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง

  • Dyna Street Bob
  • **
  • กระทู้: 372
  • อิ๊ดดี้ 1HD Flstc. 1998 Evo. Never die
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #54 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2012, 02:10:23 PM »
พี่ครับผมอยากเห็นรูปตูดstarterคือว่าผมไปซื้อซูรินอยมากะว่าจะเปลี่ยนเองคนขายบอกว่าเวลาเเกะออกระวังสปิงมันเด้งออกมาดังนั้นหากพี่มีรูปผมจะได้ศึกษาไว้ก่อนจะแกะออกมาครับ[/size][/color]

พี่ครับผมTiDD HD  อยากเห็นรูปตูดstarterคือว่าผมไปซื้อซูรินอยมากะว่าจะเปลี่ยนเองคนขายบอกว่าเวลาเเกะออกระวังสปิงมันเด้งออกมาดังนั้นหาพี่มีรูปผมจะได้ศึกษาไว้ก่ินจะแกะออกมาครับ
 handshake handshakeยินดีครับสำหรับคนหัวใจ Harley  Evo. อิ...อิ...ได้เลย..ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของ Starter,Solenoid และ Jack-shaft handshake handshake
[/img]






















 hug

  hug  [IMG
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 03, 2013, 01:02:50 PM โดย eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง »

Roen HD

  • Sportster 883 L
  • **
  • กระทู้: 85
  • 1HD Heritage Softail Classic 1997
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #55 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2012, 03:05:01 PM »
 headbang headbang headbang number1 number1

eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง

  • Dyna Street Bob
  • **
  • กระทู้: 372
  • อิ๊ดดี้ 1HD Flstc. 1998 Evo. Never die
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #56 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2012, 08:01:10 PM »
  HERITAGE  SOFTAIL 1998 เห็นกันจะ..จะ..    



เกรดน้ำมันเครื่อง

ความหมายของที่อยู่ข้างกระป๋องนั้น มีความสำคัญต่อการใช้งานของเครื่องยนต์ เราสามารถแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องออกได้ สองประเภทด้วยกัน ดังนี้

-แบ่งตามความหนืด
-แบ่งตามสภาพการใช้งาน

การแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องตามความหนืด

จะเป็นที่คุ้นเคยและใช้กันมานานแล้ว และเป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงของอีกหลายสถาบันที่ตั้งขึ้นมาทีหลังอีกด้วย พูดถึงมาตรฐาน " SAE" คงจะรู้จักกันมาตรฐานนี้ก่อตั่งโดย "สมาคมวิศวกรยานยนต์" ของอเมริกา ( Society of Automotive Engineers) การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องแบบนี้จะแบ่งเป็นเบอร์ เช่น 30,40,50 ซึ่งตัวเลขแต่ละชุดนั้นจะหมายถึงค่าความข้นใสหรือค่าความหนืดของน้ำมันหล่อลื่น โดยน้ำมันที่มีเบอร์ต่ำจะใสกว่าเบอร์สูง ตัวเลขที่แสดงอยู่นั้นจะมาจากการทดสอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หมายความว่าที่อุณหภูมิทำการทดสอบ น้ำมันเบอร์ 50 จะมีความหนืดมากกว่าน้ำมันเบอร์ 30 เป็นต้น

น้ำมันที่มีตัว " W" ต่อท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า Winter เป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับใช้ในอุณหภูมิต่ำ ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งมีความข้นใสน้อย จะวัดกันที่อุณหภูมิต่ำ - 18 องศาเซลเซียสน้ำมันเบอร์ 5W จะมีความข้นใสน้อยกว่าเบอร์ 15W นั่นหมายความว่าตัวเลขสำหรับเกรดที่มี " W" ต่อท้ายเลขยิ่งน้อย ยิ่งคงความข้นใสในอุณหภูมิที่ติดลบมาก ๆ ได้เหมาะสำหรับใช้งานในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นมาก อย่างเกรด 0W นั้นสามารถคงความข้นใสได้ถึงประมาณ - 30 องศาเซลเซียส เกรด 20 W สามารถคงความข้นใสได้ถึงอุณหภูมิประมาณ - 10 องศาเซลเซียส น้ำมันเครื่องทั้งสองเกรดนี้เรียกว่า "น้ำมันเครื่องชนิดเกรดเดียว" ( Single Viscosity หรือ Single Grade)

ส่วนน้ำมันเครื่องชนิดเกรดรวม ( Multi Viscosity หรือ Multi Grade) นั้นทาง SAE ไม่ได้เป็นผู้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเกรดรวม แต่เกิดจากการที่ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงโดยใช้สารเคมีเข้ามาผสมจนสามารถทำให้น้ำมันเครื่องนั้น ๆ มีมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานของ SAE ทั้งสองแบบได้เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้งานตามสภาพภูมิประเทศที่มีอุณหภูมิต่างกันมาก การผสมสารปรับปรุงคุณภาพนั้นแตกต่างกันมากน้อยตามความต้องการในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเกรด 5W-40 หรือ 15W-50 แต่การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องตามความหนืดที่เราเรียกกันเป็นเบอร์นี้สามารถบอกได้แค่ช่วงความหนืดเท่านั้นแต่ไม่ได้บ่งบอกถึงระดับในการใช้งานของเครื่องยนต์แต่ละประเภท

ต่อมาในประมาณปี 1970 SAE,API และ ASTM (American Society for Testing and Masterials) ได้ร่วมมือกันกำหนดการแยกน้ำมันเครื่องตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี่เครื่องยนต์ที่พัฒนาขึ้น เราจึงเห็นได้เห็นจากข้างกระป๋องบรรจุ ตัวอย่างเช่น การบอกมาตรฐานในการใช้งานไว้ API SJ/CF และมีค่าความหนืดของ SAE 20W-50 ควบคู่กันไปด้วยแสดงว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้สามารถใช้กับเครื่องยนต์เบนซินได้เทียบเท่าเกรด SJ ถ้าใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะเทียบเท่าเกรด CF ที่ค่าความหนืด SAE 20W-50

การกำหนดมาตราฐานของน้ำมันเครื่องตามสภาพการใช้งาน

สามารถแบ่งมาตรฐานของน้ำมันเครื่องโดยอ้างอิงสถาบันใหญ่ได้หลายสถาบัน เช่น
สถาบัน "API" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา
สถาบัน " ACEA" ( เดิมเรียก CCMC) เกิดจากการรวมตัวของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรป
สถาบัน "JASO" เกิดจากการรวมตัวของสถาบันกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น

จะเห็นได้ว่าแต่เดิมสถาบัน API ซึ่งเคยมีบทบาทมากในอดีต และเป็นสถาบันที่กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกยอมรับ ปัจจุบันในกลุ่มประเทศยุโรปและญี่ปุ่นก็ได้มีการออกมาตรฐานขึ้นมาเป็นของตนเองเช่นกัน

คำว่า "API" ย่อมาจาก " American Petroleum Institute" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา ซึ่งจะแบ่งเกรดน้ำมันหล่อลื่นตามสภาพการใช้งานเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ก็คือ
"API" ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงใช้สัญลักษณ์ "S" (Service Stations Classifications) นำหน้า เช่น SA, SB, SC, SD, SE, SF, SG, SH, และ SJ
"API" ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง ใช้สัญลักษณ์ " C" (Commercial Classifi-cations) นำหน้าเช่น CA, CB, CC, CD, CD-II, CF, CF-2, CF-4, และ CG-4
เรามาดูน้ำมันเครื่องที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงกันก่อนจะใช้สัญลักษณ์ "S" และตามด้วยสัญลักษณ์แทนน้ำมันเกรดต่าง ๆ ที่แบ่งได้ตามเกรดดังต่อไปนี้
SA สำหรับเครื่องยนต์เบนซินใช้งานเบาไม่มีสารเพิ่มคุณภาพ
SB สำหรับเครื่องยนต์เบนซินใช้งานเบามีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย และสารป้องกันการกัดกร่อนไม่แนะนำให้ใช้ในเครื่องยนต์รุ่นใหม่
SC สำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1964-1967 โดยมีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐาน SB เล็กน้อย เช่น มีสารควบคุมการเกิดคราบเขม่า
SD สำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1968-1971 โดยมีสารคุณภาพสูงกว่า SC และมีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่า SC
SE สำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1971-1979 มีสารเพิ่มคุณภาพเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้สูงกว่า SD และ SC และยังสามารถใช้แทน SD และ SC ได้ดีกว่าอีกด้วย
SF สำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1980-1988 มีคุณสมบัติป้องกันการเสื่อมสภาพสามารถจะทนความร้อนสูงกว่า SE และยังมีสารชำระล้างคราบเขม่าได้ดีขึ้น
SG เริ่มประกาศใช้เมื่อเดือนมีนาคม คศ. 1988 มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นกว่ามาตรฐาน SF โดยเฉพาะมีสารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันสนิมสารป้องกันการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อน และสารชะล้าง-ละลาย และย่อยเขม่าที่ดีขึ้น
SH เริ่มประกาศใช้เมื่อปี คศ. 1994 เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์อย่างรวดเร็วมีระบบใหม่ ๆ ในเครื่องยนต์ที่ถูกคิดค้นนำเข้ามาใช้ เช่น ระบบ Twin Cam, Fuel Injector, Multi-Valve, Variable Valve Timing และยังมีการติดตั้งระบบแปรสภาพไอเสีย (Catalytic Convertor) เพิ่มขึ้น
SJ เป็นมาตรฐานสูงสุดในปัจจุบัน เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1997 มีคุณสมบัติทั่วไปคลายกับมาตรฐาน SH แต่จะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีกว่ามีค่าการระเหยตัว ( Lower Volatility) ต่ำกว่าทำให้ลดอัตราการกินน้ำมันเครื่องลงและมีค่าฟอสฟอรัส ( Phosphorous) ที่ต่ำกว่าจะช่วยให้เครื่องกรองไอเสียใช้งานได้นานขึ้น

สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้สัญลักษณ์ "C" (Commercial Classifications) และตามสัด้วยสัญลักษณ์ที่แทนด้วยน้ำมันเกรดต่าง ๆ โดยจะแบ่งตามลักษณะเครื่องยนต์ที่ใช้งานแตกต่างกัน
CA สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้งานเบา เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตขึ้นระหว่าง คศ. 1910-1950 มีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย เช่น สารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันคราบเขม่าไปเกาะติดบริเวณลูกสูบผนังลูกสูบและแหวนน้ำมัน
CB สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา งานเบาปานกลาง มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1949 มีคุณภาพสูงกว่า CA โดยสารคุณภาพดีกว่า CA
CC สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบ มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1961 ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่า CB โดยเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันคราบเขม่ามีสารป้องกันสนิมและกัดกร่อน ไม่ว่าเครื่องยนต์จะร้อนหรือเย็นจัดก็ตาม
CD สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ. 1955 มีคุณภาพสูงกว่า CC
CD-II สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1988 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร
CE สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ. 1983 มีคุณภาพสูงกว่า CD ป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้อย่างดีเยี่ยม
CF เป็นมาตรฐานสูงสุดในเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน สำหรับเกรดธรรมดา ( Mono Grade) เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1994 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลทุกชนิดไม่ว่าจะใช้ งานหนักหรือเบา สามารถใช้แทนในมาตรฐานที่รอง ๆ ลงมา เช่น CE, CD, CC ได้ดีกว่าอีกด้วย
CF-2 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุนใหม่ 2 จังหวะเริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1994 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร
CF-4 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4 จังหวะที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนักและรอบจัด เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1990 เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม สามารถป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้ดีเยี่ยม
CG-4 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4 จังหวะซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในในปัจจุบัน เริ่มประกาศใช้ปี 1996 เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม

มาตรฐานน้ำมันเครื่อง ACEA ย่อมาจาก The Association des Constructeurs Europeens d'Automobile หรือเป็นทางการว่า European Automobile Manufarturer' Association สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรบซึ่งได้แก่ ALFA ROMEO, BRITISH LEYLAND, BMW, DAF, DAIMLER-BENZ, FIAT, MAN, PEUGEOT, PORSCHE, RENAULT, VOLKSWAGEN, ROLLS-ROYCE, และ VOLVO ได้มีการกำหนด มาตรฐานโดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม 1996 โดยยกเลิกมาตรฐาน CCMC ไปเนื่องจาก ACEA มีสถาบันเข้าร่วมโครงการมากกว่าและมีข้อกำหนดที่เด่นชัด

มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน (Gasoline (Petron) Engines)
A 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์เบนซินทั่วไป
A 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
A 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์เบนซินในปัจจุบัน

มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก (Light Duty Diesel Engines)
B 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กทั่วไป
B 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
B 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กในปัจจุบัน

มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ (Heavy Duty Diesel Engines)
E 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ทั่วไป
E 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
E 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน

มาตรฐานน้ำมันเครื่อง JASO ย่อมาจาก Japanese Automobile Standard Organization หรือกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ต่อมาเรียกรวมเป็นมาตรฐาน ISO โดยเเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
เครื่องยนต์เบนซิน
JSE (ISO-L-EJGE) เทียบพอๆ กับมาตรฐาน API SE หรือ CCMC G1 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้น
JSG (ISO-L-EJDD) เทียบกับมาตรรฐานสูงกว่า API SG หรือ CCMC G4 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้นไปอีก
เครื่องยนต์ดีเซล
JASO CC (ISO -L-EJDC) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 50 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CC เป็นอย่างต่ำ
JASO CD (ISO -L-EJDD) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 100 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CD เป็นอย่างต่ำ


มาตรฐานน้ำมันเครื่องแห่งกองทัพสหรัฐ
มาตรฐาน MIL-L-2104 เป็นมาตรฐานของน้ำมันหล่อลื่นที่กำหนดขึ้นสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน มีรายละเอียดดังนี้
MIL-L-2104 A ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี 1954 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีกำมะถันต่ำและเครื่องยนต์เบนซินทั่ว ๆ ไปเปรียบได้กับมาตรฐาน API CA/SB ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว
MIL-L-2104 B กำหนดใช้เมื่อปี 1964 สำหรับน้ำมันหล่อลื่นทีมีสารเพิ่มคุณภาพด้านการป้องกันการเกิดอ๊อกซิเดชั่นและป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐาน API CC/SC
MIL-L-2104 C กำหนดใช้เมื่อปี 1970 สำหรับน้ำมันหล่ดลื่นที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีรอบสูงมาก ๆ และการใช้งานหนัก มีสารป้องกันคราบเขม่า ป้องกันการสึกหรอ และป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC
MIL-L-2104 D กำหนดใช้เมื่อปี 1983 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน 4 จังหวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC
MIL-L-2104 E กำหนดใช้เมื่อปี 1988 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน 4 จังหวะ รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CF/SG
มาตรฐาน MIL-L-46152 เริ่มกำหนดใช้เมื่อปี 1970 เป็นมาตรฐานน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน
MIL-L-46152 A เริ่มใช้เมื่อปี 1980 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินทั่วไป เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CC
MIL-L-46152 B กำหนดใช้เมื่อปี 1981 เป็นการรวมมาตรฐาน MIL-L-2104 B เทียบได้กับมาตรฐาน API SF/CC
MIL-L-46152 C กำหนดใช้เมื่อปี 1987 โดยปรับปรุงจากมาตรฐาน MIL-L-46152 B เพราะมีการเปลียนแปลงวิธีการวัดจุดไหลเทใหม่
MIL-L-46152 D เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงมาจาก MIL-L-46152 C เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทดสอบเครื่องยนต์ และมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดอ๊อกซิเดนชั่นดีขึ้นกว่าเดิม เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CD
MIL-L-46152 E มาตรฐานล่าสุด เทียบได้กับมาตรฐาน API SG/CE


สำหรับมาตรฐานน้ำมันเครื่องที่รู้จัก ก็คือมาตรฐาน " API" และ " SAE" ซึ่งน้ำมันเครื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะแจ้งมาคู่กันบางยี่ห้อจะบอกค่าดัชนีความหนืดของ "SAE" อย่างเช่น 5W-30, 15W-40 เป็นต้นและจะมีค่ามาตรฐานที่บอกสมรรถนะของน้ำมันเครื่องกระป๋องนั้นเป็นมาตรฐาน "API" เช่น SE, SF, SG, CC, CD, CE เป็นต้น

ดังนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องก็ไม่ควรฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ เลือกใช้ให้เหมาะกับรถก็พอ แต่ควรจะเลือกใช้ค่าความหนืดให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและอาศัยการเปลี่ยนถ่ายที่เหมาะสมแก่เวลา ส่วนการเลือกใช้น้ำมันสังเคราะห์นั้น มันก็ดีที่ช่วยยืดอายุเครื่องยนต์ได้อีกทางแต่มันไม่ค่อยเหมาะสมกับรถที่ใช้งานธรรมดาจะเหมาะกับพวกชอบใช้รอบเครื่องยนต์สูง ๆ ขับซิ่ง ๆยิ่งในเศรษฐกิจแบบนี้ต้องไม่จ่ายแพงกว่า และการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง ควรที่จะเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องควรคู่กันไปด้วย

1.Castrol
1.1 คาสตรอล เพาเวอร์วัน เรซซิ่ง 4ที น้ำมันหล่อลื่นสังเคราะห์ 100%มาตรฐาน API SJ JASO MA SAE 10W/40
1.2 คาสตรอล เพาเวอร์ วัน 4 ที SAE 15W/40 API SG JASO MA

2.Shell
2.1 เชลล์ แอ๊ดว้านซ์ อัลตร้า 4Tน้ำมันหล่อลื่นสังเคราะห์API SJ SAE 15W-50
2.2 เชลล์ แอ๊ดว้านซ์ VSX 4T น้ำมันหล่อลื่นเทคโนโลยีสังเคราะห์ API SJ SAE 10W-40

3.Mutul
3.1 H-TECH 100 4T น้ำมันหล่อลื่นชนิดสังเคราะห์ 100 % 10W-40 API SL JASO MA
3.2 3100 GOLD 4T น้ำมันหล่อลื่นชนิดกึ่งสังเคราะห์ 10W-40 API SL JASO MA
3.3 3100 GOLD 4T น้ำมันหล่อลื่นชนิดกึ่งสังเคราะห์ 15W-50 API SJ JASO MA
3.4 1000 4T น้ำมันหล่อลื่น 20W-50 API SG/CD JASO MA
ASO MA
มาตรฐานน้ำมันเครื่อง JASO ย่อมาจาก Japanese Automobile Standard Organization หรือกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น




ค่า "MA " สำหรับเครื่องยนต์ที่มีระบบส่งกำลังโดยเฉพาะ แผ่นครัสซ์ แช่หรือระบายความร้อนด้วยน้ำมันเครื่อง  ค่านี้จะผสมสารต่อต้านการลื่นของระบบส่งกำลังโดยเฉพาะแผ่นครัสซ์ ที่แช่ในน้ำมันเครื่องนั้นๆ
ค่า " MB"  สำหรับเครื่องยนต์ที่ไม่มีระบบส่งกำลังโดยเฉพาะแผ่นครัสซ์แช่หรือระบายความร้อนด้วยน้ำมันเครื่อง  ค่านี้จึงเหมาะกับรถจำพวก AT ต่างๆ  ที่ใช้ระบบส่งกำลังแบบสายพาน


ปัจุบันผมใช้ motul 3000 20w-50 for Harley-Davidson กระป๋องละ235บาท ใช้ 3 กระป๋อง กรองใช้ของ Bmw. เปลี่ยนที ไม่ถึงพันบาท น้ำมันเชื้อเพลิงห้ามใช้โซฮอร์ 95  ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น เพราะผมทดลองใช้แล้ว บอกได้คำเดียวว่า ...พัง..แน่ 

ปัจจุบัน MA อาจจะไม่เจอในบางยี่ห้อ จะไปเจอ MA2 ก็ไม่ต้องตกใจอะไร เพียงแต่เป็นมาตรฐานเพิ่มเติมจาก MA ครับ
ใครใช้รุ่นไหนเป็นยังไงกันบ้างครับ
เคยไปอ่าน ๆ มา มาตรฐานSG จะเหมาะกับรถเก่าหน่อย เพราะจะมีสารป้องกันการสึกหรอมากกว่า SJ SL แต่การกำจัดไอเสียม่ะค่อยดี
ขอบคุณที่แบ่งปันครับ  http://www.weekendhobby.com/motorcycle/webboard/question.asp?page=51&id=813
http://www.suzukibikeclub.in.th/board/index.php?topic=158.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2013, 09:50:04 AM โดย eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง »

eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง

  • Dyna Street Bob
  • **
  • กระทู้: 372
  • อิ๊ดดี้ 1HD Flstc. 1998 Evo. Never die
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #57 เมื่อ: มกราคม 08, 2013, 11:08:50 AM »
 handshake วันนี้มาดูสีของหัวเทียนกันครับ   handshake






หัวเทียน (Sparkplug)

ทำหน้าที่สร้างประกายไฟสำหรับจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ ลักษณะของหัวเทียน จะมีเปลือกนอกเป็นโลหะ และมีกระเบื้องหรือเซรามิก เป็นฉนวน เคลือบอยู่ภายใน ขั้วกลางของหัวเทียน ได้รับแรงไฟมาจาก สายไฟแรงดันสูง/สายหัวเทียน (High-Tension Leads)  ขั้วกลางของหัวเทียน จะยื่นผ่านศูนย์กลางของฉนวน ออกไปที่บริเวณหัวของหัวเทียน ส่วนเปลือกนอกที่เป็นโลหะ มีขั้วดินติดอยู่

ในการติดตั้งหัวเทียน จะต้องหมุนเกลียวหัวเทียน เข้าสวมไปกับเกลียวของฝาสูบ เพื่อที่บริเวณหัวของหัวเทียน จะได้ยื่นเข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของห้องเผาไหม้ กระแสไฟจุดระเบิด จะวิ่งเข้ามาที่จุ๊บหัวเทียน ผ่านศูนย์กลางหัวเทียน แล้วมาจุดประกายไฟ ที่เขี้ยวหัวเทียน (เพราะที่เขี้ยวหัวเทียน เป็นขั้ว ไฟลบ หรือ กราว์ด หรือ สานดิน ซึ่งขันเกลียวติดอยู่กับฝาสูบ)

นอกจากนี้หัวเทียนยังถูกแบ่งออกได้เป็น หัวเทียนร้อน และหัวเทียนเย็น หลายท่านคงเคยได้ยินมาก่อน มาดูกันครับ

หัวเทียนร้อน คือ หัวเทียนที่มีความสามารถระบายความร้อน จากการเผาไหม้ ออกไปสู่ภายนอกได้น้อย ซึ่งจะทำให้ตัวมันเอง มีการสะสมความร้อนเอาไว้มาก

หัวเทียนเย็น คือ หัวเทียนที่มีความสามารถ ระบายความร้อนได้ง่าย และเร็ว

หัวเทียนทั้ง 2 ชนิด ต่างกันที่ความยาวของฉนวนบริเวณส่วนหัวของหัวเทียน กล่าวคือ หัวเทียนร้อน มีฉนวนที่ยาว และแคบ ทำให้ส่งผ่านความร้อนได้ลำบาก ซึ่งตรงข้ามกับหัวเทียนเย็น ซึ่งมีฉนวนที่สั่นกว่า เมื่อเกิดความร้อนขึ้น ก็สามารถระบายออกได้ดีกว่า

ถ้ามีคำถามถามว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับการใช้หัวเทียน ไม่ตรงกับลักษณะการใช้งาน ???

1. ใช้หัวเทียนร้อน กับเครื่องยนต์ ที่ทำงานหนัก และต่อเนื่องตลอดเวลา เป็นเวลานานๆ ความร้อน จะสะสมอยู่ในหัวเทียนมาก เมื่อความร้อนเพิ่มมากขึ้น จนถึงจุดหนึ่ง ก็มีโอกาส ที่จะเกิดการชิง จุดระเบิดก่อน เครื่องยนต์อาจได้รับความเสียหาย

2. ใช้หัวเทียนเย็น กับเครื่องยนต์ ที่ทำงานไม่หนัก เมื่อเกิดการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ หัวเทียนเย็น จะมีความสามารถในการระบายความร้อนได้เร็ว อุณหภูมิที่เกิดขึ้นตรงหัวเทียน มีโอกาสที่จะต่ำกว่าประสิทธิภาพที่ี่ควรจะเป็น จึงอาจเกิดคราบสกปรก ที่บริเวณหัวเทียน ซึ่งเป็น สาเหตุให้กระแสไฟวิ่งผ่านลำบาก เครื่องยนต์อาจวิ่งสะดุด หรือเดินไม่เรียบ ได้

แล้วจะ รู้ได้ยังไงว่าเครื่องยนต์หรือรถที่ใช้อยู่จะต้องใช้เหัวเทียนแบบไหน ก็คงต้องตรวจเช็คได้จาก คู่มือ หรือ สเป็ค ของรถครับ ดีที่สุด

วิธีการสังเกต สีและลักษณะของหัวเทียน ว่า เครื่องยนต์ของคุณสมบูณร์หรือไม่

- มีสภาพสีดำแห้ง สามารถเช็ดออกได้ง่าย แสดงว่าส่วนผสมหนา
- มีสภาพน้ำมันเครื่องเปียก แสดงว่าลูกสูบ กระบอกสูบ แหวนลูกสูบสึกหรอ หรือ หลวม
- มีสภาพไหม้กร่อน แสดงว่าเครื่องยนต์ทำงานที่อุณหภูมิสูงเกินไป อาจใช้หัวเทียนผิดเบอร์ หรือผิดสเป็ค
- มีสภาพสีขาวจับหรือสีเหลืองจับ แสดงว่าไฟอ่อนเปลี่ยนหัวเทียนให้ร้อนขึ้น

อีก กรณีที่เกิดขึ้นคือ ระบบเผาไหม้สมบูรณ์ แต่ ใช้หัวเทียนนานไปหน่อย (ซึ่งจริงๆควรเปลี่ยนนานแล้ว)
คุณสมบัติของหัวเทียน

1. ต้องรับแรงดันได้ 700 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
2. ทนอุณหภูมิได้ 2,500 องศาเซลเซียสหรือ 4,500 องศาฟาเรนไฮต์
3. รับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดี
4. ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี
5. ต้องมีการจุดประกายไฟที่แน่นอนในทุกสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์
6. อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยของหัวเทียนทองคำขาว หรือ Platinum จะมีอายุูประมาณ 100,000 กิโลเมตร

ส่วน หัวเทียนแบบธรรมดา จะมีอายเฉลี่ยุูประมาณ 20,000 กิโลเมตร ควรตรวจเช็คทุก 10,000 กิโลเมตร

ไหนๆก็พูดถึงเรื่องหัวเทียนแล้วจะไม่พูดถึงสายหัวเทียนก็กะไรอยู่เดี๋ยวมันจะน้อยใจ มะมาว่ากันต่ออีกหน่อยครับ

สายหัวเทียน และสายจากคอลย์ไปจานจ่าย

เป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรตรวจสอบบ้างเมื่อใช้งานมานาน โดยเฉพาะรถ
ที่ผ่านการใช้งานมานานนับปี อาจเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพ หรือ แตกร้าวของสาย หรือสายขาดใน

อาการเสียของสายหัวเทียนที่พบบ่อยๆ

- รอบเดินเบาของเครื่องยนต์สดุดและเครื่องยนต์สั่นกระตุกเป็นบางครั้ง
กรณีนี้พบว่าสายเกิดการขาดใน ทำให้้การจุดระเบิดที่สูบนั้นๆ ดีบ้างไม่ดีบ้าง เมื่อถอดหัวเทียนของสูบนั้นๆออกมาดูจะ
พบว่ามีสภาพการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์และทิ้งคราบเขม่าไว้มากกว่าสูบอื่นๆที่ปกติ เมื่อเร่งขึ้นรอบสูงๆกลับพอทำงานได้
ไม่แสดงอาการให้เห็นก็มี ทั้งนี้อาจเพราะการสปาร์คที่ต่อเนื่องทำให้ไฟแรงสูงสามารถกระโดดข้ามได้อย่างต่อเนื่อง
ทำให้การวิเคราะห์อาการได้ลำบาก

- เครื่องยนต์สะดุดเมื่อเร่งความเร็ว และเร่งไม่ขึ้นอืดขึ้นมาเฉยๆ
เท่าที่เคยประสบมา พบทั้งสายขาดใน และสายเกิดการรั่วทำให้เกิดการสปาร์คลงกราวด์ ในกรณีที่ตำแหน่งรั่วของสายอยู่
ใกล้กันกับส่วนที่เป็นโลหะ อาการเหมือนน้ำมันไม่พอ หรือระบบส่งน้ำมันปกพร่อง หรือ คาร์บูเรเตอร์สกปรก

วิธีตรวจสอบสายหัวเทียนแบบง่ายๆ มีอยู่ 2 วิธีคือ

1.ตรวจสอบขณะเครื่องทำงานจริง โดยการติดเครื่องยนต์ไว้ จากนั้นให้ลองดึงจุ๊บยางที่เสียบเข้าที่หัวเทียนออก
โดยเริ่มจากสูบที่1ก่อน ถ้าดึงออกแล้วเครื่องมีอาการสดุด แสดงว่าสายหัวเทียนของสูบ1 ยังใช้งานได้ แต่ถ้าดึง
จุ๊บยางออกแล้วเครื่องยนต์ไม่ได้แสดงอาการอะไรเลยแสดงว่าสายหัวเทียนเส้นนั้นมีปัญหา หรือหัวเทียนอาจ
มีปัญหา จากนั้นเสียบจุ๊บยางคืนกลับเข้าที่ แล้วลองสูบที่ 2

2.การตรวจสอบสายหัวเทียนวิธีนี้คือการวัดค่าความต้านทานของสาย โดยใช้มัลติมิเตอร์วัด ถ้าสายหัวเทียนปกติจะวัดได้
โดยประมาณ 1-10K (กิโลโอห์ม) สายสั้นจะได้ค่าน้อยกว่า ถ้ามากกว่านี้แสดงว่าสายอาจเสื่อมสภาพ ถ้าวัดแล้วไม่ขึ้นแสดง
ว่าสายขาดในในขณะทำการวัด ควรขยับสายดูด้วยเพราะบางครั้งสายที่ขาดในบางจังหวะอาจติดกันอยู่ทำให้คิดว่าสายไม่เสีย
ได้ หรือใช้วิธียืดสายให้ตรงและออกแรงดึงให้ตึงนิดๆ ขณะวัดก็ได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2013, 03:39:15 PM โดย eidyสายฟ้าไรเดอร์นครลำปาง »

นิค เมืองลพ

  • Sportster 883 L
  • **
  • กระทู้: 37
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #58 เมื่อ: มกราคม 08, 2013, 11:18:50 AM »
ขอบคุณครับผม  thumbsup thumbsup thumbsup

abubu bike

  • Sportster 883 L
  • **
  • กระทู้: 82
  • ดูรายละเอียด
Re: บำรุงรักษาทั่วๆไปครับ softail Evo. 97-98
« ตอบกลับ #59 เมื่อ: มกราคม 08, 2013, 08:43:27 PM »
 thumbsup thumbsup headbang headbang
คนทะเลใจกว้างแต่ไม่เค็ม

 

Powered by SMF 2.0.10 | SMF © 2006–2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF || ©2005-2015 HD-Playground. All rights reserved. By Cycle Culture Ltd.Part. T: 02-320-0033