Login
ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ  (อ่าน 16356 ครั้ง)

vrod raider

  • Electra Glide Classic
  • ******
  • กระทู้: 1,951
  • ขี่ๆไปเถอะ ยังมีแรงก็ขี่ไป
  • ดูรายละเอียด
ประวัติโดยย่อ

กิจการตำรวจได้ก่อกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยพระองค์ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น 4 เหล่า เรียกว่า "จตุสดมภ์" ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา และพร้อมกันนี้ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีการตำรวจขึ้น โดยให้ขึ้นอยู่กับเวียง อันมีเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา


    
          ในปี พ.ศ. 2405 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงกิจการตำรวจครั้งสำคัญ กล่าวคือ มีการจัดตั้งกองตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรกตามแบบอย่างยุโรป เรียกว่า กองโปลิศ โดยจ้างชาวมลายูและชาวอินเดีย เป็นตำรวจ เรียกว่า คอนสเตเปิล ให้มีหน้าที่รักษาการณ์แต่ในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน และขึ้นอยู่กับสังกัดกรมพระนครบาล


          ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงกองโปลิศ และจัดตั้งตำรวจภูธรขึ้นเป็นทหารโปลิศ ในปี พ.ศ. 2419 เพื่อให้เป็นกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในส่วนภูมิภาคและให้สามารถปฏิบัติการทางทหารได้ด้วย โดยได้ว่าจ้างนาย G.Schau ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้วางโครงการ


          ต่อมาในปี พ.ศ. 2420 กองทหารโปลิศได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นกรมกองตระเวณหัวเมือง และได้มีการจัดตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้นแทนกรมกองตระเวณหัวเมืองในปี พ.ศ. 2440 และได้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้พลตรี พระยาวาสุเทพ (G.Schau) เป็นเจ้ากรมตำรวจภูธร และได้มีการขยายกิจการตำรวจไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคตามลำดับ


          ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการรวบรวมกิจการตำรวจมาเป็นกรมเดียวกัน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เรียกว่า กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน และในปลายปีได้เปลี่ยนเป็นกรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล และยกฐานะของเจ้ากรมขึ้นเป็นอธิบดี


          ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้รวมกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงพระนครบาลเป็นกระทรวงเดียวกันเรียกว่า กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลจึงโอนมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย


             ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมตำรวจภูธร แต่ยังคงแบ่งตำรวจออกเป็น 2 ประเภท คือ ตำรวจที่จับกุมโจรผู้ร้าย ไต่สวนทำสำนวนฟ้องศาลโปลิศสภาโดยตรงเรียกว่า ตำรวจนครบาล ส่วนตำรวจที่ทำการจับกุมโจรผู้ร้ายได้แล้ว ส่งให้อำเภอไต่สวนทำสำนวนให้อัยการฟ้องศาลอาญาประจำจังหวัดนั้น ๆ เรียกว่า ตำรวจภูธร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2475 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจากกรมตำรวจภูธร มาเป็นกรมตำรวจ จนถึงปัจจุบัน


          เนื่องจากวันที่ 13 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันประกาศรวมกรมพลตระเวน กับกรมตำรวจภูธร เป็นกรมเดียวกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมตำรวจจึงได้ยึดถือเอาวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันตำรวจ และได้มีการประกอบพิธีในวันตำรวจอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ซึ่งในขณะนั้น พล.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล เป็นอธิบดีกรมตำรวจ และ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี


          ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ได้จัดให้มีพิธีเดินสวนสนาม และปฏิบัติต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2500 จึงระงับการจัดพิธีเดินสวนสนาม ประกอบแต่พิธีทางศาสนา ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี

-------------------

ความเป็นมาโดยละเอียด

ประวัติกรมตำรวจ หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกรมตำรวจ หรือบางคนอาจจะเรียกกันติดปากว่า กรมตำรวจแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบัน คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่ดูแลกิจการเกี่ยวกับตำรวจในประเทศไทย


ประวัติ ตำรวจไทยยุคต้น (ก่อน พ.ศ. 2403)

กิจการตำรวจ มีมาก่อน พ.ศ. 2403 แต่หลักฐานที่แน่ชัดพอจะหาได้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น 4 เหล่า เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้มีตำรวจขึ้นด้วยและให้ขึ้นอยู่กับเวียง มีเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี เป็นผู้บังคับบัญชา

 
กิจการตำรวจครั้ง นั้นแบ่งออกเป็นตำรวจพระนครบาล ตำรวจภูธร ส่วนตำรวจหลวงให้ขึ้นอยู่กับวัง มีเจ้าพระยาธรรมาธิบดีศรีรัตนมณเฑียรบาล เป็นผู้บังคับบัญชา และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราศักดินาของตำรวจไว้เป็นบรรทัดฐานในบทพระอัยการระบุตำแหน่งนายพลเรือน เช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายอื่น ดังนี้

ตำรวจภูธร หลวงวาสุเทพ เจ้ากรมมหาดไทย

ตำรวจภูธร ศักดินา 1,000 ขุนพิศณุแสนปลัดขวา ศักดินา 600

ตำรวจภูบาล หลวงเพชรฉลูเทพ เจ้ากรมมหาดไทย

ตำรวจภูบาลศักดินา 1,000 ขุนมหาพิชัย ปลัดขวา ศักดินา 600 ขุนแผลงสะท้าน ปลัดซ้าย ศักดินา 600

นอกจากนี้ยังมีเอกสารหลายชิ้นที่แสดงว่าบุคคลที่จะเป็นตำรวจได้นั้นต้องคัด เลือกจากผู้ที่มีชาติกำเนิดสืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่ได้ทำคุณความดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และต้องเป็นบุคคลที่ทรงวางพระราชหฤทัย การบังคับบัญชาตำรวจก็ต้องขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะแต่พระองค์เดียว

กิจการตำรวจในยุคนี้จะจัดตั้งเพื่อให้ทำหน้าที่ในวงจำกัด และมิได้ขยายไปยังส่วนการปกครองทั่วประเทศเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้น กรมตำรวจจึงได้รับความสนใจที่จะปรับปรุงรูปแบบเพื่อให้เป็นไปตามแบบอย่าง ประเทศตะวันตก

ตำรวจไทยยุคปฏิรูปการปกครอง

กิจการ ตำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2403 ถึง พ.ศ. 2475 เป็นสมัยที่ได้มีการปฏิรูปการปกครองประเทศไทยอย่างขนาดใหญ่ในทุกๆ ด้าน ตามแบบอย่างอารยประเทศตะวันตก ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

กล่าวคือในปี พ.ศ. 2405 ได้ว่าจ้าง กัปตัน เอส.เย.เบิร์ด เอมส์ (Captain Sammoal Joseph Bird Ames) ชาวอังกฤษ ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงรัฐยาภิบาลบัญชา มาเป็นผู้พิจารณาวางโครงการจัดตั้งกองตำรวจ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตนครหลวงตามแบบอย่างยุโรปขึ้นเป็นครั้ง แรก แต่เนื่องจากเหตุทางการเมืองระหว่างประเทศในสมัยนั้นซึ่งเป็นยุคที่ประเทศ อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส ฮอลันดา กำลังแข่งขันกันหาเมืองขึ้นในทวีปเอเชีย การจัดระเบียบการปกครองประเทศขณะนั้นจึงเพ่งเล็งไปในด้านป้องกันประเทศเป็น หลักใหญ่ นโยบายการตำรวจก็ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ และทหารด้วยเป็นธรรมดา

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 การปรับปรุงการตำรวจ นอกจากได้ขยายงานตำรวจนครบาลโดยให้ นาย เอ.เย.ยาดิน (A.J.Jardine) มาช่วยงานเพิ่มขึ้นแล้ว ยังได้จัดตั้งตำรวจภูธรขึ้นในรูปทหารโปลิศ เมื่อ พ.ศ. 2419 สำหรับเป็นกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในส่วนภูมิภาคและให้สามารถปฏิบัติการ ทางทหารได้ด้วย โดยว่าจ้าง นาย ยี.เชา. (G.Schau) ชาวเดนมาร์คมา เป็นผู้วางโครงการ ผู้บังคับบัญชาส่วนมากก็โอนมาจากนายทหาร ต่อมาใน พ.ศ. 2420 ได้เปลี่ยน "กองทหารโปลิศ" เป็น "กรมกองตระเวนหัวเมือง" จนถึงปี พ.ศ. 2440 ได้ตั้ง "กรมตำรวจภูธร" ขึ้นแทนกรมกองตระเวนหัวเมือง โดยมี พลตรีพระยาวาสุเทพ (ยี.เชา.) เป็นเจ้ากรมตำรวจภูธร

ในปี พ.ศ. 2444 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อผลิตนายตำรวจออกรับราชการตำแหน่งผู้บังคับหมวดในส่วนภูมิภาค แม้ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 จะได้ย้ายมาตั้งที่ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมืองนครปฐม ก็ถือกันว่า โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ซึ่งตั้งขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้นกำเนิดของโรงเรียนนายร้อยตำรวจปัจจุบัน

กำลังพลในระยะแรกใช้ตำรวจ แต่ต่อมาเมื่อทางทหารได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ทางตำรวจภูธรก็ได้ขออนุมัติใช้กฎหมายฉบับนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2448 ได้เกณฑ์คนเข้าเป็นตำรวจด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อได้จัดตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้นแล้ว ก็ได้พยายามขยายการตำรวจไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคตามลำดับ เพื่อให้มีกำลังตำรวจสำหรับป้องกันปราบปรามโจรผู้ร้าย อำนวยความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ประชาชาชน

ต่อมาได้ขยายกิจการตำรวจภูธรไปยังหน่วยการปกครองส่วน ภูมิภาคมากยิ่งขึ้น ทางด้านตำรวจนครบาลก็ได้ว่าจ้าง นาย อีริค เซนต์ เจ.ลอซัน (Mr. Eric Saint J.Lawson) ชาวอังกฤษเข้ามาช่วยอีกคนหนึ่ง

กิจการตำรวจในยุคนี้ขึ้นอยู่กับ 2 กระทรวงคือ กระทรวงนครบาล (กรมพลตระเวน หรือ ตำรวจนครบาล) และกระทรวงมหาดไทย (กรมตำรวจภูธร) และต่อมาได้รวมเป็นกรมเดียวกันภายใต้การบังคับบัญชาของอธิบดีคนเดียวกัน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เรียกว่า "กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน" กรมตำรวจจึงถือว่าวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันตำรวจ และในปลายปีนั้นเองได้เปลี่ยนเป็น "กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล" ยกฐานะเจ้ากรมขึ้นเป็นอธิบดี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงนครบาลกับกระทรวงมหาดไทยเข้าเป็นกระทรวงเดียวกันเรียกว่า กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลจึงโอนมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย และในปี พ.ศ. 2469 ได้เปลี่ยนนามกรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลเป็น "กรมตำรวจภูธร" แต่ยังคงแบ่งตำรวจออกเป็น 2 ประเภทคือ

ตำรวจนครบาล คือตำรวจที่จับกุมโจรผู้ร้ายไต่สวน ทำสำนวนฟ้องศาลโปลิศสภาโดยตรง
ตำรวจภูธร คือตำรวจที่ทำการจับกุมโจรผู้ร้ายได้แล้วส่งให้อำเภอไต่สวนทำสำนวนให้อัยการฟ้องศาลอาญาประจำจังหวัดนั้นๆ
จนกระทั่ง พ.ศ. 2475 จึงได้เปลี่ยนนามกรมตำรวจภูธรเป็น "กรมตำรวจ"

ตำรวจไทยยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

การ ตำรวจยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ ถึงปัจจุบัน จะเรียกว่า ตำรวจยุคปัจจุบัน หรือตำรวจสมัยระชาธิปไตยก็ได้หลังจากที่ ประเทศไทยได้เปลี่ยน แปลงการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตยแล้วโดยประกาศเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย เรื่องการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ พ.ศ. ๒๔๗๕ กิจการตำรวจได้แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ

ส่วนที่ ๑ เป็นหน่วยบริหารงานส่วนกลางและสำนักบริหาร ของอธิบดีกรมตำรวจมีกองขึ้นตรง ๖ กอง คือ
๑. กองกลาง
๒. กอง บัญชี
๓. กองโรงเรียน
๔. กองคดี
๕. กองตรวจคนเข้าเมือง
๖. กองทะเบียนกลาง



ส่วนที่ ๒ คือ ตำรวจนครบาล

ส่วนที่ ๓ คือ ตำรวจภูธร

ส่วนที่ ๔ คือ ตำรวจสันติบาลเป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังที่ได้ยกเลิก ตำรวจภูบาล ตำรวจกลาง และตำรวจกองพิเศษ

จากนั้นกิจกการตำรวจก็ได้มีการปรับปรุงให้สามารถรองรับการ เปลี่ยนแปลงของสังคมมาโดยลำดับ และในปี ๒๕๔๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ตราพระราชบัญญัติโอนกรมตำรวจ จากสังกัดกระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ในยุคปัจจุบัน

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Royal Thai Police, Kingdom of Thailand) เป็นหน่วยงานที่ดูแลกิจการตำรวจในประเทศไทย ผู้บังคับบัญชาสูงสุดคือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2541 จากการโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ [2]

ตามระเบียบงานสารบรรณ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้ชื่อย่อสำหรับหนังสือราชการภายนอกในการติดต่อเป็นเอกสารราชการกับกระทรวง ทบวง กรม อื่นใด โดยใช้ชื่อย่อว่า ตช. และใช้ชื่อย่อสำหรับหนังสือราชการภายในสำหรับการติดต่อเป็นเอกสารราชการภายในหน่วยงานซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเอง โดยใช้ชื่อย่อว่า ตร. แต่สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปมักเรียกขานชื่ออย่างย่อของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กันเองอย่างไม่เป็นทางการว่า สตช.

ธงชัยประจำหน่วย

ธงชัยประจำหน่วยตำรวจ นี้ เป็นธงซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้รับพระราชทานเป็นครั้งแรกจำนวน 6 ธง เมื่อวันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ณ ลานพระราชวังดุสิต

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จฯ ในการพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วยตำรวจด้วยพระองค์เอง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2495

ความสำคัญของธงชัย ลักษณะ การได้มาของธงชัยประจำหน่วยตำรวจ มีลักษณะเช่นเดียวกับธงชัยเฉลิมพลของทหารทุกประการ โดยผืนธงมีสีลักษณะเดียวกับธงชาติ ที่ซุ้มยอดธงบรรจุเส้นพระเกศา (เส้นพระเจ้า) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และบรรจุพระพุทธรูปองค์เล็ก เรียกว่า "พระยอดธง"เอาไว้ อันมีความหมายว่าธงชัยนี้เป็นตัวแทนของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ที่ข้าราชการตำรวจทั้งหลาย และประชาชนชาวไทยให้ความเคารพนับถือ โดยความสำคัญของธงชัยประจำหน่วยตำรวจนี้ ปรากฏในพระบรมราโชวาทในวันพิธีสวนสนามและพระราชทานธงชัยประจำหน่วยตำรวจเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ความตอนหนึ่งที่ว่า

“...ในการที่ข้าพเจ้าได้มอบธงชัยให้แก่หน่วยต่างๆในกรมตำรวจในวันนี้ ก็โดยที่ระลึกว่า หน้าที่สำคัญของตำรวจทั้งหลายในปัจจุบัน มิใช่เพียงรักษาความสงบภายในบ้านเมืองเท่านั้น แต่ต้องป้องกันความไม่สงบที่อาจจะมาจากภายนอกประเทศอีกด้วย ธงนี้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะเป็นสัญลักษณ์แทนตัวข้าพเจ้า ผู้ซึ่งเอาใจใส่ตัวท่านทั้งหลายตลอดเวลา เพราะเป็นที่หมาย ที่เคารพในเวลาที่กองตำรวจได้เข้าเป็นหมวดหมู่อยู่ประจำ และเมื่อถึงวาระจำเป็นที่คับขัน เมื่อท่านได้ระลึกถึงธงชัยนี้แล้ว ก็จะเป็นเครื่องชักนำให้องอาจกล้าหาญ และร่าเริงใจที่จะประกอบหน้าที่ บำเพ็ญตนให้สมกับเป็นตำรวจของชาติไทย อย่าให้ผู้ใดติเตียนว่าเราเกิดมาเสียชาติเกิดได้ ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงรับธงนี้ไว้ด้วยความรัก และความเคารพเทิดทูน และพิทักษ์รักษาธงนี้ไว้ยิ่งกว่าชีวิตตน และให้เป็นมิ่งขวัญที่เป็นศักดิ์ศรีของกรมตำรวจสืบไป ...”[3]

และปรากฏในพระบรมราโชวาทในวันพิธีสวนสนามและพระราชทานธงชัยประจำกองโรงเรียนตำรวจภูธรภาค 4 วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2496 ความตอนหนึ่งว่า

“... ข้าพเจ้าได้มอบธงชัย ประจำกองโรงเรียนตำรวจภูธรภาค 4 ในวันนี้ก็โดยเห็นว่า กองโรงเรียนนี้เป็นแหล่งฝึก และอบรมตำรวจส่วนหนึ่ง เพื่อเพิ่มพูนกำลังของประเทศชาติ ในด้านรักษาความสงบภายใน และทั้งป้องกันความไม่สงบ อันจะมีมาจากภายนอกประเทศด้วย จึ่งสมควรจะได้มีธงประจำกองนี้ไว้เป็นมิ่งขวัญประจำกอง เพราะธงชัยนี้เป็นเสมือนเครื่องหมายแทนชาติ สาสนา และตัวข้าพเจ้า จงพิทักษ์รักษาธงนี้ด้วยความรักและเคารพให้ยิ่งกว่าชีวิตของตน เพื่อเป็นมิ่งขวัญ และศักดิ์ศรีของกรมตำรวจสืบไป ...” [4]

โดยในส่วนของธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจนั้น จะมีการเชิญไปกระทำพิธีกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของนักเรียนนายร้อยตำรวจ เนื่องในวันตำรวจ 13 ตุลาคม ของทุกๆ ปีตลอดมา

แม้ว่าธงชัยประจำหน่วยต่างๆของตำรวจจะมิได้ปรากฏอยู่ใน พ.ร.บ.ธง พ.ศ. 2522 แต่เมื่อพิจารณาถึงการได้รับพระราชทาน การพระราชพิธีตรึงหมุดธงโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความสำคัญของธง ลักษณะต่างๆ ของธง และเอกสารหลักฐานต่างๆ ของสำนักราชเลขาธิการที่เรียกธงดังกล่าวว่า “ธงชัยเฉลิมพล” มาโดยตลอด ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า “ธงชัยประจำกอง” ประจำหน่วยตำรวจที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารทุกประการ ทั้งนี้ ตามหลักฐานของส่วนราชการต่างๆ ได้กล่าวถึงธงชัยประจำหน่วยตำรวจในชื่อต่างๆ ได้แก่ “ธงชัยเฉลิมพลประจำกอง” หรือ “ธงประจำกอง” หรือ “ธงชัย” หรือ “ธงชัยประจำกอง” ของหน่วยตำรวจ ซึ่งล้วนเป็นธงเดียวกัน



http://www.royalthaipolice.go.th/





ขี่ไปวันๆ ไปไหนก็ได้ที่ใจอยากไป สายลม แสงแดด สายฝน

ไม่มีจุดหมาย ไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก

อ่าน Blog ของผมด้วยน๊า  ชอบใจก็เม้นไปเลย ไม่ชอบใจก็เม้นแรงๆเลย จะได้พัฒนาสิ่งที่ดีสู่ชีวิต

Jesse Ou

  • HDP Sheriff
  • EXILE
  • *
  • กระทู้: 7,545
  • มองโลกให้มันรื่นรมย์ โลกมันกลมก็กลิ้งกันไป ชีวิตก็สั้นแค่นี้ เราควรจะใช้มันยังไง
  • ดูรายละเอียด

vrod raider

  • Electra Glide Classic
  • ******
  • กระทู้: 1,951
  • ขี่ๆไปเถอะ ยังมีแรงก็ขี่ไป
  • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 11:11:18 AM »
ขอเป็นกำลังใจให้ตำรวจที่ปฎิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดและ เป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฎิบัติงานใน 3 จังหวัด ภาคใต้ด้วยครับ



รักษาความดีดุจเกลือรักษาความเค็มครับ 
ขี่ไปวันๆ ไปไหนก็ได้ที่ใจอยากไป สายลม แสงแดด สายฝน

ไม่มีจุดหมาย ไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก

อ่าน Blog ของผมด้วยน๊า  ชอบใจก็เม้นไปเลย ไม่ชอบใจก็เม้นแรงๆเลย จะได้พัฒนาสิ่งที่ดีสู่ชีวิต

เหน่ง 100 ปี

  • EXILE
  • กระทู้: 24,544
  • ......KING 100 ปี......
  • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 11:15:11 AM »
police police police  ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านด้วยครับ..แม้ว่าจะโดนจับอยู่บ่อยๆ ;D ตำรวจจราจรกับมอไซค์ เป็นของคู่กันครับ  hug hug hug
ฮาเล่ย์ฝั่งธนฯ คนบางแค... number1           

cops

  • HDP Sheriff
  • EXILE
  • *
  • กระทู้: 15,135
  • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 01:42:59 PM »
ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆข้าราชการตำรวจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีขัวญและกำลังใจในการปฎิบัติหน้าที่โดยตั้งอยู่บนความไม่ประมาท
และขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงคุ้มครองปกปกรักษาให้พ้นภัยอันตรายทุกท่านนะคับ  pray police worship
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2010, 02:03:51 PM โดย cops »
แก่แต่สังขาร แต่สันดานยังวัยรุ่นอยู่

AAA

  • EXILE
  • กระทู้: 6,817
  • SuNd@Y RidERs
  • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 01:50:45 PM »
ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆข้าราชการตำรวจสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีขัวญและกำลังใจในการปฎิบัติหน้าที่โดยตั้งอยู่บนความไม่ประมาท
และขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงคุ้มครองปกปกรักษาให้พ้นภัยอันตรายทุกท่านนะคับ  pray police worship

pray pray pray
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2010, 02:05:04 PM โดย cops »
ไม่..จำ..เป็น..ว่า..จะ..ต้อง..กี่..ไมล์ ..แค่..สัม..ผัส..อยู่..บน..นั้น....มัน..ก็..พอ

Bor

  • Dyna Super Glide
  • *
  • กระทู้: 304
  • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 03:28:04 PM »
  ;D ;D ;D ขอให้ตำรวจทุกนายพึงระลึกถึงอุดมคติที่ท่องจำกันไว้และขอให้ผู้คนได้เข้าใจการทำงานภายใต้ความขาดแคลนและกดดันเพื่อสังคมที่ดี ;D ;D

1.เคารพเอื้อเื้ฟื้อต่อหน้าที่  2.กรุณาปราณีต่อประชาชน  3.อดทนต่อความเจ็บใจ  4.ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก  5.ไม่มักมากในลาภผล  6.มุ่งบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม  7.กระทำตนด้วยปัญญา  8.รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต

Bor

  • Dyna Super Glide
  • *
  • กระทู้: 304
  • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 03:38:49 PM »
 worship worship ขอสดุดีข้าราชการตำรวจที่สูญเสีย และเสียชีวิตจากการปฎิบัติหน้าที่ทุกนาย worship worship
[youtube=425,350]-gxdHFmGmZo[/youtube]
[youtube=425,350]JyD_BurRxpc&feature[/youtube]


Baantormai

  • CHICA
  • กระทู้: 2,634
  • วันนี้กินข้าวกับอาราย..?
  • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 03:43:30 PM »
.. เป็นกำลังใจให้กับตำรวจไทยครับ ..  thumbsup worship pray

Jesse Ou

  • HDP Sheriff
  • EXILE
  • *
  • กระทู้: 7,545
  • มองโลกให้มันรื่นรมย์ โลกมันกลมก็กลิ้งกันไป ชีวิตก็สั้นแค่นี้ เราควรจะใช้มันยังไง
  • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 03:57:11 PM »
.. เป็นกำลังใจให้กับตำรวจไทยครับ ..  thumbsup worship pray


ตุ่นอย่าลืมเอารูปรถโปลิสไปลงที่กระทู้นี้นะ

http://hd-playground.com/smf/index.php/topic,25292.msg426064/topicseen.html#top



platwo

  • Sportster 883 R
  • ***
  • กระทู้: 114
  • Love Police
  • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2010, 10:29:59 AM »
ขอเป็นตัวแทนตำรวจ ขอบคุณทุกกำลังใจที่มีให้ครับ

cops

  • HDP Sheriff
  • EXILE
  • *
  • กระทู้: 15,135
  • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2010, 08:29:50 PM »
ปีนี้วันตำรวจครบรอบ 105 ปีก่อตั้งกรมตำรวจมาเลยคับ  ;D thumbsup police
แก่แต่สังขาร แต่สันดานยังวัยรุ่นอยู่

เหน่ง 100 ปี

  • EXILE
  • กระทู้: 24,544
  • ......KING 100 ปี......
  • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2010, 08:38:04 PM »
ปีนี้วันตำรวจครบรอบ 105 ปีก่อตั้งกรมตำรวจมาเลยคับ  ;D thumbsup police
   jawdrop jawdrop jawdrop  eyeopoping eyeopoping  105 ปีแล้วหรือนี้ ไม่เคยทราบมาก่อนเลยครับพี่ฉ่อง thumbsup thumbsup thumbsup
                         ;D ;D ;D แล้วพี่ฉ่องเป็นตำรวจมากี่ปีแล้วครับ  50 ปีได้ยังครับพี่ headbang headbang nana
ฮาเล่ย์ฝั่งธนฯ คนบางแค... number1           

cops

  • HDP Sheriff
  • EXILE
  • *
  • กระทู้: 15,135
  • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติและความเป็นมาของ วันตำรวจแห่งชาติ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2010, 08:42:46 PM »
ปีนี้วันตำรวจครบรอบ 105 ปีก่อตั้งกรมตำรวจมาเลยคับ  ;D thumbsup police
   jawdrop jawdrop jawdrop  eyeopoping eyeopoping  105 ปีแล้วหรือนี้ ไม่เคยทราบมาก่อนเลยครับพี่ฉ่อง thumbsup thumbsup thumbsup
                         ;D ;D ;D แล้วพี่ฉ่องเป็นตำรวจมากี่ปีแล้วครับ  50 ปีได้ยังครับพี่ headbang headbang nana


ปีนี้ถ้าลาออกก็ได้รับบำเหน็จบำนาญพอดีเลยครบ 25 ปีพอดีเลยเหน่ง number1 ;D police
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2010, 08:44:30 PM โดย cops »
แก่แต่สังขาร แต่สันดานยังวัยรุ่นอยู่

 

Powered by SMF 2.0.10 | SMF © 2006–2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF || ©2005-2015 HD-Playground. All rights reserved. By Cycle Culture Ltd.Part. T: 02-320-0033