สวัสดีครับ เห็นคุยเรื่องกางเกงมาพอสมควร ก็เลยอยากยก กางเกงแบบอื่นดูบ้างครับ
วันนี้ขอนำเสนอเรื่องราวของกางเกงอีกแบบหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มของกางเกง workwear สักเล็กน้อยครับ บางท่านเรียกว่า "กางเกงช่าง" ทำไมต้องเรียก กางเกงช่างก้เนื่องจากรูปทรงและรูปแบบครับ มันถูกออกแบบให้เป็นแบบนี้ มีหู มีช่องเพื่อใส่ค้อน ขวาน นานนานชนิด และเป็นกางเกงออกแบบมาเพื่อ การใช้งานแบบนี้โดยตรง เช่น ช่างไม้ ช่างทาสี เป็นต้นครับ ช่างฟิตเครื่องยนต์ก็นิยมนำมาใส่กันในยุคนั้น
กระเป๋าด้านหลังส่วนใหญ่เป็นแบบโค้งหรือตรง ก็ต้องดูที่ความเก่าครับ ทรงโค้งจะอายุน้อยกว่าทรงโค้ง ซึ่งมาเกิดในยุค 1940-50 ล่วงมาแล้วครับ "ตัวแม่ตัวพ่อ"(คำฮิต) ของมันนั้น จะขึ้นทรงเป็นเหลี่ยมมาก่อนครับ คือกระเป๋าเหลี่ยม กระเป๋าเฉียง มีผ้ารัดด้านหลัง มีเป็กตอกด้านใน มีลูกเล่นที่การเดินด้ายแบบ triple stich ยุคนั้นถือว่า "เจ๋ง"เลย เป็นที่มาของกางเกงเดินด้ายขาว หรือส้ม เหลือง 3 ตะเข็บเป็นต้นครับ
ตัวอย่างกางเกงช่าง หรือ painter pantที่เป็น กางเกงกลุ่ม workwear ครับ ยุคที่นำมาให้ชมคือยุค 1920-30 ครับ ราคาแรงครับ เป็นกางเกงที่มี buckle back แบบนี้เจอที่ไหน รีบหามาสวมใส่นะครับ เข้ากันไดกับมอเตอร์ไซค์ท่านคันงามท่าน แน่นอนครับ ผ้าด้านสวยเช่นเดียวกันกับ กางเกงลีวายส์รุ่นเก่า เบลท์หลังเหมือนกันครับ แต่เป็นเพียง เป็นอีกยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งบางครั้ง อาจจะแพงและหายากกว่า ลีวายส์เสียด้วยซ้ำครับ
ผ้าตัวนี้ออกเป็นเดนิมที่เป็น hurrigbone ผสมลายในการทออยู่ คือผ้าก้างปลายีนส์นั่นเองครับ



มีเป๊ก ตอกด้านใน เพื่อกันหลุดลุ่น เสริมความทนทานเช่นเดียวกัน เมื่อของมาตรฐานหายากขึ้น ยี่ห้อรองๆๆลงมาก็กลับกลายเป็นของมาตรฐาน และท้ายที่สุด กลายเป็นสิ่งที่หายากกว่าของมาตราฐาน เนื่องจากในปีเดียวกัน ผลิตน้อยกว่า ของหายากกว่านั่นเองครับ

ส่วนตัวต่อไป ถัดๆยุคมาอีกหน่อยครับ ตัวนี้ราว 1940-50 ครับ บ้านเราไม่ค่อยเล่นหากัน แต่นับว่าโชคดีที่มีให้หามาใส่สนุกครับ ที่อื่นๆๆราคาแรงหมดครับ ลองหามาสวมใส่ดูนะครับ ท่านไหนไปเดินสวนจุตจักร เดี๋ยวนี้ มีพ่อค้าแม่ค้า นำของออกมาขายแนวๆนี้มากขึ้น ผมก็ยังต้องแพงขึ้นๆๆ เพราะเขาก็อ้างว่า มันหายาก ไอ้เราก็เข้าใจ ไอ้เราก็เลยต้องโดน ทั้งของเก่าดั้งเดิม ราคาก็ขึ้น ของ repro ก็ขึ้นๆๆ เดี๋ยวนี้ พวกญี่ปุ่นที่มาเดินหาของที่บ้านเรา ชอบซื้อของที่ถูกทำเลียนแบบขึ้นและทำในญี่ปุ่นยุคต้นๆๆราว 1980 กลับประเทศ (บ้านเขาเล่นหาของพวกนี้และทำของพวกนี้ขึ้นมาเป็น repro มานาน)เนื่องจาก มัน dis continue ไปนานแล้ว กลายเป็นของ vintgae หายากไปเสียฉิบครับ
ตัวนี้ยี่ห้อนี้เก่าเลยครับ doubbleware ที่ยี่ห้อ warehouse ทำยี่ห้อขึ้นมาเลียนแบบใกล้เคียงชื่อว่า doubblework ครับ
ผ้านี่สวยงามมากออกด้านชัดเจน ยิ่งบางยิ่งขึ้นง่าย สำหรับ แจ็กเก็ตประเภทนี้ครับ ความหนาราว 8-14 ออนซ์



ส่วนนี่เป็นเสื้อ jacket ที่น่าสะสมและนำมาสวมใส่กับสไตลส์ workwear ครับ เรียกว่า railroad barn chore jacket ครับ เนื่องจาก เสื้อทรงนี้ เริ่มผลิตเพื่อให้วิศวกรรถไฟ รถจักรไอ้น้ำใส่ในยุคต้นๆๆ ต่อมาก็ยังใส่กันอยู่ จนแพร่หลายไปในหมู่คนทำงานครับ ใส่กับเสื้อ chambray ไว้ด้านในนั้น ยิ่งสง่างามครับ
ตัวนี้ยี่ห้อแปลกครับ bigman ซึ่งในยุคนั้นมีเป็นพันๆๆยี่ห้อ ให้เล่นหา เราต้องดูความเก่าเป็นสำคัญครับ ส่วนเรื่อง reproนั้น ญี่ปุ่นได้ทำเสื้อแบบนี้มานานแสนนาน และทำเลียนแบบในหลายยุคสมัย


ความเก่า ความหายาก มีสิ่งนี้เป็นเครื่องชี้วัดครับ คือ chinstrap คือผ้ารัดคอกลัดกระดุม นั่นคือคุณลักษณะของเสื้อรุ่นเก่าก่อน 1940 แน่นอนครับ

กระดุมเก่า ยิ่งดูยิ่งสวย เล่นไปเล่นมา เหมือนเล่นของสะสม ของเก่าทุกประเภท แบบนั้นเลยครับ แถมยังใส่กับเสื้อเชิ้ตผ้า oxfordสีขาวไปงาน หล่ออย่าบอกใครครับ


ตัวล่างสุดนี้ผมเคยแข่งเสนอซื้อไป แต่ไม่ชนะครับ เก็บไว้แต่รูปเอาไว้เชยชม ที่ผแพ้ เนื่องจากไซส์ครับ เพราะเป้นไซส์เล็ก 14-15 ฉะนั้น ของพวกนี้ การเสนอซื้อจึงไม่สามารถชนะญี่ปุ่นได้เลยครับ