
ไทยเสียดินแดนให้แก่อังกฤษ พ.ศ. ๒๔๕๑
ไทยยอมยกเมืองไทรบุรี ปลิศ กลันตัน ตรังกานูให้แก่อังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยสิทธิให้คนในบังคับอังกฤษมาขึ้นศาลไทย แต่ศาลกงสุลยังคงมีอำนาจเรียกคดีไปพิจารณาได้ถ้าไม่พอใจ และรัฐบาลอังกฤษได้ให้ไทยกู้เงินมาสร้างทางรถไฟสายใต้ต่อกับมลายูอีกด้วย
1 สิบสองพันนา
2 เชียงรุ้ง
3 จีน
4 สิบสองจุไท
5 แถง
6 ตังเกี๋ย
7 จีน
8 อ่าวตังเกี๋ย
9 เกาะไหหลำ
10 หัวพันทั้งห้าทั้งหก
11 วิญ
12 คำโล
13 เว้ 14 เขมราฐ
15 จำปาศักดิ์
16 โขง (สีทันดร)
17 สตึงเตรง (เชียงแตง)
18 ไซ่ง่อน
19 เขมร
20 พนมเปญ
21 เสม็ดนอก
22 แนวปิดอ่าว
23 แนวปิดอ่าว
24 เวียงจันทน์
25 เชียงขวาง
26 หลวงพระบาง
ในระหว่างที่ไทยกำลังปราบฮ่ออยู่นั้นเป็นระยะเดียวกันกับที่ประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษกำลังแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเชีย และฝรั่งเศสสามารถเข้ายึดครองลาวและเขมรไว้เป็นเมืองขึ้นได้ จึงได้พยายามรุกล้ำเข้ามายังประเทศไทย
ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) ฝรั่งเศสได้รุกล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยหลายจุด โดยใช้ทหารอาสาสมัครญวนและเขมรเป็นส่วนใหญ่ เช่นที่เมืองพ้องเมืองสองคอน ตลอดจนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสได้บังคับบัญชาให้ทหารญวนและเขมร เข้ายึดเมืองโขง (สีทันดร) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำโขงตอนล่างเป็นที่มั่น เพื่อสะดวกในการยึดครองเมืองอื่น ๆ ทางเหนือของลำน้ำโขงต่อไป
หลังจากฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองและตำบลต่าง ๆ หลายแห่ง ฝ่ายไทยมิได้ต่อสู้ต้านทานอย่างจริงจัง เพราะกำลังน้อยกว่า ยกเว้นเมืองพ้องได้ต่อต้านแข็งแรงกว่าที่อื่น ๆ ในที่สุดได้เผาหมู่บ้าน แล้วล่าถอยไปตามลำแม่น้ำโขงเตรียมการตั้งรับทางฝั่งขวา
ฝรั่งเศสได้บังคับให้ไทยถอนกำลังออกจากเมืองคำเกิด คำม่วน ตลอดฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงซึ่งมีค่ายทหารตั้งอยู่ พระยอดเมีองขวางซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาไม่ยินยอม จึงเกิดสูรบขึ้น ฝ่ายฝรั่งเศสได้จับตัวพระยอดไว้ ต่อมาเมื่อฝ่ายไทยยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว ในอนุสัญญาข้อ ๓ ไทยจะต้องพิพากษาลงโทษพระยอดเมืองขวาง โดยศาลผสมระหว่างไทยและฝรั่งเศส พระยอดจึงถูกจำคุกอยู่ ๔ ปี คนไทยสมัยนั้นเทิดทูนยกย่องคุณความดีของพระยอดในฐานะผู้รักชาติ ซึ่งยอมเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อชาติ
หลังจากเกิดการรบพุ่งกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศสบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบ ๒ ลำ เข้ามาในประเทศไทย คือเรือแองคองสตังต์ และเรือโคเมต จึงเกิดสู้รบกันขึ้นที่ปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒)
ฝ่ายไทยมีสถานีรบที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าและใช้เรือรบป้องกันที่ปากน้ำ ๕ ลำ เช่น เรือมกุฎราชกุมาร เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ เมื่อเกิดการสู้รบกันแล้ว ต่างฝ่ายต่างได้รับความเสียหาย และเกรงจะเกิดเหตุการณ์ลุกลามใหญ่โต จึงหยุดทำการรบเพื่อตกลงกันทางการทูตต่อไป
ต่อมาเมื่อถึงวันที่ ๑๘-๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ รัฐสภาฝรั่งเศสได้ประชุมกันและยื่นคำขาดแก่รัฐบาลไทยให้ไทยยกฝั่งซ้ายแม่น้ำ โขงให้ฝรั่งเศส ฝ่ายไทยและฝรั่งเศสได้มีหนังสือตอบโต้กันหลายครั้ง ในทีสุดเพื่อให้ประเทศชาติปลอดภัยและประชาชนชาวไทยอยู่อย่างเป็นสุข พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงยินยอมยกดินแดนแห่งนี้ให้ฝรั่งเศส และยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝรั่งเศส โดยในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสได้นำหนังสือยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ กับรัฐบาลฝรั่งเศส และได้เซ็นสัญญาสงบศึกในวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยอนุสัญญาข้อ ๖ รัฐบาลฝรั่งเศสจะยึดครองจันทบุรีไว้จนกว่ารัฐบาลไทยจะได้ปฏิบัติตามสัญญา
รัฐบาลฝรั่งเศสได้ยึดครองเมืองจันทบุรีตั้งแต่ ๓ ตุลาคม ๒๔๓๖ - ๘ มกราคม ๒๔๔๗ เป็นเวลา ๑๐ ปี จึงยอมคืนดินแดนนี้ให้ไทย แต่ฝรั่งเศสได้ยึดเมืองตราดแทน
หลังจากที่ไทยได้ทำสัญญายกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเสียเงินเป็นจำนวนมากให้แก่ฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๔๓๖ และฝรั่งเศสได้ยึดจันทบุรีไว้โดยอ้างว่าเมื่อไทยได้ปฏิบัติตามสัญญาแล้วจะคืนให้ ไทยได้รีบปฏิบัติตามสัญญาอย่างครบถ้วนแล้ว แต่ฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมคืนจันทบุรีให้จนเวลาล่วงมาถึง ๑๐ ปี ฝรั่งเศสจึงได้ถอนทหารออกจากจันทบุรีหมด เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยฝรั่งเศสย้ายไปยึดเมืองตราดแทน
เพื่อให้ได้เมืองตราดกลับคืนมาเป็นของไทย ไทยต้องทำสัญญากับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ยกพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศส
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง จึงได้นำธงชาติไทย (ธงช้าง) กลับมายังเมืองไทย พร้อมกับอพยพครอบครัวมาด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองปราจีนบุรีจนกระทั่งอสัญกรรม
ประเทศไทยได้เสียดินแดนให้ต่างประเทศหลายครั้ง โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. ๒๔๕๒ ซึ่งเสียดินแดนให้อังกฤษและฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก
จากการคุกคามของฝรั่งเศสในระยะแรก ๆ ทำให้อังกฤษซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในประเทศไทยมากมาย เกรงจะเกิดความเสียหายขึ้นจึงได้เจรจาทำความตกลงกับฝรั่งเศสและได้ทำสนธิสัญญาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ ให้ประเทศไทยเป็นดินแดนกันชนระหว่างอาณานิคมของทั้งสองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งฝรั่งเศสครอบครองอยู่ทางด้านตะวันออก และอังกฤษครอบครองด้านตะวันตก โดยทั้งสองประเทศให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่แสวงหาผลประโยชน์ผูกขาดในประเทศไทย
สนธิสัญญาฉบับนี้ให้ประโยชน์กับประเทศไทยอย่างยิ่ง เพราะเป็นการประกันเอกราชและอธิปไตยของชาติไทย ที่จะไม่ถูกมหาอำนาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้ายึดครอง
ข้อมูลจากhttp://www.search-thais.com/thaihis/france.htm
และบัดนี้ นายหลุยส์ วิตตอง ก็ได้มายึดเมืองไทย จะเปลี่ยนเป็นลายวิตตอง ทั้งหมด ตั้งแต่ บ้าน ยันรถ อะไรที่ติดลายได้ กุจะติดให้หมด เก็บลิขสิทธิ์ทุกบ้าน


