เมื่อวันที่ 14 ก.ค. ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการยาเสพติด แห่งชาติ ครั้งที่ 11 เรื่อง “รู้ลึก รู้จริง รู้ทันยาเสพติด:Update in Addiction” พร้อมมอบรางวัลธัญญารักษ์อวอร์ด ประจำปี 2553 ซึ่งจัดโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) โดยน.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สถานการณ์การติดยาเสพติดในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ ้น จากปี 2552 มีผู้เข้ารับการบำบัด 120,000 ราย แต่ในปี 2553 ขณะนี้พบผู้เข้ารับการบำบัด สูงถึง 100,000 รายแล้ว ซึ่งร้อยละ 32 อายุประมาณ 15-19 ปี โดยพบเด็กอายุเพียง 12 ปี เข้ารับการบำบัดด้วย ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการบำบัดส่วนใหญ่จะติดยาเสพติดประเภทยาบ้า กัญชา และยาไอซ์ โดยสัดส่วนผู้ติดยา จะเป็นกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเสพยาไอซ์ ซึ่งพบว่าแหล่งผลิตจะอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนของประเท ศ
น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวอีกว่า สำหรับการประชุมวิชาการครั้งนี้ จะมีการหารือในเรื่องการศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ระหว่ างการติดยาเสพติด และยีนในร่างกายมนุษย์ เพื่อศึกษาว่าการติดยาเสพติดมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครง สร้างทางพันธุกรรมหรือ ไม่ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) สถาบันธัญญารักษ์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อหาความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยศึกษาวิจัยในประเทศต่างๆ ทั้งประเทศในแถบอาเซียน สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย โดยจะมีการวิจัยถึงสารเสพติดในแต่ละกลุ่มประเทศที่มี การใช้มากที่สุด ซึ่งจะง่ายต่อการศึกษาวิจัยสารเสพติดประเภทนั้นๆ
“ประเทศไทยได้รับการเลือกในการศึกษาครั้งนี้ เนื่องจากพบว่า ประเทศไทยมีตัวเลขผู้ติดยาเสพติดประเภทยาบ้า มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก จากเดิมการสำรวจอัตราการติดยาเสพติดในประเทศไทยเมื่อ ปี 2536 พบว่า คนไทยติดยาเสพติดประเภทกัญชา เฮโรอีน สูงสุด รองลงมาคือ ยาบ้า แต่หลังจากปี 2539 จนถึงปัจจุบันมีอัตราการเสพยาบ้าในประเทศไทยสูงขึ้น จนมากที่สุดในโลก ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย และเวียดนาม มีการติดยาเสพติดประเภทเฮโรอีน สหรัฐอเมริกาพบมีการติดโคเคนสูงสุด” น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าว
น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนการวิจัยในประเทศไทยจะทำการสำรวจกลุ่มว ัยรุ่นอายุระหว่าง 15-19 ปี รวมกว่า 500 คน ในภาคกลาง และภาคเหนือ ที่มีความสมัครใจจะให้ทำการวิจัย โดยขณะนี้ใข้เวลาในการวิจัยมาเข้าปีที่ 3 แล้ว และการวิจัยกำลังเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 จากขั้นตอนในการวิจัยทั้งหมด 3 ขั้นตอน ซึ่งหากการวิจัยประสบความสำเร็จจะมีส่วนช่วยในการเฝ้ าระวังการระบาดของยาเสพ ติดได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเมื่อทราบประวัติของผู้ที่ติดยาเสพติดแล้ว ก็จะต้องมีการเจาะเลือดสำรวจคนในเครือญาติ ครอบครัวของผู้ที่ติดยาเสพติดว่ามียีนชนิดเดียวกันหร ือไม่ เพื่อหาทางป้องกันต่อไป
Credit: หนังสือพิมพ์ข่าวสด