A-C-01<br>Expired::
A-C-02<br>Expired::
A-C-03<br>Expired::
 
[Interview & Review]
 
HARD TAIL?: หลังแข็งมันเป็นยังไง?
By HDP PR
DATE: 2011.03.02
VIEW: 2106
POST: 0

 
 

เป็นที่ทราบกันดีว่า การแต่งรถมีหลายรูปแบบ การโหลดรถให้เตี้ยลง ก็เป็นการดัดแปลง ตกแต่งอย่างหนึ่ง เพื่อให้รถดูสวยงามขึ้น วิธีการโหลดให้เตี้ยนั้นก็มีหลายวิธี ด้วยกัน เช่นการเปลี่ยนโช๊คให้สั้นลงบ้าง,การใส่เหล็กสั้นๆแทนที่โช๊คอัพบ้าง หรือไม่ก็การยิงเฟรมหรือเปลี่ยนเฟรมเป็นแบบหลังแข็ง หรือที่เรียกว่า Rigid Frames เป็นต้น

แต่การโหลดเตี้ยนั้นก็นำมาซึ่งผลกระทบที่มีต่อยางหลัง คือ บังโคลนหลังมักจะขูดกับยางหลังขณะตกหลุม หรือผิวทางที่ไม่เรียบ ในกรณีที่ใส่โช๊คโหลด?

ดังนั้นผู้แต่งรถจำนวนหนึ่งจึงนิยมใช้เฟรมหลังแข็งหรือตกแต่งเป็นหลังแข็งเพื่อตัดปัญหานี้ และยังทำใ้ห้บังโคลนหลังกับล้อหลังแนบชิดกันได้มากขึ้นสวยขึ้น แต่ต้องแลกกับความนิ่มนวลที่หายไป เปลี่ยนเป็นการกระแทก เข้ามาแทนที่ และเป็นที่ทราบกันว่าถนนเมืองไทยนั้นเป็นเช่นไร ราบเีรียบแค่ไหน ซึ่งต่างกับต่างประเทศที่ถนนบ้านเค้า สามารถแต่งแบบนี้ได้ไม่มีปัญหามากนัก

ผมเองได้มีโอกาสได้ฟังประสบการณ์จาก เพื่อนคนหนึ่งซึ่งเคยแต่งรถทำให้เป็นหลังแข็็ง และเล่าให้ฟังถึง ผลกระทบที่ตามมาจนถึงปัจจุบัน

 

ขณะที่เกิดเรื่องเขาอายุ 23 ปี ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่ได้มีปัญหาอะไร ก็ขี่แบบหลังแข็งเรื่อยมา จนมีวันหนึ่งขี่ไปต่างจังหวัดกับเพื่อน เริ่มมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรงถึงขนาดว่าอยากจอดรถ แต่จอดไม่ได้เนื่องจากไปกันหลายคันจึงต้องทนปวดไปก่อน

หลังจากกลับมาไ้ด้ไม่นาน ก็เริ่มมีอาการปวดมากขึ้นๆบ่อยขึ้นๆ จนวันหนึ่งตอนเช้าตื่นขึ้นมา ลุกไม่ขึ้น ขยับขาไม่ได้ ขยับแล้วปวดร้าวไปทั้งขา ใช้เวลาพยายามลุกขึ้นนั่งอยู่ประมาณ สิบห้านาที กว่าจะทนปวดลุกขึ้นมานั่งได้ พอนั่งได้ก็จะลุกเดินไปห้องน้ำ ก็ลุกยืนไม่ได้เพราะปวดมากๆ พยายามอยู่หลายครั้งจนยืนได้ พอก้าวขาเดินก็ล้มกองอยู่ตรงนั้นพร้อมกับปวดมากกว่าเก่า

จึงตัดสินใจโทรหาญาติ เพื่อให้มารับไปโรงพยาบาล ขณะนั้นโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้คือโรงพยาบาลยันฮี แพทย์ x-ray พบว่า หมอนรองกระดูกข้อที่ห้า เคลื่อนมากดทับเส้นประสาทอันเนื่องได้รับการกระแทกสะสม จากนั้นจึงฉีดยาแก้ปวดให้ พร้อมทั้งให้ยาคลายกล้ามเนื้อและยาต่างๆมาทาน แต่หายได้ซักพักก็เป็นอีก

คราวนี้ญาติ พาไปคลีนิคพิเศษ โรงพยาบาลศิริราชเพื่อพบอาจาร์ยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ก็วินิฉัยออกมาแบบเดียวกัน เขาได้ถามแพทย์ว่าสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ แพทย์ตอบว่าถ้าเป็นแล้วจะไม่หายขาด จะคล้ายกับคนที่เคยไหล่หลุด ก็จะหลุดอยู่เรื่อยๆ อันนี้ก็คล้ายกันก็มีโอกาสเคลื่อนเรื่อยๆ

 

ก็เลยต้องทำกายภาพบำบัด ทั้งๆ ที่ขณะนั้นยังอายุแค่ 23 ปี พร้อมคำสั่งจากแพทย์ ห้ามยกของหนักตลอดชีวิต และไ่ม่ควรขี่มอไซค์ พอฟังข้อหลังแล้วมันขัดหูมาก เขาจึงได้ถามคุณหมอ ถึง ข้อหลังว่าทำไมขี่ไม่ได้ คุณหมอบอกว่าการขี่มอไซค์ต้องใช้กล้ามเนื้อหลังเกร็งกล้ามเนื้อหลัง ก็จะเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อเกรงหดตัวไปดึงหมอนรองกระดูกให้เคลื่อนออกมาอีก (จริงหรือไม่ ต้องลองสังเกตุดูนะครับ ว่าเวลาขี่ทางไกล ปวดหลัีงกันบ้างหรือเปล่า)และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขี่รถทรงที่พักเท้ายื่นไปข้างหน้า(Forward Foot rest) น้ำหนักตัวจะไปฝากภาระไว้ที่กระดูกสันหลัง เวลาตกหลุมหรือผิวทางไม่ดี จะได้รับการกระแทกที่กระดูกสันหลังก่อน โดยขาไม่สามารถช่วยรับแรง หรือ absorb แรงได้ ส่งผลให้หมอนรองกระดูกจะเคลื่อนอีก และจะหดตัวย่อเล็กลง อาจจะพิการได้

 

ช่วงนั้นเขาไม่สามารถเดินได้เอง เพราะขาข้างที่ปวด รองรับน้ำหนักตัวไม่ได้ (ทั้งๆที่น้ำหนักแค่ 56 กิโลกรัม) หากอยู่ในบ้านต้องใช้เก้าอี้มีล้อเลื่อนได้ แล้วใช้ เท้าข้างที่ไม่ปวดถีบไป หากออกข้างนอกต้องใช้ไม้เท้า เป็นเวลาทั้งหมด เกือบสองเดือนทต้องอยู่แต่ในห้อง จะออกไปข้างนอกได้ก็แต่โรงพยาบาล และแม้ในปัจจุบันก็ยังมีอาการปวดอยู่เรื่อยๆ แม้ไม่ได้ทำอะไร ถ้ายิ่งขี่รถก็ยิ่งปวดเข้าไปอีก กลายเป็นขี่รถแบบไม่มีความสุข
 

 


เราลองมาดูภาพตัวอย่างลักษณะการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกกันนะครับ

 

จาก MRI ภาพซ้ายคือหมอนรองกระดูกของคนปกติ ภาพขวาคือภาพของหมอนรองกระดูก ของผู้ที่มีปัญหา เมื่อเปรียบเทียบกันจะเห็นได้ว่า ช่องว่างของที่อยู่ของถุงเส้นประสาท(ลูกศรชี้) มีการตีบแคบจากทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งเกิดจากการกดของกระดูกแข็ง หรือ หมอน รองกระดูกสันหลังหรือทั้งสองประการร่วมกัน
ลักษณะการจอดในกรณีติดไฟแดง



 

จากภาพนี้ จะเห็นได้ว่าแนวของกระดูกสันหลังมีความผิดปกติ
อันเกิดจากกระดูกสันหลังระดับบนมีการเคลื่อนเหนือต่อกระดูกสันหลังระดับล่าง
แนวของกระดูกสันหลังจึงมีลักษณะคล้ายขั้นบันได(step-ตามเส้นสีแดง)ทำให้
ช่องที่อยู่ของเส้นประสาทด้านหลังมีการตีบแคบกดทับเส้นประสาทและปวดขาได้
ในรูปนี้เป็นในระดับ L4-5 ซึ่งบางรายเป็นในระดับอื่น หรือ หลายๆระดับพร้อมกัน

 

 



 

 

ด้วยเหตุนี้จึงมีความเป็นห่วงเพื่อนๆ ที่จะทำรถให้เป็นหลังแข็ง ได้อ่านเป็นเครื่องตัดสินใจก่อนจะทำการดัดแปลงรถเป็นทรงหลังแข็ง
ด้วยความปรารถณาดี อย่างจริงใจ อยากให้เพื่อนได้ขี่รถอันเป็นที่รักไปนานๆ


เขียนโดย: คุณ MIM
เรียบเรียงโดย: Lee HD
ต้องขอขอบคุณ คุณ MIM ที่ส่งเรื่องราวดีๆมาแบ่งปันกันครับ
ถ้าเพื่อนๆ พี่ๆ ท่านใดมีบทความที่น่าสนใจ สามารถส่งมาได้ที่ hd_playground@yahoo.com โดยทาง HDP จะเรียบเรียงรูปหน้าตามที่ท่านต้องการและนำขึ้นเผยแพร่ขึ้นในหมวด Articles ครับ

 

Share   Like
Comments