Harley Davidson Playground Forum

General Talk => Technical Talk => ข้อความที่เริ่มโดย: makky ที่ ตุลาคม 10, 2010, 03:30:19 PM

หัวข้อ: เทคนิคการขับขี่
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 10, 2010, 03:30:19 PM
เครดิตจาก http://www.stormclub.com

เชื่อว่าคนที่ขับรถมอไซค์เที่ยวเป็นส่วนใหญ่ อยากให้หวานใจคนสนิทซ้อนไปด้วย ถ้าหากพวกเธอเหล่านั้นกล้าพอ เพราะผลดีอย่างหนึ่งคือคุณเธอมักจะทำหน้าที่เป็น"ตัวตัดรอบ" ไม่ให้เราขี่เร็วเกินไป หรือเสี่ยงในลูกที่ไม่น่าเสี่ยง หรือพูดง่ายๆว่า การมีคนซ้อนมีผลดีในเรื่องที่ว่าทำตัวผู้ขับระมัดระวังตัวขึ้น ( ยกเว้นแต่ว่าคนที่ซ้อนคุณนั่น เป็นคนที่คุณอยากสลัดทิ้งเต็มแก่ ฮ่า.....) แต่ถ้าหากผู้ซ้อนของคุณไม่รู้วิธีปฏับัติตัวระหว่างที่ ขึ้นรถ - นั่งซ้อน - หรือลงจากรถ เรื่องง่ายๆ อาจจะเป็นเรื่องยาก ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นมาเยอะแล้ว ผู้ซ้อนท้ายที่มีปัญหา ทำให้เกิดอุบัติได้ง่าย พอๆ กับคนขี่ที่ "เมา" แล้วขับ ในภาคพิเศษ ตอนที่ 2 ผมจะพูดถึงการเป็นคนซ้อน และวิธีการซ้อนที่ดี ซึ่งถ้าคุณมีโอากาส ลองเอาไปซ้อมตามวิธีเหล่านี้ ให้เกิดความเคยชินจะช่วยให้คุณและคนที่ซ้อนคุณเกิดความมั่นใจได้มากขึ้นว่าต่างฝ่ายต่างไม่เป็นภาระซึ่งกันและกัน



ใครบ้างที่ต้องรู้เรื่องการซ้อนท้าย ? จริงๆ แล้วถ้าเป็นไปได้ ควรจะเป็นทุกคนครับ แม้ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ แต่ก็ควรจะฝึกเพราะวันใดวันหนึ่งคุณอาจจะต้องเป็นฝ่ายไปซ้อนคนอื่น โอเค... เรามาเริ่มกันเลย
เทคนิคการซ้อนท้ายในพื้นแบ่งออกเป็นเรื่องหลักได้ 3 เรื่องคือ 1.ตอนขึ้นรถ 2.ทรงตัวตอนที่รถวิ่ง และ 3. ตอนที่ลงจากรถ
(http://image.ohozaa.com/ix/1283692377.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=fab7e368107d52214897f3b1c745513f)
ภาพที่ ( 1 ) การขึ้นรถ
ให้เราใช้มือซ้ายวางบนไหล่ของผู้ขับขี่ ( จุด 1 ) และใช้มือขวาจับที่พนักจับท้าย หรือวางบนริมเบาะท้าย ( จุด 2 ) ถ้าหากรถคันนั้นไม่มีพนักจับ ใช้เท้าซ้ายวางบนพักเท้าหลัง ( จุด 3 ) จากนั้นถ้าเป็นมือใหม่ให้ถามคนขับว่า โอเค หรือยังจะขึ้นรถแล้ว ถ้าคนขับบอกโอเค ให้ออกแรงจากต้นขาซ้ายที่เหยียบบนพักเท้า แล้วยืดตัวขึ้นตรงๆ ตามภาพที่ ( 2 )
(http://image.ohozaa.com/ib/1283692402.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=e9c778a5b2ea2bc9c82462af88730ca7)
ภาพที่ ( 2 ) ให้ใช้การออกแรงยันตัวจากขาเป็นหลัก
ส่วนมือซ้ายและขวา มีหน้าที่เพียงแค่เสริมความมั่นคง และทำให้ทรงตัวง่ายขึ้นเท่านั้น ห้ามทิ้งน้ำหนักตัวส่วนบนลงบนไหล่ของผู้ขับขี่หรือเบาะท้าย จากนั้นเมื่อยืดตัวขึ้นไปได้แล้ว ให้พักน้ำหนักด้วยการใช้เข่าขวา โดยบิดตะโพกเข้ามาเหนือเบาะซ้อน ตามภาพที่ ( 3 )
(http://image.ohozaa.com/iv/1283692441.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=36a1b9889bb29ee9ee21faea9f258842)
ภาพที่ ( 3 ) เมื่อเอาเขาวางบนเบาะได้แล้ว
ให้ย้ายมือขวาไปจับที่หัวไหล่ของผู้ขับขี่ จากนั้นหมุนตัว และตะโพก โดยพยายามให้น้ำหนักอยู่กลางตัวรถให้มากที่สุด เมื่อได้หลักมั่นคงดีแล้ว ก็ย้ายเท้าขวามาเหยียบพักเท้าโดยให้น้ำหนักลงที่เท้าเท่าๆ กัน ตามภาพที่ ( 4 )
(http://image.ohozaa.com/i6/1283692468.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=37c5db0ff747fd0c1483291b8e566dca)
(http://image.ohozaa.com/il/1283692495.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=8348fbc1b17acfc9e57d4fc1b2e3ab78)
ภาพที่ ( 4 - 5 ) ตั้งแต่ตอนขึ้นมาบนรถ
เราจะใช้มือทั้งสองข้างเพียงเพื่อประคองตัวเท่านั้น ห้ามใช้น้ำหนักโถมลงไปบนแขนหรือตัวผู้ขับขี่เด็ดขาด จากนั้นเมื่อรักษาน้ำหนักเท้าทั้งสองข้างให้เท่ากันได้แล้ว ให้ค่อยหย่อนตัวลงนั่ง ( ช้าๆ ไม่ต้องรีบทิ้งก้น )

หนังจากนั่งลงไปที่เบาะแล้ว
ควรจะปรับตำแหน่งก้นกับเบาะให้พอดีก่อน โดยระหว่างนั้น อาจจะใช้มือซ้ายจับถังไว้ก่อน หรือใช้มือขวาจับพนักหูจับที่ด้านท้ายไว้ก่อน จนเมื่อพร้อมแล้วให้บอกผู้ขับขี่ด้วยการตบต้นขาเบาๆ เป็นสัญญานว่าออกรถได้

สำหรับผู้ซ้ายที่มีทักษะด้านการขับขี่ในระดับดีอยู่แล้ว จะเป็นผู้ที่เรียนรู้เรื่องการซ้อนท้ายได้ไม่ยากนัก เพราะหลักของการเป็นคนซ้อนที่ดีก็คือ ทำให้ผู้ขับขี่มีอิสระในการควบคุมรถมากที่สุด หรือเป็นภาระน้อยที่สุด
(http://image.ohozaa.com/i7/1283692524.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=981705a0a1274876f946c01d56dca48d)
ภาพ ( 6-7 ) เป็นภาพตัวอย่างที่ผิดระหว่างที่ซ้อนท้าย
ประเภทที่เอามือกอดอก และเอาตัวทั้งตัวอิงหลังคนขี่ แบบนี้อันตรายที่สุด เพราะนอกจากจะทำให้คนขี่ไม่สามารถขยับตัว เพื่อคุมรถได้ดีแล้ว กรณีที่ต้องเบรกอย่างกระทันหัน คนขี่จะเจ็บ........ และเมื่อยแขนเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าน้ำหนักที่แขนตกไม่เท่ากันสองข้าง โอกาสที่จะเกิดอาการล้อหน้าพับแล้วไถลไปมีสูง

วิธีที่ดีกว่าคือลองเปลี่ยนมาใช้มือทั้งสองข้างอิงถังน้ำมันไว้ ( ภาพที่ 8 ) และเลื่อนตัวออกไปด้านหลังเล็กน้อย ไม่ให้หน้าออกหรือลำตัวเรา ชนหลังคนขี่ สำหรับแขนและมือที่อิงถังน้ำมันไว้นั้น ให้ออกแรงดัน เพื่อพยุงลำตัวเฉพาะเวลาที่รถชลอหรือกดเบรก

ภาพที่ 7 ประเภทจับเอวแล้วเอนตัวไปด้านหลัง
แบบนี้ ก็ใช้ไม่ได้และอันตรายเวลาที่คนขี่ต้องเร่งแซงหรือเปิดคันเร่ง แรงกระชากจะทำให้คนซ้อนต้องดึงกระตุกคนขับ และมักจะพาให้ เสียหลักไปด้วย หรือไม่ผู้ซ้อนท้ายอาจเสียหลักร่วงจากรถไปเอง

อีกวิธีหนึ่งถ้าหากรถคันนั้นมีหูจับท้าย ตามภาพที่ 10 ผู้ขับขี่อาจใช้วิธีจับถังไว้ข้างหนึ่ง และอีกมือหนึ่งจับหูจับท้าย ซึ่งมีข้อควรจำนิดหน่อยสำหรับการนั่งซ้อนด้วยวิธีนี้ คุณจะมีเปลี่ยนข้างบ้าง อาจจะทุกๆ 10 นาที ไม่งั้นแล้วอาจจะทำให้กล้ามเนื้อยต้องเกร็งตัวนานเกินไป

ข้อควรจำเมื่อต้องเป็นซ้อนท้าย

การเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตามในขณะที่ซ้อนท้ายควรทำเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะการย้ายสะโพก เพราะสะโพกของเราคือจุดรวมน้ำหนักของร่างกาย การย้ายตะโพกของคนซ้อนไม่ว่าจะเป็นขณะรถเอียงเข้าโค้ง หรือขณะเบรกจะมีผลต่อการทรงตัวของรถทันที

2. จะเป็นการดีหากคนซ้อนท้ายจะมองไปในทิศทางเดียวกับคนขี่ เพราะจะทำให้คนซ้อนสามารถทราบได้ล่วงหน้าว่าจะต้องเตรียมตัวรับสถานะการณ์แบบไหน ยิ่งหากว่าคุณรู้มือกันแล้ว คนซ่อนจะสามารถอ่านการตัดสินใจของคนขี่ได้อย่างแม่นยำ และผู้ขับขี่แทบจะไม่มีความรู้สึกเลยว่ามีคนซ้อนท้ายอยู่

3. อย่าพยายามใช้การโหน
หรือถ่วงน้ำหนักช่วยคนขี่เวลาที่เราเอียงเข้าโค้ง เพราะการถ่วงน้ำหนักถ้าผิดจังหวะ มากหรือน้อยเกินไป อาจจะทำให้รถแหกโค้งได้ง่ายมาก ดังนั้นดีที่สุดคือนั่งสบายเอียงไปเป็นแนวเดียวกับตัวรถ และไม่ต้องเกร็งลำตัว ถ้ารู้สึกว่ารถเอียงมากให้ใช้วิธีย่อตัวหมอบอยู่หลังผู้ขับขี่ และใช้สายตามองข้ามไหล่คนขี่ไปในทิศทางเดียวกับโค้ง

4. ใช้ต้นขาหนีบตะโพกของผู้ขับ
โดยไม่ให้ตะโพกของเราเลื่อนไปหาคนขี่ โดยเฉพาะเวลาเบรก ยิ่งเบรกแรงให้บีบเน้นขึ้น และแตะไว้เบาๆ ไม่ต้องออกแรงเวลาไม่มีอุปสรรคข้างหน้า

5. เวลาขับรถขึ้นเขา
ผู้ซ้อนท้ายควรโน้มลำตัวท่อนบนไปด้านหน้า และขณะเดียวกันถ้าเป็นการขับรถลงจากเขา ให้ใช้การเลื่อนตะโพกไปด้านหลัง และกดตัวให้ต่ำลงจะเป็นการช่วยถ่วงน้ำหนักให้รถทรงตัวได้ดีขึ้น

6.เมื่อเจอทางที่ขรุขระ
ควรเอามือจับถังทั้งสองข้างและยกตะโพกขึ้นไม่ให้ก้นติดเบาะ (ไม่ต้องยกสูง) จนกว่าจะผ่านพื้นขรุขระ หรือเนินกระโดดไปก่อน

7.กรณีที่รถเสียหลัก ซึ่งโดยมากมักจะเป็นตอนจดรถหรือหยุดรถคนซ้อนท้ายไม่ควรใช้วิธีกระโดดลงจากรถ แต่ควรใช้วิธีย่อตัวยืดขาข้างที่อยู่ไกล้พื้นที่สุด ( โดยมากเป็นข้างที่รถกำลังจะล้ม ) ลงแตะพื้นจนเต็มเท้าก่อนค่อยดึงขาอีกข้างออกจากพักเท้า ถ้ารถยังไม่ล้ม ให้ใช้ตะโพกดันข้างรถไว้ถ้ารถยังไม่ล้ม อาจจะช่วยกู้สถานะการณ์ก่อนที่รถจะล้มไปจริงๆได้

การลงจากรถ

ตอนที่อันตรายและเสี่ยงต่อการพาให้รถล้มกลิ้งนั้นตอนที่คนซ้อนจะลงจากรถ เสี่ยงพอๆกับการขึ้นรถ ถ้าปฏิบัติไม่ถูกวิธีโดยเฉพาะคนซ้อนท้ายที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าผู้ขับขี่

ขั้นตอนการลงจากรถนั้น เราทำย้อนกระบวนการกับตอนขึ้น เริ่มจากภาพที่ 12 ก่อนจะลงจากรถต้องมั่นใจว่าคนขี่รถอยู่ในท่าทางที่พร้อมแล้ว ง่ายที่สุดก็คือการถาม หรือวิธิเดิมคือเอามือแตะหัวไหล่ทั้งสองเข้าสักครูหนึ่งเพื่อเป็นการเตือนคนขี่ จากนั้นออกแรงจากขายืดตัวขึ้น ตะหวัดส้นเท้าขวาขึ้นมาเอาหัวเข่าขึ้นมาพักบนเบาะ

จากนั้นเอามือขวาย้ายจากหัวไหล่ มาจับที่หูจับหรือยันที่เบาะท้าย แล้วย่อตัวตัวลงด้วยขาซ้ายที่ยังวางพักเท้าอยู่

ขั้นสุดท้ายค่อยๆ ย้ายน้ำหนักทั้งหมดมาไว้ที่ขาซ้าย ซึ่งยังวางอยู่บนพักเท้า แล้วค่อยเลื่อนเข้าขวามาริมเบาะ และปล่อยขาขวาลงมา โดยให้เท้าขวาสัมผัสพื้นเต็มเท้าจากนั้น ค่อยย้ายน้ำหนักจากขาซ้ายที่อยู่บนพักเท้ามาไว้ที่ขาขวา จากนั้นค่อยปล่อยขาซ้ายลงมายืน และปล่อยมือที่จับหัวไหล่คนขี่ และเบาะท้ายก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

ข้อควรระวังตอนลงจากรถ

1. ต้องมั่นใจก่อนว่าคนขี่นั่นรับรู้แล้วว่าเราจะลงจากรถ
2.ไม่ต้องรีบร้อนกระโดนลงจากรถ
3.ให้ลงจากด้านซ้ายเป็นหลัก และก่อนลงจากรถให้มองด้านหลังรถ และพื้นที่จะลงเสียก่อนว่าปลอดภัย

โดยหลักการขับขี่แล้ว "การขี่คนโดยไม่มีคนซ้อนท้ายนั้นปลอดภัยกว่า" .... แต่เราไม่สามารถเลือกได้หลักพื้นฐานที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะช่วยให้การเป็นคนซ้อนท้ายมีความสุขมากขึ้น ขณะที่คนขี่เองก็ไม่หวาดระแวงว่าผู้ซ้อนท้ายของเขาจะพาให้เกิดอุบัติเหตุหรือเปล่า

หวังว่าเทคนิคในตอนนี้จะช่วยให้คุณนำไปใช้ได้ในการเดินทางจริง และเพิ่มความสนุกสนาน ปลอดภัยทั้งคนขี่และคนซ้อนนะครับ....

ขอขอบคุณ เครดิตจาก http://www.stormclub.com
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ : หลักวิธีการสำหรับการเป็นผู้ซ้อนท้าย
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 10, 2010, 04:21:00 PM
เทคนิคการขับขี่ : การเข็นรถ
เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีปัญหากับการเข็นรถคู่ใจของตัวเอง โดยเฉพาะพวกที่ขี่รถทัวริ่งคันไหญ่ๆ ที่จะเข็นแต่ละทีต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะไหวหรือเปล่า หรือต้องเรียกให้คนที่อยู่ใกล้มาช่วยประคอง เวรกรรมมีรถทั้งทีมันลำบากแท้น้อ… ไม่ต้องคิดมากครับมันเป็นเรื่องปกติ ก็รถบิ๊กไบค์หรือซุปเปอร์ไบค์ที่เราๆท่านๆ ขี่กันอยู่นี่แต่ละคันน้ำหนักมันเบาซะที่ไหน กระผมเองกว่าจะคล่องก็ “ล้มแปะ” ไปหลายหน ในคอลัมน์นี้เรามาดูวิธีการเข็นรถแบบของชาว Storm Rider กันดีกว่า
(http://image.ohozaa.com/ik/k16l1.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=829a4545b4dc7986dd32d0a214f0703f)
(1) ถ้ารถอยู่ในตำแหน่งสมดุลย์ (Balance) เราแทบไม่ต้องออกแรงจับรถเลย
(http://image.ohozaa.com/ic/bjzm2.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=a2c04c28149d210bba24a5f840f3d8e5)
(2) หากรถเสียสมดุลย์เราจะรู้สึกว่ารถหนักมาก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการที่รถเอียงหรือตำแหน่งที่ยืนไม่ถูกต้อง
(http://image.ohozaa.com/ic/4j1w3.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=57fab5ac15ba10de7a3f203b35e94d6c)
(3) ตำแหน่งที่ยืน - ควรยืนอยู่ด้านซ้ายของตัวรถเพื่อความปลอดภัยจากรถที่มาจากด้านหลัง
จากภาพที่(1) จะเห็นว่าโดยปกติถ้ารถตั้งตรง จะอยู่ในจุดที่น้ำหนักสมดุลย์ (Balance) เราแทบจะไม่ต้องออกแรงเพื่อประคองรถเลย เพราะน้ำหนักทั้งหมดของรถตกลงสู่ล้อทั้งสอง ไม่เอียงมาฝั่งใดฝั่งหนึ่ง

แต่ที่เราประคองหรือเข็นรถแล้วรู้สึกหนัก นั่นเป็นเพราะรถอยู่ในลักษณะเอียง ทำให้เสียสมดุลดังกล่าว น้ำหนักกระจายออกนอกตัวรถมาสู่ตัวเราที่ยืนประคองหรือเข็นรถอยู่ ยิ่งรถเอียงมากยิ่งรู้สึกหนัก

นี่แหละสาเหตุหลักที่หลายๆ คนบอกว่ารถหนักมากเข็นไม่ไหว ซึ่งจริงๆแล้วที่เรารู้สึกหนักนั้นเป็นเพราะรถเอียงเข้าหาตัวมากเกินไป รวมทั้งอาจจะอยู่ในตำแหน่งและท่าทางที่ไม่เหมาะสมทำให้ออกแรงได้ไม่ถนัด

ดังนั้น วิธีเข็นที่ดีจะช่วยให้สามารถเข็นได้อย่างเบาแรงและมั่นคง ทำให้คุณเข็นรถได้อย่างมั่นใจ โอกาส ”แปะ” ก็จะน้อยลงตามไปด้วย ว่าแล้วก็เข้าเรื่องดีกว่า สำหรับเรื่องเข็นรถนี่ผมขอแบ่งเป็น เข็นระยะใกล้ กับเข็นระยะไกล แล้วกัน

การเข็นระยะใกล้ / พื้นที่แคบ
สำหรับการเข็นในระยะทางสั้นๆ หรือเข็นในพื้นที่แคบ เนื้อที่จำกัด และเป็นวิธีเข็นที่เหมาะสำหรับมือใหม่ที่จะเริ่มฝึกเข็นรถเพื่อให้คุ้นเคยกับน้ำหนักรถ เพราะมีความมั่นคงมากกว่า อยากรู้แล้วใช่มั๊ยหล่ะ งั้นมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

ตำแหน่งที่ยืน : โดยปกติแล้วจะยืนทางซ้ายของตัวรถ เพราะสามารถใช้มือขวาคุมเบรกได้สะดวก และมีความปลอดภัยกว่าหากต้องเข็นรถบนถนน (ยืนเข็นทางขวามันเสียวรถที่วิ่งมาจากข้างหลังจะสอยเอาไปรับประทานหน่ะสิครับพี่น้อง…)

มือ : วางมือทั้งสองข้างบนแฮนด์ในตำแหน่งเดียวกับเวลาขี่รถ และจำไว้ว่ามือจะทำหน้าที่เพียงบังคับทิศทางของรถ ฉะนั้น ไม่ต้องออกแรงเพื่อดันรถให้ตั้งตรง (เพราะนั่นเป็นหน้าที่ของสะโพก) มือขวาวางนิ้วไว้บนก้านเบรก ในตำแหน่งที่พร้อมสำหรับการใช้เบรกตลอดเวลาเหมือนในภาพที่(4) โดยมีข้อควรระวังคืออย่ากดเบรกแรงอย่างกะทันหัน เพราะอาจทำให้รถเสียสมดุลและล้มเอาซะดื้อๆ... ส่วนจะวาง 1 นิ้ว, 2 นิ้ว หรือจะใช้นิ้วไหน อันนั้นตามสะดวก

เท้า : วางเท้าห่างจากตัวรถเล็กน้อย ที่ตำแหน่งนี้รถจะมีลักษณะเอียงเข้าหาตัวเรา ให้ใช้ลำตัวบริเวณสะโพกแนบกับตัวรถเพื่อรับน้ำหนักและประคองไม่ให้รถล้มโดยใช้เท้าซ้ายเป็นตัวค้ำ (ทำหน้าที่เหมือนขาตั้งข้าง) ที่ทำแบบนี้เพื่อความมั่นคงของรถที่ดีกว่า และทำให้เราสามารถรับรู้ Balance ของรถได้ตลอดเวลา จึงมั่นใจได้ว่ารถจะไม่ล้มไปทางฝั่งตรงข้าม ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกการเข็นรถ ข้อควรระวัง - อย่าวางเท้าห่างเกินไป เพราะรถจะเอียงเข้าหาตัวเรามากซึ่งจะทำให้รู้สึกหนัก เอาหล่ะเมื่อยืนถูกแล้วก็มาเริ่มเข็นกันเลย...

1. เข็นเดินหน้า
จากตำแหน่งที่ยืนอยู่ โน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อยพร้อมออกแรงที่มือและขาด้านนอก(ซ้าย) เพื่อดันรถให้เคลื่อนไปข้างหน้า โดยให้สะโพกแนบอยู่กับตัวรถตลอดเวลา เมื่อรถเคลื่อนที่ให้ก้าวเท้าให้เหมาะสมกับความเร็วของรถดังในภาพที่(6) โดยขณะที่เข็นพยายามรักษาตำแหน่งและระยะห่างของเท้ากับรถให้สม่ำเสมอ (ห่างมากรถเอียงมาก) สำหรับความเร็วในการเข็นเราจะควบคุมด้วยเบรกหน้า ฉะนั้นมือขวาจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมใช้เบรกตลอดเวลา

2. เข็นถอยหลัง หลักการไม่ต่างจากเข็นไปข้างหน้าคือใช้สะโพกแนบตัวรถและรักษาระยะห่างของเท้ากับรถ (ภาพที่(7)) แต่ที่แตกต่างและยากกว่าเพราะต้องเดินถอยหลัง

ซึ่งการก้าวเท้าไม่สามารถทำได้อย่างปกติเพราะต้องก้าวสั้นกว่า แถมยังต้องเอี้ยวตัวเพื่อหันมามองข้างหลังอีก (บางคนถึงกะเข็นไม่เป็นเลยหล่ะ...)

ทริกสำคัญอย่างหนึ่งอยู่ที่ ให้ใช้กำลังจากขาและการถ่ายน้ำหนักตัวในการดันรถให้เคลื่อนรถไปข้างหลัง แขนใช้เพียงประคองรถและควบคุมทิศทาง อาจจะช่วยออกแรงบางแต่ไม่มาก เพราะหากคุณออกแรงที่แขนเป็นหลักเพื่อ”ดึง”รถถอยหลัง อาจจะทำให้รถถอยเร็วเกินจนคุณก้าวเท้าตามไม่ทันและเสียบาลานซ์ในที่สุด และถ้าออกแรงดึงข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไปนั่นเท่ากับคุณหักแฮนด์ออกนอกเส้นทางซึ่งทำให้เข็นรถไม่ตรง
(http://image.ohozaa.com/i3/b4hr4.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=ffce6c4142bc4c2ecab9359ceb79a033)
(4) ลักษณะการวางมือ - ผ่อนคลายแต่กระชับ และพร้อมใช้เบรก
(http://image.ohozaa.com/id/isi35.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=2aae047038b157a8586358d16fdab037)
เอาหล่ะ...งั้นมาลองวิธีเข็นอีกแบบ ซึ่งอันนี้ต้องพอมีเบสิคเคยเข็นมาบ้าง และรู้จุดบาลานซ์ของรถ

(5) การวางเท้า - ห่างจากตัวรถเล็กน้อย ถ้าใกล้ไปจะรู้สึกไม่มั่นคง แต่ถ้าห่างมากเกินไปจะทำให้รู้สึกหนัก

3. เข็นเลี้ยวซ้าย / ขวา
ยังคงยึดหลักการใช้สะโพกแนบตัวรถและรักษาระยะห่างของเท้ากับรถ แต่จะยากขึ้นมาอีกนิดเพราะจะมีเรื่องของบาลานซ์น้ำหนักรถที่เปลี่ยนแปลงจากการเลี้ยว โดย -

* เทคนิคคือ
1.ตามองเส้นทางที่จะเข็นรถเลี้ยวไป อย่ามองต่ำหรือใกล้เกินไป
2.พยายามรักษาระยะห่างของเท้ากับตัวรถ โดยเวลาเข็นเพื่อเลี้ยวรถควรก้าวเท้าไปตามแนวของล้อหน้า หมายความว่าถ้าหักแฮนด์มากก็ต้องก้าวเท้าออก”ด้านข้าง”มาก ซึ่งจะทำให้ระยะห่างของเท้ากับตัวรถมีความสม่ำเสมอตลอดเวลาไม่ว่าจะเข็นตรงๆ หรือเลี้ยวซ้าย/ขวา

4.การเข็นระยะไกล
.คุณเคยน้ำมันหมดหรือรถเสียกลางทางแล้วต้องเข็นหาปั๊มหรืออู่มั๊ย? ถ้าเคยคุณจะรู้ดีว่าไอ้การเข็นรถไกลๆเนี่ยมันนรกชัดๆ (ถ้าใครไม่เคยไปลองดูนะครับ ได้อารมณ์มาก) แล้วยิ่งถ้าต้องเข็นรถคันใหญ่ด้วยแล้ว แหม... มันอยากจะถีบทิ้งซะตรงนั้นเลย ไอ้จะใช้วิธีเอาสะโพกดันแบบข้างบนนั่นก็ไม่ไหว เพราะมันจะเดินไม่ค่อยถนัดเนื่องจากขาด้านนอกต้องออกแรงดันรถตลอดเวลา แล้วยิ่งถ้าต้องเดินไกลๆ เกิดหมดแรงขาอ่อนมันจะล้มพับซะงั้น!!..........

เอาหล่ะ...งั้นมาลองวิธีเข็นอีกแบบ ซึ่งอันนี้ต้องพอมีเบสิคเคยเข็นมาบ้าง และรู้จุดบาลานซ์ของรถ
(http://image.ohozaa.com/i7/un2v6.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=dc1f00c9517ae51c3a6df91cb2d9f61c)
(6) ลักษณะการเข็นเดินไปข้างหน้า
(http://image.ohozaa.com/ih/v3647.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=a27ef5ef424c86384abcb2048b930aac)
(7) ลักษณะการเข็นถอยหลัง เก๋าไม่เก๋ามันต้องดูตรงนี้แหละ
(http://image.ohozaa.com/i9/n68d8.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=6289b49fa72d6136265e7261d3347d18)
(8) เข็นเลี้ยวซ้าย - รถจะตั้งขึ้น ทำให้รู้สึกเบา อาจมีอาการเหวอบ้างช่วงฝึกแรกๆ
(http://image.ohozaa.com/i4/i1a89.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=b7e6b1d03bd8effa56f085efb95ee131)
(9) เข็นเลี้ยวขวา - รถจะเอียงเข้าหาตัว จึงรู้สึกหนักกว่าเข็นปกติ
(http://image.ohozaa.com/ix/bz310.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=4dc9da8ebcaaac68e045a7e588ce5ad6)
(10) การเข็นระยะไกล จะไม่ใช้สะโพกประคองรถ ดังนั้นรถจะต้องตั้งตรงในจุดบาลานซ์ตลอด
(http://image.ohozaa.com/ig/fuj11.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=90ec36dbea6c32faae0f06a43a4fa878)
(11) เข็นไกล : เดินหน้า ตั้งรถให้ตรงแล้วเข็นไปสบายๆ ชิวๆ

1. การเข็นเดินหน้า
จากที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า ถ้ารถตั้งตรงอยู่ในจุดที่น้ำหนักสมดุล คนเข็นแทบจะไม่ต้องออกแรงเพื่อประคองเลย

โดยลักษณะการยืน ผู้เข็นจะยืนอยู่ทางด้านซ้ายของรถ วางมือที่แฮนด์ทั้ง 2 ข้างเหมือนการเข็นระยะใกล้ เท้าอยู่ห่างจากรถเพียงเล็กน้อย จับให้รถตั้งตรง (ต่างจากการเข็นระยะใกล้ที่ใช้สะโพกรับน้ำหนักรถ) ซึ่งทำให้น้ำหนักรถตกลงในแนวดิ่งไม่เอียงหาคนเข็นจึงไม่รู้สึกหนัก ลักษณะการเข็นไปข้างหน้าจะเหมือนกับการเข็นระยะใกล้แต่จะรักษาบาลานซ์รถให้ตั้งตรงไว้เสมอ (ภาพที่(11)) มีข้อควรระวังคืออย่ายืนชิดรถจนเกินไปเพราะอาจทำให้น้ำหนักรถเอียงไปทางฝั่งตรงข้ามมากเกินและทำให้ล้มในที่สุด
(http://image.ohozaa.com/iw/kca12.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=ee3f620b543f39284f557d2ca3f11371)
(12) เข็นไกล : ถอยหลัง อันนี้ยากพอสมควรทีเดียวเพราะต้องใช้ประสาทสัมผัสหลายจุดคือ สายตา, มือแต่ละข้าง และการก้าวเท้า
(http://image.ohozaa.com/i4/n9f13.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=408574707aa119a28e0b124c4d83f230)
(13) หากรถเสียสมดุลย์จนเกือบล้ม ให้ใช้ต้นขารองบริเวณถังเพื่อรับน้ำหนัก หรือขยับตัวเข้าหารถแล้วใช้สะโพกรับน้ำหนัก

2. การเข็นถอยหลัง
การยืนจะอยู่ฝั่งซ้ายของรถเหมือนเดิม แต่หันตัวเข้าหาตัวรถ มือซ้ายจับแฮนด์ส่วนมือขวาจับบริเวณเบาะคนซ้อนประคองรถให้ตั้งตรง ยืนใกล้กับรถเพื่อไม่ให้รถเอียงเข้าหาตัว หันหน้าไปด้านหลังมองเส้นทางที่จะเข็น

เมื่อจะเริ่มเข็นให้ความรู้สึกอยู่ที่มือขวาและขาซ้าย โดยใช้ขาซ้ายดันตัวและมือขวาออกแรงผลักรถไปด้านหลัง เมื่อรถขยับเราจะก้าวเท้าเดินไปพร้อมๆกับรถ ซึ่งเมื่อเริ่มฝึกอาจจะก้าวเท้าในลักษณะไขว้ขาก่อนจนเมื่อชินแล้วค่อยก้าวแบบเดินปกติ (ดูภาพที่(12)ประกอบ)
** ข้อควรจำ – ตั้งรถให้ตรง, ออกแรงดันด้วยมือขวา และหันหน้ามองทิศทางที่จะไป

3. การเข็นเลี้ยวซ้าย / ขวา
สำหรับการเข็นแบบนี้เมื่อเลี้ยวจะไม่มีปัญหาของบาลานซ์เพราะรถตั้งตรงตลอดเวลา จึงเข็นเหมือนกรณีเดินหน้าและถอยหลัง เพียงแต่ให้รักษาระยะห่างระหว่างรถกับผู้เข็นให้สม่ำเสมอเท่านั้น

เมื่อรถจะล้ม!!!
คนที่เคยเข็นรถล้มคงจำวินาทีก่อนที่รถจะล้มได้ มันจะเป็นภาพสโลโมชั่นมากๆ ประมาณว่า... (( เฮ้ยยยยย .... โร้ดดดด... โล้มมมมม...... ตึง!!)) พยายามฝืนชะตาดึงรถไว้แล้วเต็มที่ แต่ก็ไม่วายล้มจนได้ (บัดซบเจงๆ) และไม่แน่อาจมีอาการหลังยอกตามมาด้วยเพราะฝืนใช้กล้ามเนื้อออกแรงผิดจังหวะ จำไว้ว่าเมื่อรถจะล้มสิ่งสำคัญที่สุดคือ อย่าตกใจ ตั้งสติดีๆ ถ้าคิดว่าเอาไม่อยู่ “อย่าฝืน” โดดออกมาจากรถ ปล่อยให้มันล้มไปแล้วค่อยมายกทีหลัง ดีกว่าฝืนแล้วหลังเดี้ยงแถมรถก็ล้มอยู่ดี

แต่ถ้าคิดว่ามีแรงพอ เอาอยู่ มาลองวิธีนี้... ส่วนใหญ่แล้วรถจะ”ล้มเข้าหาตัว” ซึ่งก่อนที่จะล้มเราจะรู้สึกตัวว่าเสียบาลานซ์ ช่วงนี้เราจะมีเวลาประมาณ 1 – 2 วินาทีในการ “แก้ตัว” นี่แหละที่ผมบอกว่าให้ตั้งสติดีๆ วิธีแก้คือ ให้ขยับเท้าข้างหนึ่งเข้ามาใกล้ตัวรถให้เร็วที่สุดพร้อมกับเอาต้นขาหรือสะโพกดันรถพักไว้ในจังหวะแรกดังที่แสดงในภาพที่(13) ส่วนจังหวะถัดมามีให้เลือก 2 แบบ
- แบบที่หนึ่ง :ใช้น้ำหนักตัวดันรถกลับไปฝั่งตรงข้ามให้ตั้งตรงในจุดบาลานซ์เหมือนเดิม โดยใช้ขาหลังหรือขาที่อยู่ด้านนอกสุดของตัวรถออกแรงส่ง และใช้สะโพกดันรถขึ้น (อย่าใช้แขนดึง)
- แบบที่สอง : แหกปากให้ดังที่สุด “ช่วยกูด้วยโว้ย...!!!” (หวังว่าตอนนั้นจะมีคนอยู่ใกล้ๆ นะทั่น)

ส่วนกรณีที่รถล้มออกนอกตัว มีคำแนะนำเดียวแบบหมอลักษณ์ฟันธง... ปล่อยให้มันล้มไป!! อย่าไปฝืนครับ ถ้าล้มออกนอกตัวแล้วคุณฝืนดึงรถไว้ ผลที่จะเกิดจะมีอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกคุณจะล้มตามรถไปฝั่งตรงข้าม หรืออย่างที่สองคุณรู้ว่าดึงรถไม่ไหวจึงต้องปล่อยรถล้มไปในที่สุด แต่ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไรรับรองว่าหลังคุณเดี้ยงเพราะกล้ามเนื้ออักเสบแน่นอน เพราะฉะนั้นกรณีนี้ปล่อยให้มันล้มไปเหอะครับ อย่าฝืน เดี๋ยวจะเจ็บทั้งรถทั้งคน

หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ : หลักวิธีการสำหรับการเป็นผู้ซ้อนท้าย
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 10, 2010, 04:27:22 PM
4ขั้นตอนในการแซงที่รวดเร็วและปลอดภัย  
เครดิตจาก พี่ปุ้ม 118 ไบค์
(http://image.ohozaa.com/ir/hv3m1.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=16e0ea275a0cfb09bb5ee60a077dcb6c)
PLAN
แผน... การทะลุผ่านการจราจรไม่ใช่เรื่องยากสำหรับรถมอไซด์ การขับเคลื่อนที่รวดเร็วและแรงกว่ารถยนต์ส่วนใหย่ ดังนั้นเมื่อ เวลาที่ถูกต้องมาถึง คุณก็ควรไปในทันทีทิ้งรถทั้งหลายไว้เบื้องหลัง แต่ปัญหาคือ เมื่อไหร่ควรไป หรือ เมื่อไหร่ควรรอ หลังจากได้ศึกษา TIP 4ขั้นตอนนี้แล้ว จะทำให้คุณไปถึงจุดหมายของคุณได้เร็วและปลอดภัย
(http://image.ohozaa.com/ii/hl6f2.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=201fb620c2db88c683f160535ddf2908)
STEP ONE
ขั้นแรก...ใช้สายตาดูป้ายต่างๆและพื้นถนนว่ามีอะไรบ้างอยู่ข้างหน้า
ก่อนที่จะแซงรถต่างๆ คุณต้องมีแผนว่า เวลาที่ดีที่สุดนั้นมาถึงรึยังและจะขี่รถของคุณไปทางไหน มีอะไรที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากแซงไปแล้ว ทั้งหมดนี้ต้องใช้สายตาของคุณประเมินสถานการณ์ก่อน ต้องพยายามสังเกตุให้รอบๆทั้งป้ายจราจรต่างๆ เหตุการณ์ข้างหน้า พื้นถนน โค้งต่างๆ ทางแยก มีการก่อสร้างข้างหน้าหรือไม่ และอย่าลืมการจราจรด้านหลังด้วยเพราะอาจจะมีรถที่กำลังจะแซงคุณอยู่ก็ได้
(http://image.ohozaa.com/i7/co6k3.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=3e4ea8f3a9b8d219deab5ce49a69a083)
(http://image.ohozaa.com/iu/l4hf4.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=e3577e82a13c914293e2c05e9985970d)
STEP TWO
ขั้นที่2...ตำแหน่ง
พยายามอยู่ในตำแหน่งที่สร้างโอกาศให้คุณในการแซงมากที่สุด อย่าพยายามอยู่ใกล้หรือ หลังรถคันหน้ามากเกินไป เพราะคุณจะไม่สามารถมองเห็นสภาพโดยรอบของพื้นที่ๆคุณต้องการจะแซงได้ และระยะในการเบรคกรณีฉุกเฉินจะมีน้อยเกินไป ก่อนที่คุณจะพยายามแซงรถคันหน้าพยายามจัดตำแหน่งรถคุณให้อยู่ใกล้เส้นแบ่งกลางถนนให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้เห็นภาพได้กว้างที่สุด และยิ่งไปกว่านั้นสามรถเห็นคนขับรถคันหน้าได้จะยิ่งเพิ่มความมั่นใจได้มากขึ้นทีเดียว
(http://image.ohozaa.com/i4/36sr5.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=f7be1137a2061e1e7ba3b7a4273aab4d)
STEP THREE
ขั้นที่3...ความเร็ว
เมื่อคุณตัดสินใจได้ว่าจะแซงรถคันหน้าแล้ว เรื่องที่ตามมานั้นคือความเร็วและเกียร์ของคุณในขณะนั้น คุณต้องแน่ใจว่า เกียร์ของรถคุณในขณะนั้นถูกต้องกับความเร็วที่คุณต้องการ เพื่อที่จะสามารถนำรถของคุณเร่งไปได้อย่างรวดเร็วไม่เสียเวลา การเปลี่ยนเกียร์ลง1เกียร์นั้นจะสามารถทำให้คุณเร่งความเร็วของรถไปได้อย่างรวดเร็วทันใจและยังหมายถึง คุณยังสามารถใช้ เอ็นจิ้นเบรค ได้อีกเมื่ออยู่ในกรณีฉุกเฉิน
(http://image.ohozaa.com/ig/vm3e6.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=571c84181a0346ece58d67e23802c16b)
STEP FOUR
ขั้นที่4...เมื่อผ่านรถคันหน้า
เมื่อคุณผ่านขั้นตอนต่างๆจนสามารถแซงรถคันหน้าได้แล้วคุรก็ควรที่จะเคลื่อนรถคุณให้ไปอยุ่ในตำแหน่งที่ดีและปลอดภัยที่สุดเพื่อ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรือเหตุการ์ณที่ไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นั้นคือ เมื่อรถของเราต้องไปอยู่ในเลนรถที่สวนมา ขณะแซงรถคันหน้ามันย่อมอันตรายมากว่าที่อยุ่ในช่องเลนของเราเอง ฉะนั้นไม่ควรรีรอเมื่อแซงแล้วควรรีบนำรถกลับเข้าเลนของเราทันที และจะต้องเว้นช่วงห่างของรถเรากับรถที่แซงพอสมควรเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเอาไว้ด้วย
ข้อสำคัญ.....
เมื่อคุณไม่มั่นใจว่าจะสามารถแซงไปได้อย่างปลอดภัย คุณควรชลอหยุดตรงตำแหน่งเดิม แล้วคอยเวลา จังหวะใหม่

pum118 webmaster
kai GS1150 แปลบทความ
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 10, 2010, 04:28:43 PM
การเข้าโค้งแบบ V-Shave ไต่ทางชัน  

(http://image.ohozaa.com/in/0xic1.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=607eeb21160d4b71bf7668bf0100a733)

หลายคนคงเคยไปเที่ยวทางภาคเหนือที่มีโค้งไต่ระดับบนทางชันมาแล้ว โดยเฉพาะเส้นทางสุดฮิตทางไปดอยดังๆ หรืออุทยานแห่งชาติทั้งหลายแหล่ ไม่ว่าจะเป็น ดอยอ่างขาง, ดอยแม่สลอง, ดอยอินทนนท์, ดอยเต่า, หรือแม้แต่บิ๊กทริปปีล่าสุดของสตอร์ม ดอยภูคา และภูชี้ฟ้า ก็จะมักจะมีโค้งแนวนี้เกือบ 30% ของระยะทาง

วันนี้ว่างจากการเป็นคนตกงานเลยขอเขียนวิธีการเข้าโค้งแบบนี้มาให้บรรดานักเรียนไรดิ้งส์คอร์สทั้งหลายได้เก็บไว้เป็นข้อมูลเพราะโค้งแบบนี้มันมีหลายประการค่อนข้างจะแหกคอกและต้องใช้ทักษะที่เรียนไปไม่น้อยทีเดียว จะว่าไปผมถือว่าค่อนข้าง Advance ทีเดียวครับโดยเฉพาะกับรถสปอร์ตแรงสูงทั้งหลาย

จากตัวอย่างที่ผมเอามานำเสนอนี้คือ โค้งไต่ระดับ V-Shave โค้งซ้ายตามภาพ โดยปกติโค้งซ้ายสำหรับคนทั่วไปจะเป็นโค้งที่ถือว่าเราถนัดที่สุด แต่กับโค้งหักศอกไต่ทางชันแบบนี้รถสปอร์ตจะไปยากเพราะว่าความเร็วของรถจะต่ำกว่ารอบส่งกำลังแม้ว่าจะใช้เกียร์ 1 แล้วก็ตามดังนั้นมันต้องใช้วิธีแหกคอกกันหลายจุดหากจะผ่านโค้งนี้ไปแบบมั่นใจและปลอดภัย.. และวิธีการที่นำเสนอต่อไปนี้ ไม่แนะนำสำหรับมือใหม่ หรือคนที่ยังมีทักษะการขับขี่ในโค้งไม่แข็งแรงพอ

ที่นี้มาดูภาพครับ เราเข้าโค้งขวาขึ้นเขามาแล้วเจอแบบนี้เป็นโค้งหักศอกขึ้นทางชันสุดๆ ด้านซ้าย
(http://image.ohozaa.com/is/0qj02.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=59a51876201965d270e533e3a83e7a75)
สิ่งแรกที่คุณต้องรู้คือพื้นที่อันตรายที่ห้ามผ่านเข้าไปโดยเด็ดขาดจากภาพพื้นที่สีแดงจัดคือพื้นที่อันตราย ซึ่งคุณจะสังเกตุว่าพื้นที่สีแดงด้านซ้ายบางส่วนนั้นล้ำเข้ามามาจนถึงเลนรถที่สวนมา ขณะเดียวกันพื้นที่ด้านขวาก็มีเกือบครึ่งของเลนรถสวน พูดง่ายๆ คือเรามีมุมแคบมากสำหรับการจะวิ่งผ่านโค้งแบบนี้และแทบจะเป็นโค้งบังคับสำหรับรถสปอร์ตเนื่องจากในความเร็วต่ำๆ รถสปอร์ตจะมีวงเลี้ยวกว้างมาก

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณวิ่งเข้าไปในโซนแดง ?

โซนแดงที่ด้านซ้ายของโค้ง
จากภาพนี้โซนซ้ายมือคือส่วนในของโค้ง ถ้าคุณพลาดไปวิ่งเข้าในตำแหน่งนั้นด้วยความที่เป็นทางชันคุณมีโอกาสพับกลางโค้งสูงมาก หรือถ้าคุณจะเปิดคันเร่งเลี้ยงไว้คุณก็จะบานโค้งตอนออกเพราะความเร็วต่ำรถไม่มีแรงเหวี่ยงให้แบนโค้งได้ คันเร่งที่คุณเปิดจะพาคุณแหกโค้งไปชนกับหน้าผาในเลนตรงข้าม หรือไม่ก็เครื่องดับและพับอยู่มุมในของโค้งหากว่าแรงส่งจากเครื่องไม่เพียงพอ

โซนแดงด้านขวาของโค้ง
โซนแดงด้านขวากับโค้งแบบนี้พูดกันตามตรงยังอันตรายน้อยกว่าด้านซ้าย(* ถ้าไม่มีรถสวน) เพราะถ้าคุณวิ่งเข้าในโซนนี้คุณยังมีโอกาสแก้ตัวเยอะกว่า ยกเว้นเคสเดียวที่มีรถสวนลงมาแล้วเบรกแตก
(http://image.ohozaa.com/i1/n9t53.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=3f13566f355d353961e84ad00239dad6)
มารูปนี้ผมขอเปลี่ยนพื้นที่อันตรายเป็นสีดำแทนเพื่อให้เห็นไลน์การขับขี่ อันนี้ต้องบอกก่อนว่ามันอาจจะแหกคอกกับสิ่งที่ผมและบรรดา Instructor สอนในขณะที่เรียน Riding Couse แต่มันมีที่มาที่ไปครับ

ไลน์นี้ความสำคัญอยู่ที่สีที่ผมให้ไว้ จุดที่เป็นสีส้มแดง ไปจนถึงแดงคือจุดที่ต้องมีวิธี"พิเศษ"ในการคิดเพื่อจะแก้ปัญหาซึ่ง "ไม่ใช่วิธีธรรมดาทั่วไป" ดังนั้นโปรดอ่านและทำความเข้าใจโดยระมัดระวัง

โดยสิ่งที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหาสำหรับรถสปอร์ตที่จะใช้วิธีนี้ประกอบด้วยเทคนิค 3 ประการคือ

1.เทคนิคการใช้สายตา และ
2.เทคนิคการใช้การใช้คันเร่งกับเกียร์
3.ไรดิ้งส์ โพสิชั่นแบบ lean-with หรือ lean-out

หากใครที่ผ่านการเรียนไรดิงส์คอร์สมาแล้ว โค้งที่ว่านี้คุณจะได้ใช้แบบ "สุดๆ
(http://image.ohozaa.com/i0/9cxy4.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=95226c4176b93b529dcad71b336d2f54)
อันดับแรกคือการใช้สายตา โดยปกติถ้าเป็นโค้ง V-Shave บนทางราบเมื่อเรามาถึงตำแหน่งก่อนจะถึงโค้งนั้นเราจะมองแค่จุด (A) ไปจนถึง (B)

** แต่ในเทคนิคนี้จะมองแค่นั้ไม่ได้ ** คุณต้องมองไปตามถนนที่ไกลที่สุด ซึ่งแน่นอนครับว่า จุด (B) เส้นสีดำนั้นมักจะเป็นจุดที่คุณมองไม่เห็นเพราะถูกบังเป็นโค้งลับตาจากแนวตีนเขา ด้วยเหตุนี้สายตาปกติคุณจะมองได้ไม่เกินจุด (A) หรือเลยไปได้แค่นิดหน่อยเท่านั้น ....

ดังนั้นเมื่อมองไปที่ (B) ไม่ได้ ในชั้นนี้ให้คุณหันมามองมุมรอบตัวโดยเฉพาะแนวจุด (G) ที่โดยปกติถ้าคุณมองระนาบขอบฟ้า คุณก็จะไม่เห็นอะไรดังนั้นต้อง "เงยหน้ามองขึ้นไป 45 องศา" ไล่สายตามองลอดแนวต้นไม้จากจุด G -> D ซึ่งการไล่สายตาแบบนี้จะพอบอกแนวถนนข้างหน้าได้คราวๆว่าจะเจอโค้งหักศอกซ้าย V-Shave ขึ้นเขาหรือไม่...

และถ้าใช่ก็ไม่ต้องตกใจครับให้ไล่สายตาลงมามองกลับมาที่จุด A อีกครั้ง

** สาระสำคัญของภาพนี้ **
1. เช็คให้แน่ใจว่ามันเป็น V-Shave ซ้ายขึ้นเขาหรือไม่
2. ถ้าใช่ อันดับถัดมาคือมองหารถที่วิ่งส่วนทางลงมา
(http://image.ohozaa.com/i4/06yu5.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=43e90f6fca8b2055d6fd05709faf8582)
ต่อเนื่องจากภาพบน

เมื่อคุณมาถึงจุด (A) ตอนนี้คุณจะเห็นจุด (B) และ (C) เมื่อรู้แล้วว่ามันเป็นโค้งไต่ทางชันแน่ก่อนที่คุณจะวิ่งไปถึงจุด (B) ให้หันหน้าและเงยหน้าไปมองในตำแหน่ง (E) เพื่อเช็คว่าไม่มีรถสวนลงมา

เทคนิคเริ่มขึ้นจากตรงนี้แหละครับ
เมื่อไม่เห็นรถสวนทางลงมาให้คุณกำหนดจุด (B) ใช้ไลน์กินเลนขวาเกือบสุด (โดยดูสภาพถนนว่ามีกรวดลอยหรืออุปสรรคใดๆหรือไม่)

ถ้าทางเคลียร์เตรียมให้ลดเกียร์ลงต่ำ โดยเฉพาะรถสปอร์ตก่อนจะถึงจุด (B) คุณต้องอยู่ไม่เกินเกียร์ 2 (B) และเมื่อรถวิ่งเข้าหาจุด (C) รถสปอร์ตเรพพลิก้าทั้งหลายให้ลงเหลือเกียร์ 1 "เท่านั้น"
(http://image.ohozaa.com/in/bl286.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=ff62f23e9c8b7e8398d5dd4223ce7160)
เมื่อรถวิ่งมาถึงจุด (B) สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ไล่สายตาย้อนขึ้นไปมองหาจุดที่เห็นได้ไกลที่สุดอีกครั้งเพื่อดู"รถที่สวนทางลงมา" (มาถึงตรงนี้ ใครที่เรียนไรดิงส์คอร์สมาแล้ว คงจำได้ที่บรรดาครูฝึกมักจะย้ำเป็นประจำว่าให้ "หันทั้งหัวไปดู" อย่าแค่ใช้ลูกตาชำเลืองมอง)
(http://image.ohozaa.com/i4/ewdq7.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=a4d419eaee437b3697d2cdef182a6165)
ถึงจุด (C) จะเป็นช่วงที่รถช้าที่สุดของโค้งนี้ เกียร์ให้ใช้เกียร์ 1 ดังนั้นอย่าทะลึ่งไปทำเท่ห์ใช้ท่าขี่แบบ Hang On เด็ดขาด แต่ให้ใช้ Lean-With หรือ Lean Out เท่านั้น

เมื่อพ้นจุด (C) ให้ปรับท่าทางการขับขี่เล็กน้อยโดยโน้มตัวไปด้านหน้า ก่อนเพิ่มคันเร่งส่งขึ้นทางชัน โดยห้ามอัพเกียร์เป็นเกียร์ 2 จนกว่าจะเลยจุด (D) ไปแล้ว


และหลังจากจุด D เป็นต้นไปก็ใช้คันเร่งส่งขึ้นไปอย่างเดียว โดยให้สังเกตุอัตราการไต่ทางชันจะอัพเกียร์เพิ่ม หรือใช้เกียร์เดิมก็แล้วแต่ความเหมาะสมครับ ..
(http://image.ohozaa.com/iw/qd598.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=7488f79b4c29b5cad9b03c8acf11bde9)
ทำไมผมถึงแนะนำให้ใช้วิธีนี้ เพราะว่าตามกายภาพแล้วเรามีช่องให้วิ่งในถนนแบบนี้น้อยมาก ดังนั้นคุณต้องอาศัยส่วนประกอบอื่นๆ ของถนนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวคุณเอง..

ถ้าดูภาพนี้เส้นสีเหลืองคือไลน์ที่รถส่วนใหญ่จะวิ่งสวนลงมา โดยปกติไม่ว่าจะเป็นรถอะไรก็ต้องตัดไลน์ในตอนลงอยู่แล้ว วิธีการของผมที่แนะนำไปนี้ จะมีจุดตัดไลน์กับรถที่สวนลงมาแค่ 2 ตำแหน่ง

1.คือตำแหน่งก่อนเข้า V-Shave (A) ซึ่งเราจะอยู่มุมที่มองเห็นรถที่สวนมาได้โดยปลอดภัยเพราะมีระยะสายตาเพียงพอที่จะหลบหลีกได้

2.ตำแหน่งก่อนที่จะไต่ทางชันในจุดที่สอง (D) ซึ่งวิธีการใช้สายตาและไลน์อย่างที่ผมอธิบายนี้คุณจะเห็นรถที่สวนลงมาตั้งแต่รูปในคำตอบที่ 4 หรืออย่างเลวร้ายที่สุดก็รูปที่ 5 ซึ่งคุณจะมีเวลาเตรียมตัวแบบเหลือเฟือครับ

พูดได้ว่า... วิธีการนี้ก่อนจะถึงตำแหน่งของจุดตัดกับไลน์รถสวนที่ว่า คุณต้องใช้สายตากว้างและมองไกลกว่าวิธีการขี่แบบอื่นๆ ถึงจะปลอดภัย
(http://image.ohozaa.com/iy/vflw9.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=24066d0efacdda6c4e7bf88225e85037)
เมื่อซ้อนภาพตำแหน่งไลน์ของเราช่วงที่ไต่ทางชัน + มุมสายตาของเรา ซ้อนกับไลน์ของรถที่สวนมา.... น่าจะเห็นภาพง่ายขึ้น

สรุปสุดท้ายคือ... ที่เราต้องวิ่งตัดไลน์ในโค้งแบบนี้เพราะต้องการมุมเปิดสำหรับการไต่ทางชัน ซึ่งทำให้คุณต้องวิ่งกินเลนของรถสวนทางเพื่อหลีกเลี่ยงมุมอันตรายของโค้ง พูดอีกในอีกแง่หนึ่งคือเรายอมกินเลนก่อนถึงโค้ง เพื่อจะไม่ต้องบานกินเลนตอนออกโค้ง ซึ่งอันตรายกว่ามาก

วิธีการนี้จะประสบความสำเร็จก็ด้วยปรับการใช้สายตามองอย่างมีหลักอย่างที่กล่าวไปแล้ว จะช่วยให้คุณยังคงปลอดภัยตัดโอกาสที่จะชนกับรถที่สวนมาได้เกือบ 100% ด้วยการมองไกลขึ้นไปหาตำแหน่งรถที่วิ่งสวนทางลงมาล่วงหน้า และคุมระยะไม่ให้วิ่งผ่านจุดตัดไลน์ในเวลาที่คุณต้องส่งคันเร่งสวนทางกับรถที่ไหลลงมา

*** ปล. ย้ำอีกครั้ง เทคนิคนี้ ไม่เหมาะกับมือใหม่ครับ ***
(http://image.ohozaa.com/i9/mj710.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=bbea3242659afdfeb3fb994bad88a169)
... ขอเสริม โดยยกตัวอย่างประกอบ กระทู้นี้ซักอันนะครับ...


จากบิ๊กทริปที่ผ่านมา กรณีนี้เกิดขึ้นกับตัวผมเองสดๆร้อนๆ เป็นเรื่องเฮฮามาจนถึงทุกวันนี้

จะขอยกกรณีศึกษาเกี่ยวกับ V-Shave Curve เกี่ยวกับความผิดพลาดของตัวเอง

- จากรูป #1 เขตอันตรายในโซนสีแดงด้านซ้าย ถ้าเป็นโค้งปกติในแนวระนาบ เราจะสามารถเข้าไปได้ในจุดนั้นโดยตัดมุมในโค้งเข้าไป ซึ่งกรณีนี้ ผมเองกำลังเหนื่อยๆเพลียๆจากการที่เดินทางมาไกลก็ไม่ได้เช็คว่าเป็นทางชันขึ้นไปขนาดนั้น

- ไหลๆเข้าไปแบบตามๆโดยเข้าไปติดในช่วงโซนสีแดงด้านซ้ายซึ่งอยู่ในมุมที่หักและชันมาก

- ไม่ได้ลดเกียร์ลงจนถึงเกียร์1 เพราะไหลต่อเนื่องมาจากทางตรงๆที่ดูปกติ(ก่อนหน้านี้เราวิ่งมาตามทางที่วิ่งได้ตามปกติเข้าโค้งได้ปกติมาตลอด ยังไม่ได้ปรับตัวรับโค้งชันแถมยัง V-Shave)

- เนื่องจากรถสปอร์ตอาจจะมี Torque หรือแรงบิดที่ไม่ค่อยเข้ากับโค้งลักษณะนี้นัก(ส่วนนี้มีผลจากการที่ผมเลือกใช้เกียร์ไม่ถูกต้องด้วย) พยายามจะแก้ด้วยการลดเกียร์ลงให้ต่ำที่สุดแต่ก็ไม่ทัน

- มันจึง "ดับ" และเมื่อ "ดับ" ในมุมและองศาที่ชันขนาดนั้น เราจึงไม่สามารถถือรถอยู่ในสภาพนั้นได้ ซึ่งจะแก้อะไรก็ไม่ทันแล้ว ผลก็คือต้อง...

- "สละยาน"...!!!


*ดังนั้น สิ่งที่อยู่ในกระทู้นี้ ศึกษาไว้ป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างนั้นได้ครับ
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 10, 2010, 04:38:49 PM
เทคนิคการขับขี่ : การเบรก
(http://image.ohozaa.com/it/ngig1.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=1d190f1fb636770dd5a1ac6d8d582775)
(1) การเบรก เป็นเรื่องแรกที่ผมจะบรรยายในทุกๆคอร์ส

เบรกคืออุปกรณ์สำหรับความปลอดภัยที่สำคัญที่สุดสำหรับยานพาหนะ แต่น่าแปลกที่คนไทย (เท่าที่ผมเจอ) ให้ความสนใจเรื่องเบรกน้อยมาก พอสตาร์ทรถเป็น ออกตัวได้ก็ “ฉันขี่รถได้แล้วว้อยยย...” สนใจแต่ว่ารถคันนี้ความเร็วสูงสุดเท่าไหร่? เทียบกันรุ่นนั้นแล้วคันไหนแรงกว่า? ฯลฯ ไม่เคยมีใครสนใจว่าจะทำยังไงถึงจะหยุดรถได้ในระยะทางที่สั้นที่สุด หรือจะใช้เบรกในการคอนโทรลรถอย่างไร

เชื่อหรือไม่ว่าคนที่ขี่มอเตอร์ไซค์มากกว่า 50% ใช้เบรกไม่ถูกต้อง!!!

ตั้งแต่ผมเริ่มขี่มอเตอร์ไซค์มา ได้รู้จักกับผู้ขี่มากมายหลากหลายทั้งรถเล็ก รถใหญ่ ทั้งเพิ่งเริ่มขี่จนถึงขี่มาเป็น 10 ปี มีหลายสาเหตุที่ทำให้คนเหล่านั้นใช้เบรกไม่ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีคนสอนเลยหัดเองและคิดว่าถูกต้องแล้วจึงทำแบบนี้มาตลอด, มีคนสอนแต่คนที่สอนเองก็ทำไม่ถูกเลยพาลผิดกันต่อไป, ฯลฯ คราวนี้เราลองมาดูกันว่าผลที่ได้ (ซึ่งมันผิด) มีอะไรบ้าง

• ใช้เบรกหลังเป็นหลัก (ใช้เบรกหน้าน้อยมากหรือแทบไม่ใช้เลย)
• กำคลัทช์เวลาเบรก
• เข้าใจว่าเบรกหน้าแล้วจะทำให้รถพับล้ม หรือตีลังกา
• เข้าใจว่าเบรกจนล้อล็อกเป็นการเบรกที่ดี

เหล่านี้คือความเข้าใจที่ผิดทำให้การเบรกไม่ถูกต้อง จึงต้องใช้ระยะทางเบรกมากกว่าที่ควร ซึ่งอาจไม่เพียงพอในสถานการณ์คับขันและเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ เอาหล่ะ... เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเรามาดูกันเลยดีกว่าว่าเบรกที่ดี ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
(http://image.ohozaa.com/iu/xx5u2.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=ac1306eb840229fb1033d79b6bd0bacf)
(2) ภาพจำลอง การกดเบรกหน้าอย่างเดียว
(http://image.ohozaa.com/i4/lhen3.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=f7d81a077b03ace2ca8557f4590bd8a4)
(3) ภาพจำลอง การกดเบรกหลังอย่างเดียว

โดยหลักๆ แล้ว เบรกแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1. เบรกหน้า (Front Brake)
เป็นเบรกที่ให้ประสิทธิภาพในการหยุดรถดีที่สุด แต่จะทำให้รถเสียความสมดุล : จาก ภาพที่(2) จะเห็นว่าจากตำแหน่งของรถและผู้ขี่ในสภาวะปกติ(ภาพลายเส้นสีฟ้า) เมื่อกดเบรกหน้า น้ำหนักเกือบทั้งหมดของรถจะถูกเหวี่ยงมาด้านหน้าผ่านโช้คลงไปสู่ล้อหน้า (นี่แหละที่มาของคำว่า “เบรกหัวทิ่ม”) ณ จุดนี้จึงเป็นการลดความเร็วของรถทั้งคันอย่างแท้จริง (เพราะมันมารวมอยู่ที่ล้อหน้าเกือบหมดแล้ว) แต่ด้วยน้ำหนักดังกล่าวนี้เองทำให้ช่วงหน้าหนักเป็นผลให้รถเลี้ยวยาก

2. เบรกหลัง (Rear Brake)
ให้ประสิทธิภาพในการเบรกน้อยกว่า แต่รถมีความสมดุลมากกว่า : จาก ภาพที่(3) เนื่องจากเมื่อกดเบรกหลังจะมีน้ำหนักบางส่วนกดลงมาที่ล้อหลังแต่ส่วนใหญ่จะยังคงถูกเหวี่ยงไปยังด้านหน้าของรถตามแรงโมเมนตัม ณ จุดนี้จึงเป็นการลดความเร็วเพียงบางส่วนของทั้งหมด เพราะความเร็วส่วนที่เหลือได้ถ่ายไปยังด้านหน้ารถ (ฉะนั้นถึงแม้เบรกจนล้อหลังล็อค รถก็ยังคงวิ่งต่อไปได้ด้วยล้อหน้า) ทำให้ใช้ระยะทางในการเบรกมากกว่า แต่นี่เองทำให้น้ำหนักของรถกระจายไปยังล้อหน้า-หลังอย่างสมดุลเป็นผลให้ควบคุมรถในขณะเบรกได้ง่าย

วิธีการเบรกที่ถูกต้องจะใช้เบรกหน้าและหลังเป็นหลัก และจากคุณสมบัติของเบรกที่กล่าวมาข้างต้นเราจึงสามารถสรุปได้ว่า การเบรกที่ดีควรให้น้ำหนักการกดเบรกหน้าประมาณ 70-80% และหลังประมาณ 20-30% และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรกดเบรกหลังก่อนเล็กน้อยเพื่อการกระจายน้ำหนักและประสิทธิภาพการเบรกที่ดีกว่า แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ให้กดพร้อมกันเลย
(http://image.ohozaa.com/is/h6il4.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=6fb68c27c590ee5e19bfb8bd8cba1af4)
(4) ภาพจำลองระยะเบรก ที่ความเร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ล้อไม่ล็อค)
(http://image.ohozaa.com/ip/jvp35.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=62fd20ae057a1530188dee635367cef7)
(5) ภาพแสดงการถ่ายน้ำหนักของรถ เมื่อเกิดการเบรก - โปรดสังเกตุบริเวณยางที่ถูกน้ำหนักกดลงบนพื้นถนน

ทำไมต้องกดเบรกหลังก่อน ?
จากหลักการที่เขียนไว้ข้างต้นลองดู ภาพที่(5) แล้วนึกตามนะครับ ถ้าเรากดเบรกหน้าก่อน น้ำหนักส่วนใหญ่จะถูกเหวี่ยงมาที่ล้อหน้า(มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักการกดเบรก) ฉะนั้นที่ล้อหลังก็จะไม่มีน้ำหนักกดอยู่หรือมีก็เพียงเล็กน้อย ทำให้หน้าสัมผัสยางกับพื้นถนนมีน้อย ดังนั้นเมื่อเรากดเบรกหลังในจังหวะต่อมาจึงแทบไม่ได้ช่วยลดความเร็วของรถแต่อย่างใด (เหมือนยางลบซึ่งถ้าไม่ออกแรงกดมันก็จะไม่ฝืด ทำให้ถูไถลได้ง่าย) ซึ่งในกรณีนี้ไม่ต่างอะไรกับการใช้เบรกหน้าเพียงอย่างเดียว ..........

แต่ถ้าเรากดเบรกหลังก่อน
น้ำหนักบางส่วนจะกดไปยังล้อหลังทำให้การเบรกนี้ช่วยชะลอความเร็วได้ในระดับหนึ่งก่อนที่น้ำหนักดังกล่าวจะถูกส่งไปด้านหน้ารถตามโมเมนตัม ซึ่งเมื่อกดเบรกหน้าในจังหวะต่อมาหลังจากความเร็วได้ลดลงมาบ้างแล้ว ทำให้ระยะเบรกที่ได้สั้นกว่าการเบรกหน้าเพียงอย่างเดียว อีกทั้งบาลานซ์ของรถก็ดีกว่าเพราะมีน้ำหนักกดอยู่ทั้ง2ล้อ

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการเบรก

“เบรกหน้าแล้วจะทำให้รถพับล้ม หรือตีลังกา…!!!” นี่คือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนขี่มอเตอร์ไซค์บ้านเราใช้เบรกหลังเป็นหลัก(ซึ่งไม่ถูกต้อง)... สาเหตุหลักอย่างนึงที่ทำให้คิดแบบนี้คือมีประสบการณ์จากการขี่จักรยาน ที่เมื่อกดเบรกหน้าอย่างกระทันหันจะทำให้หน้าทิ่มจนล้อหลังลอยขึ้นจากพื้นหรือรถพับล้ม แต่ผมยืนยันได้เลยว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้ยากกับรถมอเตอร์ไซค์เพราะ 1.น้ำหนักมากกว่า(เยอะ)
2.มีโช้คอัพหน้าคอยซับแรง(น้ำหนัก)
ที่ถูกถ่ายมาเมื่อทำการเบรก ฉะนั้นไม่ต้องกลัวครับ มันไม่ล้มง่ายอย่างที่คุณคิดหรอก!

งั้นเรามาลองฝึกกันซะหน่อยดีมั๊ย... ในช่วงเริ่มต้นหัดใช้เบรกหน้าอาจจะยังไม่ชินจึงรู้สึกว่าเวลาเบรกรถจะมีอาการหน้าทิ่ม (ซึ่งมันก็ไม่ต่างจากเวลาคุณหัดขับรถยนต์แล้วลองเบรกหรอกครับ ผมรับรองได้ร้อยทั้งร้อยหัดขับครั้งแรกก็เบรกหัวทิ่มทุกคน) ที่เป็นเช่นนั้นเพราะคุณใช้น้ำหนักในการกดเบรกมากเกินไปหรืออาจกดเร็วเกินไป วิธีแก้คือฝึกใช้เบรกหน้าบ่อยๆเพื่อหาน้ำหนักการกดเบรกที่เหมาะสม โดยเริ่มต้นจากค่อยๆกด ช้าๆ อย่ากดอย่างกะทันหัน แรกๆอาจใช้ระยะทางมากหน่อยแต่เมื่อคุณเริ่มชินกับน้ำหนักเบรกและมีความมั่นใจมากขึ้น คุณจะสามารถเบรกได้ในระยะทางที่สั้นและนุ่มนวล

เอี๊ยดดด!!!............ อยู่???” (การเบรกจนล้อล็อก) เสียงยางถูกับถนนอาจทำให้บางคนรู้สึกว่าเป็นเสียงของการเบรกที่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว เสียงนี้คือสัญญาณอันตรายที่บอกคุณว่า “เบรกไม่อยู่แล้วโว้ย...สละยาน!!!” เพราะเสียงนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราเบรกจนล้อหยุดหมุนหรือล้อล็อคโดยที่รถยังคงวิ่งอยู่ (กรณีนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากการกดเบรกหลัง เพราะถ้าคุณกดเบรกหน้าจนล็อคหล่ะก็ผมว่าตอนนั้นตัวคุณคงลอยอยู่กลางอากาศแล้ว...) นั่นหมายความว่าเบรกไม่ได้ทำหน้าที่ในการชะลอความเร็วอีกต่อไปเพราะล้อหยุดหมุนแล้ว แต่รถยังคงไถลไปตามแรงเหวี่ยงจากความเร็วที่วิ่งมา โดยเสียง”เอี๊ยด” ดังกล่าวเกิดจากการที่ยางถูกถูไถลไปกับพื้นถนน ส่วนจะไถลไปไกลขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าก่อนที่ล้อจะล็อคนั้นความเร็วอยู่ที่เท่าไหร่ ถ้าเร็วน้อยก็ไถลไปพอขำๆ แต่ถ้าเร็วมากก็คงจะต้องมาดูกันอีกทีครับว่ารถกะคนขี่ อะไรจะไถลไปได้ไกลกว่ากัน!!!...
(http://image.ohozaa.com/i5/vivi6.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=9fe0e41ae24224de0789d7e39525669e)
(6) การทดสอบระยะเบรกโดยใช้เบรกหลังอย่างเดียวให้ล้อล็อค

ลองดูใน ภาพที่(6) ซึ่งเป็นการทดลองเบรกจนล้อหลังล็อค แล้วทำการเช็คระยะทางที่ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยให้ผู้ขี่ 3 คนทดลองเบรกจนล้อหลังล็อคที่ความเร็วสองระดับ

ผลที่ได้คือ

- ความเร็ว 48 กม./ชม. ระยะเบรกเฉลี่ย 40.5 เมตร
- ความเร็ว 80 กม./ชม. ระยะเบรกเฉลี่ย 128.5 เมตร

จะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบกับการเบรกแบบล้อไม่ล็อคใน ภาพที่(4) ระยะทางที่ได้ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด (ความเร็ว 60 กม./ชม. ใช้ระยะทางเพียง 35 เมตร) นั่นแสดงว่าไอ้การเบรกจนล้อล็อคเนี่ยเป็นการเบรกที่ไม่มีประสิทธิภาพ (ไม่งั้นเค้าคงไม่คิดระบบ ABS ขึ้นมาใช้หรอก จิงมะ) ฉะนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ดังกล่าวเราจึงควรฝึกเบรกบ่อยๆ ทั้งหน้าและหลังเพื่อหาว่า เราจะสามารถกดเบรกได้มากที่สุดเท่าไหร่โดยที่ล้อจะไม่ล็อค

“กำคลัทช์เวลาเบรก”
อันนี้เดาว่าน่าจะมาจากการที่คนขี่กลัวรถจะดับ สำหรับท่านที่เคยหัดขี่รถมอเตอร์ไซค์มีคลัทช์คงจะจำกันได้ถึงตอนที่เราหัดขี่แรกๆ พอเบรกเพื่อจอดรถแล้วลืมบีบคลัทช์นี่รถมันจะกระตุกแล้วพาลจะล้มตลอด(ซึ่งเป็นอะไรที่เสียฟอร์มมาก) ดังนั้นเพื่อป้องกันการผิดพลาดเราเลยกำคลัทช์พร้อมเบรกซะเลย... ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผิดในการเบรกเพราะเมื่อกำคลัทช์รถจะไม่มีเอนจิ้นเบรก ทำให้รถยิ่งไหลเร็วขึ้น จึงต้องใช้ระยะเบรกมากขึ้นและยังทำให้ล้อล็อคได้ง่ายกว่าปกติด้วย

** ข้อควรจำสำหรับการใช้คลัทช์
โดยปกติเราจะใช้คลัทช์เพื่อเปลี่ยนเกียร์ หรือป้องกันรถดับที่ความเร็วต่ำๆเท่านั้น เช่นก่อนการหยุดหรือจอดรถ (0-10 กม./ชม.)

เอาหล่ะสำหรับเรื่องเบรกเบื้องต้น ก็ขอเอาไว้เท่านี้ก่อนนะครับ หวังจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับบางคนที่ยังไม่รู้หรืออาจจะเป็นการฟื้นความจำสำหรับบางคนที่เคยรู้แต่ลืมๆ ไปบ้าง และที่สำคัญถ้ามีโอกาสก็ควรจะหาเวลาไปฝึกฝนบ้างนะครับ เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง แล้วเจอกันคอลัมน์หน้านะคร้าบ...
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 10, 2010, 05:03:16 PM
เทคนิคการขับขี่ : ว่าด้วยเรื่องท่านั่ง

คุณลองขยับเก้าอี้ทำงานจากตำแหน่งปกติของมันไปซักคืบ แล้วดูซิว่าคุณรู้สึกยังไง? บางคนอาจทนได้แต่คุณก็ทำงานได้ไม่ถนัดเหมือนปกติ ในขณะที่บางคนอาจถึงขนาดทำงานไม่ได้เลย นั่นแสดงให้เห็นว่าท่านั่งที่ถูกต้องและเหมาะสมกับตัวคุณจะทำให้คุณรู้สึกอิสระ, คล่องตัว และสามารถใช้ร่างกายได้อย่างที่ต้องการ

เช่นเดียวกันกับท่านั่งในการขี่มอเตอร์ไซค์ ที่อาจฟังเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ พื้นๆ ซึ่งหลายคนไม่ได้ให้ความสนใจ แต่จริงๆแล้วมันมีส่วนสำคัญในการที่จะทำให้เราควบคุมรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งป้องกันความเมื่อยล้าอันเกิดจากการขับขี่ทางไกลอีกด้วย เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปดูกันทีละข้อเลยแล้วกัน
(http://image.ohozaa.com/is/3k002.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=b6c8d612f9c8dcf6e06f5e4445016cd7)
1. หลัง

จะเห็นว่าโดยปกติกระดูกสันหลังของคนเราจะเป็นรูปคล้ายตัวเอส (S) ซึ่งนั่นคือตำแหน่งที่ดีที่สุดที่กระดูกจะทำหน้าที่รับน้ำหนักตัว อันเป็นท่านั่งที่ถูกต้องทำให้เราไม่เมื่อยล้า ในการขี่มอเตอร์ไซค์ก็จะใช้หลักการเดียวกันคือพยายามรักษารูปทรงตัวเอสไว้ แต่เนื่องจากรถมอเตอร์ไซค์มีหลายประเภทท่านั่งจึงอาจมีความแตกต่างกันไปบ้างตามวัตถุประสงค์ของรถ สังเกตได้จาก ภาพที่(1) แต่อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าลักษณะของกระดูกสันหลังยังคงเป็นรูปตัวเอสดังที่กล่าวมาข้างต้น

ถ้าหลังอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดความเมื่อยล้าได้เร็ว อันจะเป็นการสร้างความเครียดในการขี่โดยเฉพาะในการขี่เพื่อเดินทางไกล อีกทั้งยังทำให้บังคับรถได้ไม่คล่องตัวอีกด้วย ที่พบเห็นกันบ่อยๆ คือ

หลังแอ่น: ทำให้เมื่อยช่วงเอวเหนือสะโพก และบังคับรถยากเพราะตัวอยู่ห่างจากรถโดยเฉพาะที่ความเร็วสูง (เพราะต้านลม) อีกทั้งยังส่งผลกระทบไปถึงแขนที่จะอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องอีกด้วย

หลังโก่ง: ทำให้เมื่อยช่วงบ่า, หัวไหล่ และปีก (หลังส่วนบน) ซึ่งจะล้าได้เร็วกว่าแบบแรก อีกทั้งยังมีส่วนทำให้ศรีษะก้มต่ำกว่าตำแหน่งปกติ จึงมีทัศนวิสัยในการมองเห็นต่ำอีกด้วย 

เช่นเดียวกันกับท่านั่งในการขี่มอเตอร์ไซค์ ที่อาจฟังเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ พื้นๆ ซึ่งหลายคนไม่ได้ให้ความสนใจ แต่จริงๆแล้วมันมีส่วนสำคัญในการที่จะทำให้เราควบคุมรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งป้องกันความเมื่อยล้าอันเกิดจากการขับขี่ทางไกลอีกด้วย เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปดูกันทีละข้อเลยแล้วกัน
(http://image.ohozaa.com/io/0c003.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=10e072cd730f5fae8f8ec3fe4bf215f6)
2. ไหล่

จริงๆแล้วข้อนี้ดูไม่น่าจะมีรายละเอียดอะไรมากเพราะด้วยท่านั่งในการขี่มอเตอร์ไซค์ทำให้ไหล่ขยับได้น้อย แต่เวลาเกิดอาการปวดเมื่อยจากการขับขี่ ไหล่จะอยู่ในอันดับต้นๆทีเดียว ซึ่งปัญหานี้มักจะเกิดกับผู้ขี่ที่วางแขนอยู่ในลักษณะตึงเกินไป และพบบ่อยในผู้ที่ขี่รถสปอร์ต เนื่องจากจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่โน้มตัวไปข้างหน้า โดยเฉพาะที่ความเร็วสูงเพื่อก้มหลบลมและบังคับรถ ทำให้หลายคนเกร็งแล้วยกไหล่ขึ้นและอาจห่อไหล่เข้าหากันโดยไม่รู้ตัว (เครียดจากความเร็ว)

วิธีแก้เมื่อรู้สึกเกร็งบริเวณไหล่คือ หายใจเข้าลึกๆ พร้อมกับยกไหล่ขึ้นให้สุด เสร็จแล้วหายใจออกพร้อมทิ้งหัวไหล่ปล่อยลงในตำแหน่งปกติ แล้วย้ายความรู้สึกไปที่หลังบริเวณเอวซึ่งเป็นจุดที่ใช้รับน้ำหนักตัว ดังเช่น ภาพที่(3)

ส่วนวิธีป้องกันคือ เวลาขี่ควรให้ไหล่อยู่ในตำแหน่งปกติ ปล่อยน้ำหนักลงตามสบาย (เหมือนเวลาคุณนั่งเก้าอี้) อย่าทิ้งน้ำหนักมาที่แขนหรือบริเวณบ่า และที่สำคัญ “อย่าขี่เร็ว” อย่างที่เขียนไว้ข้างบนว่าการที่เราตั้งไหล่ขึ้นหรือห่อไหล่เข้าหากัน เป็นเพราะเครียดจากความเร็ว ลองถามตัวเองดูซิว่า... จะรีบไปไหน?? จุดหมายมันไม่ได้วิ่งหนีคุณอยู่นะ มันก็อยู่ที่เดิมของมันนั่นแหละ ค่อยๆขี่ไปเรื่อยๆ ในความเร็วที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง มันก็ถึงเหมือนกัน... คุณว่ามั๊ย?
(http://image.ohozaa.com/ig/mk004.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=88ee04944e2ca30b712ed78083a3a6ad)
3. แขน

แขน เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการควบคุมรถ โดยในความเร็วต่ำแขนจะทำหน้าที่ในการเลี้ยวรถ ส่วนในความเร็วสูงจะทำหน้าที่เหมือนกันสะบัด คือควบคุมช่วงหน้ารถให้นิ่ง และช่วยลดอาการ “ชกมวย” เมื่อล้อหน้าลอยจากพื้น โดยจะทำหน้าที่ซับแรงสะบัด (ชกมวย) จากแฮนด์ที่จะส่งไปถึงตัวผู้ขี่ไม่ให้ถูกดีดลอยออกจากรถ ...ในการขับขี่ทั่วไปแขนควรจะอยู่ในลักษณะผ่อนคลาย ไม่เกร็ง โดยผู้ขี่วางมือลงบนแฮนด์และปล่อยน้ำหนักของแขนลงที่มือ (ไม่ใช่ออกแรง “กด” ) งอข้อศอกออกด้านข้างเล็กน้อยเพื่อไม่ให้แขนตึง แขนจะมีลักษณะโค้งเมื่อมองจากด้านบนดังภาพที่(4) เมื่อทำมาถึงจุดย้ำกับตัวเองอีกครั้งว่า “อย่าเกร็ง”

ลักษณะของแขนที่ผิดมีให้เห็นบ่อยครั้งและมีผลต่อการบังคับควบคุมรถ โดยบางคนอาจไม่รู้ตัว บางคนไม่เห็นความสำคัญของตำแหน่งที่ถูกต้องและอาจคิดว่า “ก็ตูขี่อย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไร ไม่เห็นเป็นไรนี่หว่า...” งั้นเรามาลองดูกันว่าลักษณะที่ผิดมีอะไรบ้างและจะเกิดผลเสียอย่างไร

3.1 แขนตึง (ภาพที่(5))
อันนี้เห็นบ่อยที่สุดสาเหตุอาจเป็นเพราะนั่งหลังแอ่น หรือ ทิ้งน้ำหนักตัวมาที่มือมากเกินไป หรือ มีช่วงแขนสั้น ฯลฯ ซึ่งจะมีผลเสียตามมาหลายประการคือ

- เลี้ยวยาก : โดยเฉพาะในความเร็วต่ำ เพราะเมื่อแขนตึงก็เหมือนกับแขนถูกล็อกทำให้หักแฮนด์เลี้ยวได้น้อยและรู้สึกฝืนๆ วงเลี้ยวจึงกว้างแม้ในความเร็วต่ำ

- คุมคันเร่งและเบรกลำบาก : เมื่อแขนตึงน้ำหนักจะถูกกดลงมาที่ฝ่ามือ ทำให้ข้อมือถูกล็อคไม่สามารถขยับได้เหมือนปกติการควบคุมคันเร่งและเบรกจึงทำได้ยาก

.- เมื่อรถสะบัด... มีสิทธิ์กระเด็น !!! : สมมุติว่ารถมีอาการสะบัดหรือดีดที่ล้อหน้า (เช่น เมื่อตกหลุมหรือกระแทกวัตถุบนพื้นถนนที่ความเร็วสูง) แขนที่เหยียดตึงก็ไม่ต่างอะไรจากท่อนไม้ที่ต่อจากแฮนด์ตรงมายังตัวผู้ขี่ ดังนั้น แรงดีดดังกล่าวจึงถูกส่งมาถึงตัวคุณ 100%!!! แล้ววินาทีต่อจากนั้น... “เหินฟ้า” สิคับทั่น

- ปวดข้อมือ : อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าเมื่อแขนตึงน้ำหนักจะถูกกดลงไปที่ฝ่ามือ นั่นหมายความว่าน้ำหนักตัวช่วงบนจะมารวมอยู่ที่บริเวณข้อมือ ทำให้รู้สึกปวดเมื่อยหากต้องขี่รถเป็นเวลานาน

- ปวดหลัง : เมื่อแขนเหยียดตึงทำให้หลังมีลักษณะ”แอ่น”ตามไปด้วย (ก้มไม่ได้เพราะแขนค้ำอยู่) ข้อนี้จะเห็นผลชัดมากในผู้ขี่ที่ตัวสูง หรือแขนยาว
(http://image.ohozaa.com/iv/lo006.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=ad1e5ecd8e56dba6940040c327314337)
3.2 แขนโก่ง (ภาพที่(6))
อันนี้มีให้เห็นบ้าง โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนขี่มือใหม่ที่ยังหาท่าที่เหมาะกับตัวเองไม่ได้หรืออาจเป็นเพราะยังเกร็งอยู่ แต่ส่วนใหญ่อาการนี้จะหายไปเองเพราะทนเมื่อยไม่ไหว ซึ่งเป็นข้อเสียเพียงอย่างเดียวของท่านี้ โดยอาการเมื่อยที่ว่าจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ขี่ (อย่างต่อเนื่อง) ถ้าขี่ในเมืองเล็กๆน้อยๆ อาจไม่ค่อยรู้สึก แต่ถ้าขี่เดินทางไกลจะรู้สึกเมื่อยล้าอย่างชัดเจน ซึ่งหากเป็นมากอาการเมื่อยล้าจะลามไปถึงหัวไหล่และบ่า
(http://image.ohozaa.com/ij/vl005.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=19e3ab2586b347ec95f54303ff335789)
4. มือ-ข้อมือ

มือ - เป็นส่วนสำคัญในการคุมความเร็วของรถ โดยเฉพาะมือขวาเพราะต้องคุมทั้งคันเร่งและเบรกหน้า (ซึ่งเป็นเบรกหลัก) ดังนั้นการวางตำแหน่งมือที่ดีจะทำให้เราสามารถควบคุมความเร็วของรถได้อย่างต้องการ ในทุกสถานการณ์

การวางตำแหน่งมือที่ดีจะทำให้สามารถจับแฮนด็ได้อย่างกระชับ ไม่เกร็ง และสามารถขยับข้อมือได้อย่างอิสระ โดยรูปแบบที่นิยมใช้ทั่วไปคือการจับแบบ V-Grip คือนิ้วโป้งกับนิ้วชี้จะมีลักษณะเหมือนตัว V โดยที่มีแฮนด์อยู่กึ่งกลาง (ภาพที่(7)) ซึ่งการจับแบบนี้จะเป็นแบบเดียวกับที่เราใช้ในการจับแร็กเก็ตต่างๆ เช่นไม้เทนนิส, ไม้แบดฯ, ไม้ปิงปอง, ฯลฯ หรือแม้กระทั่งไม้กอล์ฟ โดยในตำแหน่งนี้จะทำให้ข้อมือสามารถขยับ, หมุน หรือบิดได้ดีที่สุด และเป็นตำแหน่งที่นิ้วอยู่ใกล้กับก้านเบรก, ก้านคลัทช์มากที่สุดด้วย

ลักษณะการวางมือที่ผิดเห็นได้ชัดคือ การกำแฮนด์เหมือนกำหมัด ดังในภาพที่(8) ลักษณะนี้ข้อมือจะถูกล็อคทำให้ขยับไม่สะดวก (ขยับได้ในมุมจำกัด) และยังมีผลให้ออกแรงกำแฮนด์มากเกินไปจึงเกิดความเมื่อยล้าบริเวณฝ่ามือ การกำแบบนี้จึงเหมาะสำหรับการยกของหรือการชกมากกว่า

ข้อมือ - เมื่อวางมือลงบนแฮนด์แล้วข้อมือควรอยู่ในลักษณะที่งอเพียงเล็กน้อยเพราะถ้าหากอยู่ในลักษณะหักงอมากดังในภาพที่(9) จะทำให้คุณไม่สามารถใช้คันเร่งได้ และจะรับภาระอย่างมากเมื่อเกิดการเบรก เพราะน้ำหนักที่ถ่ายมาด้านหน้ามาลงที่บริเวณข้อมือ ทำให้เกิดความเมื่อยล้าได้เช่นกัน
(http://image.ohozaa.com/iu/sj008.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=58e56264f89984f382412aaf54395e01)
การจับแบบกำหมัด จะทำให้ข้อมือถูกล็อคจนไม่สามารถใช้คันเร่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(http://image.ohozaa.com/ih/qo009.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=84ddcda521212e2c0ac45e57952ea6cc)
ข้อมือไม่ควรหักงอมาก เพราะมีผลต่อการใช้คันเร่งเช่นกัน
(http://image.ohozaa.com/ir/jz010.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=3df0e9ebe2d9187d0d776fc2dd63f218)
5. ขา-เท้า

.ขาและเท้ามีความสำคัญมากในการควบคุมรถไม่ว่าจะเป็นการเบรก การทรงตัว และโดยเฉพาะการเลี้ยว เพราะเมื่อรถวิ่งคุณจะไม่สามารถหักแฮนด์เพื่อเลี้ยวได้เหมือนเวลารถจอดอยู่เฉยๆ หรือที่ความเร็วต่ำมากๆ ซึ่งการเลี้ยวดังกล่าวจะต้องใช้การถ่ายน้ำหนักเป็นตัวช่วยเพื่อดึงรถให้เข้ามาในเส้นทางที่เราต้องการ ขาและเท้าจึงต้องทำหน้าที่ในการล็อคตัวผู้ขี่ให้อยู่กับรถและเพื่อการถ่ายน้ำหนัก คราวนี้เรามาดูในแต่ละจุดว่ามีอะไรบ้าง ..........

ขาหนีบถัง
ตำแหน่งที่ถูกต้องของขาควรจะอยู่แนบชิดกับถังน้ำมัน (แต่ไม่ถึงขนาดเกร็งหรือหนีบตลอดเวลา) เพราะเป็นจุดที่ขาสามารถล็อคกับตัวรถได้ดีที่สุด เพื่อความกระชับ, มั่นคงพร้อมสำหรับหรับการควบคุมรถในสถานการณ์ต่างๆ เช่น

• เมื่อเบรก – ผู้ขี่ต้องออกแรงหนีบถัง เพื่อล็อคไม่ให้ตัวไถลไปข้างหน้าอันจะเป็นการสร้างภาระให้แขนและมือ ซึ่งจะมีผลต่อกับบังคับทิศทางของรถในขณะเบรก สังเกตุในภาพผู้ขี่เบรกหน้าอย่างแรงจนล้อหลังลอยแต่น้ำหนักไม่ได้อยู่ที่แขนเลย (แขนงอปกติ) เพราะใช้ขาหนีบถังล็อคตัวไว้นั่นเอง

• เมื่อเข้าโค้งความเร็วต่ำ - ขาที่หนีบถังโดยเฉพาะด้านนอกของโค้งจะช่วยให้ผู้ขี่สามารถคุมการเอียงของรถได้อย่างมั่นใจ โดยปล่อยให้แขนและมือเป็นตัวควบคุมทิศทางและความเร็วของรถ

• เมื่อเข้าโค้งความเร็วสูง – ขาที่หนีบถังจะล็อคตัวผู้ขี่ให้มั่นคงในตำแหน่งที่ต้องการ และในกรณีการโหนรถ (Hang On) ผู้ขี่จะใช้ขาด้านนอกเพื่อเกี่ยวตัวขณะโหนรถ ตำแหน่งขาที่กระชับจะทำให้คุณโหนได้แบบ ชะนีเรียกพี่เลยหล่ะ

**ลักษณะการวางขาที่ผิดที่เห็นประจำ**
คือ ขาแบะออกจากตัวรถ ลักษณะดังกล่าวนี้จะทำให้คุณไม่สามารถใช้ลำตัวช่วงล่าง (ตั้งแต่เอวถึงข้อเท้า) ในการควบคุมรถได้เลย ดังนั้นภาระในการควบคุมรถเกือบทั้งหมดจะตกไปสู่แขนและมือทันที นี่แหละคือสาเหตุที่ว่า เวลาขี่รถบนเขาหรือถนนที่มีโค้งเยอะๆ ติดๆกัน แล้วคุณปวดมือ ปวดแขน และที่เด็ดกว่านั้นเวลาที่รถตกหลุมหรือล้อกระแทกวัตถุใดๆบนพื้นถนนโดยที่คุณไม่ได้ตั้งตัว น้องชายและบริวารทั้งสองของคุณจะกระแทกเข้ากับถังน้ำมันแบบ”เน้นๆ”...อูยยยยส์.... พระเจ้ายอด มันจอร์จมาก!!!!

เท้าวางบนพักเท้า
ตำแหน่งที่ถูกต้องควรวางกึ่งกลางเท้าบนพักเท้า โดยให้ส่วนปลายของเท้าวางอยู่บนคันเกียร์ (ข้างซ้าย) และคันเบรก (ข้างขวา) และปลายเท้าทั้ง 2 ข้างชี้ไปด้านหน้ารถ ซึ่งหากมองจากด้านข้างจะเห็นว่าข้อเท้าจะทำมุมประมาณ 90 องศา อันเป็นลักษณะเดียวกับเวลาเรายืนปกติ.... การวางเท้าในตำแหน่งที่ถูกต้องจะช่วยให้เราสามารถถ่ายน้ำหนักตัวเวลาเข้าโค้งได้อย่างรวดเร็ว เปลี่ยนเกียร์และใช้เบรกหลังได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
(http://image.ohozaa.com/i4/7k012.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=ebd6ec74017e1dbf1ef8eb63aa1e3082)
**ลักษณะการวางเท้าที่ผิด**
นี่ก็มีให้เห็นประจำเหมือนกัน อาจะเป็นเพราะผู้ขี่ไม่ได้คิดว่าจะมีผลกระทบกับการขับขี่ หรืออาจเป็นความเคยชินที่วางเท้าแบบนี้ตั้งแต่เริ่มแรกก็เลยไม่คิดจะเปลี่ยน ไม่รู้แหละเหตุผลของใครของมัน เอาเป็นว่ามาลองดูแล้วกันว่ามีอะไรบ้าง

X ปลายเท้าอยู่ใต้คันเกียร์/เบรก
ผลเสียที่จะเกิดขึ้นอย่างแรกเลยคือคุณจะไม่สามารถใช้เบรกหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากเท้าอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว เมื่อคุณต้องการเบรกก็จะต้องเลื่อนเท้าออกจากตำแหน่งนั้นแล้วยกขึ้นมาไว้เหนือคันเบรก (นี่เสียเวลาไปแล้วหน่อยนึง) ณ จุดนี้เองเท้าจะ ”ลอย” อยู่เหนือเบรก ทำให้เราไม่สามารถกะน้ำหนักที่จะกดลงไปบนเบรกได้ว่าควรจะออกแรงมากน้อยเท่าไหร่ ข้ามมาดูเท้าที่อยู่ฝั่งเกียร์กันบ้าง โอเค..ตำแหน่งนี้บางคนอาจจะบอกว่าทำให้เปลี่ยนเกียร์ขึ้นได้เร็ว (เพราะเท้าอยู่ในตำแหน่งรองัดเกียร์แล้ว) แต่ผมถามหน่อย...ในการขี่ปกติ ระหว่างเปลี่ยนเกียร์ขึ้นเพื่อเพิ่มความเร็ว กับลดเกียร์ลงเพื่อลดความเร็ว อันไหนสำคัญกว่ากัน? สมมุติในกรณีที่เราจะต้องเชนจ์เกียร์ลงเพื่อลดความเร็ว (อย่างเช่นในกรณีขี่ลงเขา) หากเท้าอยู่ใต้คันเกียร์เราจะต้องเสียเวลายกเท้ามาไว้ข้างบน ที่สำคัญกว่านั้นในจังหวะที่ยกเท้า หากยกพลาดไปแตะโดนคันเกียร์เข้า (ซึ่งเจอบ่อย) แทนที่รถจะลดความเร็วลงกลับยิ่งพุ่งเร็วขึ้น ถึงนาทีนั้นก็ตัวใครตัวมันนะคร้าบบบบ...

X ปลายเท้าแบะออกด้านข้าง
ลองนั่งแยกขาแล้วแบะปลายเท้าออกจากกัน คุณจะหนีบเข่าชนกันไม่ได้!!! ดังนั้นหากนั่งแบะปลายเท้าออกด้านนอก คุณจะไม่สามารถนั่งหนีบถังน้ำมันได้ นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่หลายคนแม้พยายามจะนั่งหนีบถังแต่พอลืมตัวขาก็จะแบะทุกที สาเหตุเป็นเพราะวางเท้าไม่ถูกนี่แหละ ผลเสียก็อย่างที่เขียนไว้ในข้อ การนั่งแบะขาที่ได้อ่านไปแล้ว.

ส่วนข้อเสียอีกข้อนึงก็คือขณะเข้าโค้งหรือเลี้ยว ซึ่งรถจะต้องเอียงเข้าหาพื้น มีโอกาสสูงที่ปลายเท้าจะโดนพื้น ซึ่งค่อนข้างอันตรายสำหรับมือใหม่ เพราะอาจจะตกใจแล้วตั้งรถขึ้น ทำให้รถบานออกนอกไลน์แล้วเกิดการแหกโค้งได้

สำหรับปัญหาเรื่องปลายเท้าเนี่ยผมเคยเจอกับตัวเองคือ ผมวางส่วนปลายของเท้าบนคันเบรก/เกียร์ไม่ได้!!! เพราะเมื่อวางแล้วมันรู้สึกขัดๆ เกร็งๆ บริเวณข้อเท้า (ซึ่งผมเชื่อว่าน่าจะมีหลายคนเกิดปัญหานี้เหมือนผม) ก็เลยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการวางปลายเท้าไว้ข้างล่างคันเบรก/เกียร์ ซึ่งมัน”ผิด”อย่างที่เราได้อ่านกันไปข้างบนแล้ว จริงๆแล้วสาเหตุของปัญหานี้คือ คันเบรก/เกียร์อยู่ในตำแหน่งที่สูงเกินไป... ทำให้เมื่อวางปลายเท้าบนคันเบรก/เกียร์ ปลายเท้าจึงอยู่ในลักษณะถูก “ดัน” ขึ้นจากตำแหน่งปกติ ทำให้ผู้ขี่รู้สึกขัดๆ หรือเกร็งที่ข้อเท้าเมื่อขี่ไปได้ระยะหนึ่ง วิธีแก้ง่ายๆ คือปรับตำแหน่งคันเบรก/เกียร์ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เราวางเท้าอยู่ข้างบนแล้วรู้สึกปกติเหมือนเวลายืนตรง (เท้าทำมุม 90 องศากับขา) เพียงเท่านี้ปัญหาเท้าแบะ เท้าชี้ลงพื้นก็จะหายไป

เขียนมาซะยืดยาวสำหรับเรื่องท่านั่งคงต้องขอจบแค่นี้ก่อน ฝากไว้นิดนึงสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกหรือมือใหม่ทุกท่านว่า... จริงๆแล้วสิ่งที่ผมเขียนเป็นเพียงแค่หลักคร่าวๆ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของคุณ แต่ในที่สุดแล้วท่านั่งของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไปบ้างตามสรีระและความรู้สึกส่วนตัว เพราะท่านั่งที่ดีที่สุดคือท่าที่เรานั่งแล้วรู้สึกสบายและสามารถควบคุมรถได้ในทุกสถานะการณ์
(http://image.ohozaa.com/iy/22013.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=c58da42c84b587ce4561e58a6437d32b)
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 10, 2010, 05:21:46 PM
ประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าเพื่อการขับขี่

สำหรับบางคนมอเตอร์ไซค์คือยานพาหนะประจำวัน บางคนคืองานอดิเรก (แต่ถ้าเป็นชาวพายุขนานแท้หล่ะก็มอเตอร์ไซค์เป็นยิ่งกว่าสิ่งเสพติด ถ้าไม่ได้ขี่อาจมีอาการลงแดงได้) แต่จุดมุ่งหมายของทุกคนคือการเดินทางไปยังเป้าหมายอย่างปลอดภัย เรามาดูข้อคิด 5 ข้อที่จะช่วยให้เราขี่รถได้สนุกและปลอดภัยมากขึ้น

1. อย่าเชื่อใจรถคันอื่น
เรียนรู้ที่จะเชื่อใจคนๆเดียวเท่านั้นคือ ตัวเราเอง เพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อเห็นหรือจำเป็นต้องขับเข้าไปใกล้ๆ รถลักษณะดังต่อไปนี้ มีรอยบุบ รอยชน

ร่องรอยเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการตัดสินใจที่”ผิดพลาด”ของผู้ขับในอดีต ซึ่งเราคงไม่อยากเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจครั้งใหม่ของพี่เค้าแน่ๆ สกปรกและไม่ได้รับการเอาใจใส่

อันนี้ไม่ได้หมายถึงรถเก่า แต่โปรดจินตนาการถึงรถที่มีฝุ่นเกาะหนาๆ ประมาณว่าตั้งแต่ซื้อมาพี่แกยังไม่คิดจะล้าง ไม่สามารถระบุสีที่แท้จริงของรถได้ ไฟเลี้ยวแตก กระจกไม่ครบ ป้ายทะเบียนห้อย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความไม่เอาใจใส่ ซึ่งอาจส่งผลถึงพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ใส่ใจรถคันอื่นบนถนนด้วย (คิดดู รถตัวเองมันยังไม่ใส่ใจ แล้วเราอยู่ข้างๆ จะรอดมั๊ยเนี่ย…) เราควรเพิ่มความระวังและอยู่ห่างรถที่มีลักษณะเหล่านี้

นอกจากนี้รถบางชนิดยังสามารถเตือนให้เราระวังเป็นพิเศษเช่น รถ

รถแท็กซี่ : อย่าพยายามวิ่งอยู่ด้านซ้ายของเค้า เพราะแท๊กซี่ไม่มีป้ายจอดเหมือนรถเมล์ ฉะนั้นเมื่อใดที่เค้าเห็นคนยืนชะเง้อมองออกมาที่ถนน ทำท่ายกแขนออกนอกลำตัวเพียงนิดเดียว พี่แกหักเข้าหาทันทีโดยไม่สนว่าตอนนั้นรถตัวเองจะอยู่ในตำแหน่งใดของถนน!!! อีกอันนึงคือเวลารถติดแล้วเราชาวมอเตอร์ไซค์วิ่งเลาะบริเวณระหว่างเลน ก็ให้ระวังผู้โดยสารในรถแท๊กซี่จะเปิดประตูออกมาจ๊ะเอ๋เอา เดี๋ยวจะกลายเป็นซุเปอร์แมนแบบไม่รู้ตัว

รถกระบะหรือปิ๊กอัพ อย่าแลกครับ เสี่ยงมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นรถส่งของและคนขับไม่ใช่เจ้าของรถฉะนั้นพี่แกจะซัดไม่เลี้ยง ขนาดของรถไม่ใช่ปัญหาสำหรับพวกเค้า มีรูเป็นมุด เห็นรถคันอื่นบนท้องถนนเป็นเสมือนกรวยยางเอาไว้วิ่งสลาลม แล้วยิ่งปิ๊กอัพสมัยนี้เครื่องแรงมากวิ่ง 180 นี่นิ่มๆ ทางที่ดีให้พี่เค้าไปก่อนดีกว่า

รถแต่งเลียนแบบรถแข่ง หลายคนแต่งเพื่อความสวยงาม แต่ก็หลายคนเหมือนกันที่แต่งแล้วเอาไว้ซิ่งบนถนนเพราะเข้าใจว่าตัวเองนามสกุล ชูมักเกอร์ อันนี้ถ้าเราเจอเปิดทางให้พี่เค้าไปก่อนเลย เดี๋ยวเค้าก็ไปเจอกับไอ้ปิ๊กอัพคันเมื่อกี๊หน่ะแหละ...

รถ 4x4 ที่ยกสูง นานๆจะเจอที แต่ถ้าเจอให้ห่างไว้จะดีกว่า เพราะลำพังรถยนต์ด้วยกันเค้ายังมองลงมาไม่ถนัดเลย แล้วถ้า 2 ล้ออย่างเราไปขี่หรือจอดอยู่ใกล้ๆ กลัวจะกลายเป็นลูกอมของเค้าไปหน่ะสิ

รถที่ขับโดยผู้หญิงและคนชรา อันนี้ไม่ได้มีเจตนาจะดูถูกหรือโอ้อวดนะครับ แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีปัญหากับการตัดสินใจทำให้อาจมีอาการยึกยักในบางจังหวะ ส่วนคนแก่นอกจากเรื่องการตัดสินใจแล้วยังมีเรื่องของสายตาที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าปกติด้วย ฉะนั้นอย่าพยายามเดาใจเค้า ทิ้งระยะห่างให้ชัวร์หรือถ้ามีโอกาสก็แซงให้ผ่านไปซะ

รถมอเตอร์ไซค์ พวกเราสองล้อด้วยกันเองนี่แหละ โดยเฉพาะบรรดา ”เด็กแว้น” , “เด็กแซบ” (มีชื่อเรียกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่) สังเกตได้จากการตกแต่งรถ เช่น ยางเล็ก, สวิงอาร์มสั้น, แฮนด์หมอบ, ท่อแต่ง ฯลฯ คงไม่ต้องบรรยายมากเป็นอันรู้กันสำหรับพฤติกรรมการขับขี่ ปล่อยน้องเค้าไปครับ อย่าไปวัดกะเค้า ผมหล่ะกลัวใจจริงๆ แต่ก็ใช่ว่าบรรดารถมอเตอร์ไซค์ใหญ่จะขี่ดีมีมารยาททุกคนนะครับ ไอ้ที่เปรี้ยวปริ๊ดส์ก็เยอะ ยังไงก็ให้เค้าผ่านไปก่อนละกัน ไม่เป็นไรเราไม่รีบ เดี๋ยวไฟแดงหน้าก็เจอกันอยู่ดี

จะเห็นได้ว่าเราไม่สามารถเชื่อใจรถคันอื่นบนถนนได้เลยนอกจากนี้เราควรเพิ่มความระมัดระวังในรถบางประเภทให้มากยิ่งขึ้น

2. ระวังจุดบอด
ข้อสำคัญที่สุดที่สมควรจำไว้คือ ถ้าเราไม่เห็นหน้าของคนขับในกระจกมองข้างหรือกระจกมองหลังของรถเก๋งคนขับรถคันดังกล่าวก็จะไม่เห็นเราเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามการที่เราเห็นหน้าคนขับในกระจกรถก็ไม่ได้หมายความว่าคนขับดังกล่าวจะมองเห็นเราเสมอไป

ถ้าเราพบว่าเราอยู่ในจุดบอด เราควรเร่งรถหรือใช้เบรคเพื่อออกจากตำแหน่งที่อันตรายให้เร็วที่สุด (เราควรใช้ความเร็วมากกว่าความเร็วของรถคันอื่นบนถนนเล็กน้อยเพื่อไม่ให้รถเราไปแช่อยู่ในจุดบอด) เราควรเตือนตัวเองให้ระวังจุดบอดตลอดเวลา

3. รู้จักจังหวะในการขี่
จังหวะการขี่ที่เหมาะสมเป็นเรื่องที่สำคัญ บางคนมีความเชื่อว่าขี่รถช้าจะปลอดภัย ในขณะที่บางคนเชื่อว่าขี่รถเร็วจะปลอดภัย สิ่งที่จะบอกได้ว่าขี่ช้าหรือเร็วจะปลอดภัยกว่ากันคือ สภาพแวดล้อมในการขี่รถ เช่น การจราจร สภาพถนน สภาพอากาศ สภาพรถที่เราขี่อยู่ เป็นต้น

การที่จะขี่รถได้ปลอดภัยเราควรคำนึงถึงสิ่งรอบตัวเป็นหลัก รู้จักใช้จังหวะในการขี่รถที่เหมาะสม, ใช้ความเร็วที่เหมาะสม เช่น ขี่ช้าในเมืองที่มีสภาพการจราจรที่ติดขัด ขี่เร็วขึ้นเมื่อถนนโล่งแต่ไม่เร็วเกินความสามารถของเรา

ซึ่งในสถาพถนนปกติ การที่เราใช้ความเร็วมากกว่าสภาพการจราจรโดยรอบเล็กน้อยจะช่วยให้เราปลอดภัยกว่าการใช้ความเร็วเท่ากัน หรือ ช้ากว่า

นอกจากนี้เราสมควรที่จะมองหา “ทางออกฉุกเฉิน” เผื่อไว้ด้วยตลอดเวลา เช่น กรณีที่มีการเบรกกระทันหัน นอกจากเราจะต้องกะระยะและน้ำหนักกดเบรกแล้วเรายังต้องเผื่อหาพื้นที่ในการหลบด้วย เพื่อกรณีที่เรากดเบรกตามแผนแล้วแต่ระยะทางไม่พอ จะได้ไม่ต้องใช้กันชนคันหน้าในการหยุดรถ

4. เผื่อที่ให้ความผิดพลาดของผู้อื่น
ความผิดพลาดของผู้อื่นในกรณีนี้หมายถึงผู้ร่วมใช้ถนนอื่นๆ เช่น เลี้ยวกระทันหันโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว, จอดโดยไม่ให้สัญญาณ และอื่นๆอีกมากมาย การที่เราจะขี่รถได้อย่างปลอดภัยเราต้องเผื่อที่ให้ผู้อื่นได้ทำความผิดพลาดโดยที่ไม่กระทบกระเทือนเรา

ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่า “เราไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดของผู้อื่นได้” วิธีแก้ปัญหาคือเราต้องมองสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นให้ออก แล้วเว้นที่ว่างให้ความผิดนั้นเพื่อจะไม่กระทบกระเทือนเรา

การที่เราอารมณ์เสียกับความผิดของผู้อื่นไม่ได้ช่วยให้ปัญหาที่เกิดขึ้นหายไป ในทางตรงข้ามอาจเกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย

5. การฝึกฝน
เมื่อมีเหตุการฉุกเฉินเกิดขึ้นสิ่งแรกที่เราจะตอบสนองจะมาเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติจากสัณชาตญานของเราเอง เช่น เมื่อมีรถเลี้ยวตัดหน้าอย่างกระชั้นชิด เราอาจจะเบรคจนล้อล๊อค หรือบีบทั้งเบรคและครัชในเวลาเดียวกัน จะเห็นได้ว่าบางครั้งสิ่งที่เราตอบสนองไปอาจไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้นแต่กลับช่วยให้แย่ลง การที่เราจะแก้ปัญหาเวลาที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน คือการขยันซ้อมจนกลายเป็นนิสัย เช่น การฝึกเบรค, การฝึกเลี้ยวแบบ counter steering, การมองกระจกหลัง, การเหลียวมองรถด้านหลัง, การใช้ไฟเลี้ยว เป็นต้น

ควรฝึกสิ่งเหล่านี้ให้เป็นนิสัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเราจะใช้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้เราควรศึกษาเส้นทางที่เราจะต้องใช้, พื้นผิวถนน, ลักษณะการจราจร, ฯลฯ

การที่เราฝึกสิ่งเหล่านี้แม้ว่าจะไม่ได้ทำให้เราได้ถ้วยรางวัลในสนามแข่ง แต่จะช่วยให้เราปลอดภัยและยังทำให้เราขี่รถอย่างมีความสุขไปได้อีกนาน
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 10, 2010, 05:25:07 PM
เทคนิคการขับขี่ : การใช้คันเร่ง  
(http://image.ohozaa.com/ix/e6gf1.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=ebdc591421f87c6e4bffb68408903c0d)
(1) การควบคุมคันเร่งที่ดี จะทำให้การเข้าโค้งเป็นไปอย่างราบรื่น และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ขับขี่
(http://image.ohozaa.com/il/va8q2.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=9ab4cc402ce6ec039954c58640a0bc3b)
(2) เมื่อปิดคันเร่ง - จะทำให้รถเลี้ยวเป็นวงแคบลงเรื่อยๆ และทำให้เอียงรถได้ง่าย
(http://image.ohozaa.com/iz/mhe93.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=cece9913975b48d251b993fffed00405)
(3) เมื่อเปิดคันเร่ง - รถจะตั้งขึ้น ทำให้วงเลี้ยวกว้างขึ้นหรืออาจพุ่งออกเป็นเส้นตรงโดยไม่สามารถเลี้ยวได้เลย
(http://image.ohozaa.com/ig/omy54.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=527285ac0e47c586292b1f065a232575)
(4) คลอคันเร่ง - รถจะวิ่งบนเส้นทางเดิม วงเลี้ยวเท่าเดิมตลอด
(http://image.ohozaa.com/id/sabq5.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=625568a7259a539326dca90afabff408)
(5) ในการเข้าโค้งทั่วไป - ปิดคันเร่ง เพื่อพารถวิ่งเข้าหาโค้ง - เปิดคันเร่ง เมื่อเห็นทางออกเพื่อส่งรถออกจากโค้ง
(http://image.ohozaa.com/iv/mhuo6.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=e397a12f134434acf34a530e40bda249)
(6) ในกรณีที่เป็นโค้งยาว มีระยะไต่โค้งเยอะ ถ้าเปิดคันเร่งช้าจะทำให้รถพับเข้าด้านในโค้งมากเกินไป แต่ถ้าเปิดคันเร่งเร็วเกินไปก็จะทำให้รถวิ่งออกนอกโค้ง ...กรณีนี้จึงต้องใช้วิธีคลอคันเร่งเพื่อรักษาแนววิ่งของรถให้อยู่ในเลนของ ตัวเอง จนกว่าจะมองเห็นทางออกโ


พูดถึงการใช้คันเร่งแล้วลองหลับตานึกภาพ อืม... มันก็ไม่มีน่าจะมีอะไรยากนี่ ก็แค่บิดแล้วรถก็วิ่ง... ถ้าคุณคิดแบบนั้น ผมค่อนข้างมั่นใจว่าภาพในจินตนาการของคุณคือ ขี่รถบนนทางตรงถนนโล่งๆ ใช่มั๊ยครับ จริงครับ!! ถ้าขี่ทางตรงการใช้คันเร่งจะเป็นไปอย่างง่ายดาย ไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่เมื่อต้องเลี้ยวหรือวิ่งบนทางโค้งนี่สิที่เป็นปัญหา ผมเชื่อว่าในบรรดาผู้ที่เลี้ยวไม่คล่อง, เข้าโค้งไม่ได้, เข้าโค้งไม่เนียน, แหกโค้ง-บานโค้ง และอีกสารพัดปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยว สาเหตุหลักอย่างหนึ่งคือการใช้คันเร่งไม่ถูกต้องซึ่งจะกระทบต่อความเร็วในโค้งและเส้นทางการวิ่งในโค้ง (ไลน์) ของคุณ

บทนี้เราจึงจะพูดกันในเรื่องของความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้คันเร่งเพื่อเลี้ยวหรือขี่ในโค้งกัน ผมขอแบ่งการใช้คันเร่ง (ในโค้ง) เป็น 3 หัวข้อ

1. ปิดคันเร่ง (ภาพที่ 2)
• คือการคืน/ปล่อยคันเร่งที่บิดอยู่ ”ทั้งหมด” จนคันเร่งกลับไปที่จุดเริ่มต้น

• หากเราปิดคันเร่งขณะที่รถเอียง เมื่อความเร็วค่อยๆ ลดลง จะมีผลให้รถเลี้ยวเป็นวงแคบลงเรื่อยๆ (เหมือนเวลากลิ้งเหรียญบาท มันจะวิ่งเป็นวงแคบลงเรื่อยๆ แล้วก็ล้มพับลงในที่สุด) นั่นแสดงให้เห็นว่าความเร็วที่ลดลงมีผลทำให้รถวิ่งเป็นวงที่แคบลง หรือถ้าคิดอีกมุมหนึ่งอาจบอกได้ว่าในการขับขี่ วงเลี้ยวจะแคบหรือกว้างขึ้นอยู่กับความเร็วเป็นปัจจัยสำคัญ

• ขณะที่ปิดคันเร่ง จะไม่มีแรงผลักจากล้อหลัง ทำให้การบังคับรถให้พลิกซ้าย,ขวา ทำได้ง่ายกว่า แต่นั่นก็หมายความว่ารถขาดแรงพยุงจากด้านหลัง ผู้ขี่จะรู้สึกได้ว่าความมั่นคงในการทรงตัวของรถลดลง โดยเฉพาะการขี่ที่ความเร็วต่ำ (ลองนึกถึงเวลาที่คุณขี่รถซอกแซกตอนรถติดๆ - ระหว่างการปิดคันเร่งให้รถไหลไป กับค่อยๆใช้คันเร่งในความเร็วที่เท่ากันอันไหนรู้สึกมั่นคงกว่า)

2. เปิดคันเร่ง (ภาพที่ 3)

• คือการบิดคันเร่งเพื่อเพิ่มความเร็วให้สูงขึ้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับองศาการบิดข้อมือ

• ผลที่เกิดจะตรงข้ามกับการปิดคันเร่ง คือถ้าค่อยๆ เปิดคันเร่งขึ้นทีละนิดขณะที่รถเอียงอยู่ ความเร็วที่สูงขึ้นจะทำให้วงเลี้ยวหรือเส้นทางการวิ่งของรถเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ

• เมื่อรถล้อหลังหมุนแรงขึ้น (จากการเปิดคันเร่ง) จะทำให้เกิดแรงผลักระหว่างยางกับพื้นถนน ทำให้รถค่อยๆ ตั้งขึ้น

• รถจะตั้งขึ้นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความเร็วในการบิดคันเร่ง

3. คลอคันเร่ง (ภาพที่ 4)

• คือการบิดคันเร่งและค้างไว้ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง หรือความเร็วใดความเร็วหนึ่ง

• ใช้ความเร็วคงที่ในระดับหนึ่งขณะที่รถเอียงอยู่ จะมีผลให้รถวิ่งเป็นวงกลมที่เท่ากันตลอด (คนขี่นั่งท่าเดิมไม่ขยับ) รถจะไม่วิ่งแคบลงหรือกว้างขึ้นกว่าเดิม

จากคุณลักษณะที่กล่าวมา ทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้เพื่อการขับขี่ในโค้งได้ คือ

1) ก่อนเข้าโค้ง - เมื่อเราจะทำการเข้าโค้ง จะต้องปิดคันเร่งเพื่อให้รถเอียงและวิ่งเป็นเส้นโค้งไปตามไลน์ที่เรากำหนดไว้

2) ออกจากโค้ง - เมื่อผ่านจุดยอดโค้ง (Apex) จึงทำการเปิดคันเร่งเพื่อส่งรถออกจากโค้ง ซึ่ง ณ จุดนี้รถจะเริ่มตั้งตรงอีกครั้ง

*1.5) ในโค้งยาว - ในบางกรณีที่โค้งมีลักษณะยาวมากๆ (ระยะไต่โค้งยาว) เราไม่สามารถทำการปิด/เปิดคันเร่งได้เหมือนปกติ จึงต้องใช้การคลอคันเร่งในโค้งเพื่อรักษาความเร็วและระดับความเอียงของรถให้เหมาะสมกับความโค้งของทางวิ่ง (ภาพที่ 6)

เมื่อเรารู้ลักษณะเบื้องต้นของการเข้าโค้งแล้ว เราจะสามารถวิเคราะห์คร่าวๆ ได้ว่าสาเหตุของผู้ที่เข้าโค้งไม่ได้ หรือบานโค้งเกิดจาก...
- “คืนคันเร่งก่อนเข้าโค้งไม่หมด” : นั่นคือไม่ได้ “ปิด” คันเร่ง ซึ่งมีผลไม่ต่างจากการคลอคันเร่งเข้าโค้ง ถ้าโค้งกว้างอาจพอถูๆไถๆ ไปได้ แต่ถ้าโค้งแคบความเร็วต่ำหล่ะก็... บานนนนน... แน่นอนคับทั่น

- “เปิดคันเร่งเร็วเกินไป” : เราจะเปิดคันเร่งเมื่อเรามองเห็นทางออกโค้งแล้วเท่านั้น เพราะอย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่า เมื่อเปิดคันเร่งรถจะตั้งขึ้นแล้วพุ่งไปข้างหน้า ถ้าดันทะลึ่งไปเปิดก่อนทางออกหล่ะก็... บานนนนน อีกแล้วคับทั่น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการใช้คันเร่งมีส่วนสำคัญในการรักษาไลน์การวิ่งในโค้งมาก ซึ่งหากเรา “เข้าใจ” หลักการ และนำไป “ฝึกฝน” อย่างถูกวิธี จะทำให้เราพัฒนาการเข้าโค้งได้ดีขึ้นซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจและปลอดภัยมากขึ้นด้วย หรือแม้แต่ในระดับของการแข่งขันหากนักแข่งศึกษาและฝึกฝนการใช้คันเร่งจนสามารถใช้ได้อย่างเชี่ยวชาญและช่ำชอง นั่นจะทำให้เป็นข้อได้เปรียบนักแข่งทั่วไป เพราะนักแข่งส่วนใหญ่ (เท่าที่ผมรู้จัก) จะเน้นเรื่องความเร็วในการ ”เข้า” โค้ง แต่ไม่มีใครคิดถึงการ “ออก” จากโค้ง ซึ่งเป็นอีกจุดที่สำคัญที่จะสร้างความได้เปรียบให้กับนักแข่งได้เป็นอย่างมาก ส่วนจะมากยังไง ได้เปรียบขนาดไหน เอาไว้คอลัมน์การขี่แบบเรซซิ่งผมค่อยพูดถึงละกัน

Credit: http://www.stormclub.com
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 10, 2010, 05:41:17 PM
การให้สัญญาณมือ

(http://image.ohozaa.com/in/1283692377.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=0224c7aec8987837bea16e89bfb37c08)
(http://image.ohozaa.com/il/1283692402.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=4e0834bb6ce287a3ec01015b7b1361eb)
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 10, 2010, 05:48:17 PM
การเข้าโค้งที่ถูกต้อง

เครดิตจากพี่ปุ้ม 118 ไบค์

Riding School
การเข้าโค้งที่ถูกต้อง
สวัสดีครับ ( รอบที่เท่าไหร่ก็ไม่รู้ )
หลังจากห่างหายการเขียนบทความไปนานแล้ว เห็นหลายๆคน ส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อนๆน้องๆมือใหม่ อยากอ่านบทความเกี่ยวกับ เทคนิคการขี่รถ จริงๆแล้วอยากเขียนให้แบบว่าคุยกันให้ฟังมากกว่าที่จะป็นการสอน แต่เพื่อให้ดูสมเหตุผลมากกว่าการที่ผมจะมามั่วนิ่มคนเดียว ก็ต้องมีภาพหรือเอกสารประกอบซะหน่อย ถ้าผิดพลาดที่ตรงไหนก็ขออภัยด้วยนะครับ งั้นมาเริ่มเลย
เริ่มแรกท้องถนนในบ้านเรา ในเลนที่มีรถสวนทาง ไม่ว่าคุณจะอยุ่ตรงไหน คุณต้องระวังรักษาไลน์การขี่ของคุณ และจะต้องมีสมาธิเสมอ การมองโค้งและการทรงตัว เพราะทุกอย่างมันจะต้องสำพันธ์กัน การเปิดคันเร่งเวลาเข้าโค้ง การจัดท่าทาง คงไม่ต้องถึงขนาดตั้งใจโหนแบบGPหรอกครับ ( เคยขี่ตามนักบิดประเภทนี้ โห...ห้อยตูด หัวเข่านี่สีพื้นแคร๊กๆ ท่าสวยงามมาก ในความเร็วต่ำ.... ) ถ้าจะลองทำอย่างนั้นก็ไม่ผิดหรอกครับ แต่ให้ดูเป็นธรรมชาติจะดูเข้าท่ากว่า....
การจับคันเร่ง
การจับคันเร่งที่ถูกต้อง หลายๆคนมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ในความเป็นจริง หากคุณจับคันเร่งผิดวิธี จะทำให้คุณเข้าโค้งได้ไม่ดีและไม่มั่นคงในโค้ง การจับคันเร่งให้จับแบบเฉียง อย่าให้ข้อมือทำมุมฉากกับรถคุณ ให้จับคันเร่งแบบถือไม้เทนนิส( คงพอมองออกมั๊ง...! ) ให้ออกแรงบิดคันเร่งโดยใช้ข้อมือ อย่าให้บิดจนแขนตามไปด้วยเพราะจะมีผลไปถึงการทรงตัวของรถ เช่นถ้าใช้ท่อนแขนบิด จะทำให้หัวไหล่และลำตัวขยับไปด้วย ทำให้เสียความสมดุลและน้ำหนักตอนเข้าโค้ง ( ย้ำ..!ใช้แค่ข้อมือเท่านั้น )
การวางขาและเท้า
การวางขาและเท้าจะว่าถึงการขับขี่ในถนนปรกตินะครับ ส่วนเรซซิ่งไม่ชำนาญขนาดนั้น ถนนปรกติให้วางไว้กึ่งกลางเท้า ปลายเท้าจะอยู่ที่ก้านเบรค-คันเกียร์ ถ้าในสนามตัวผมเองจะกระทิบถอยหลังมาหน่อย เทคนิคเบื้องต้นแรกนั้น ให้ลองใช้วิธีถ่ายน้ำหนัก ออกแรงเน้นไปที่เท้าข้างที่เข้าโค้ง( งงๆสิ) ตัวอย่างเช่นโค้งขวา ก็กดเท้าขวาให้หนัก โค้งซ้ายก็กดน้ำหนักเท้าซ้าย อันนี้เป็นวิธีอธิบายง่ายๆนะครับ เอาไปทดลองดูได้ แต่ถ้าในการขี่ให้ ดูราบรื่นและสมูทนั้น แค่กดแค่เท้าข้างใดข้างนึงมากกว่าอีกข้างคงไม่พอ การวางน้ำหนักเท้าที่อยู่ด้านนอกโค้งก็สำคัญนะครับ เพียงแต่ว่าคุณต้องจับจุดความสำพันธ์นี้ให้ได้ อธิบายยากแฮะ..ลองเอาไปทดลองดูครับ
อธิบายประกอบ...เสริมต่อจากทั้ง2 หัวข้อ
จุดมุ่งหมายคือ ต้องปลอดภัย ไม่สไลด์หรือเสียหลัก (แหง...อยู่แล้ว)แต่คราวนี้มันก็จะประกอบไปด้วย การใช้คันเร่ง การถ่ายน้ำหนักตัว การวางขา และสะโพก
1. ลดความเร็วลงก่อนที่คุณจะเข้าโค้ง (สำคัญมากๆ)
2. การอยู่ในไลน์ที่ถูกต้อง อย่างแรกคือตอนเข้าโค้งคุณจะเจอแรงหนีศูนย์ นี่หละคุณเลยต้องถ่ายน้ำหนักไปด้านในโค้ง แต่การที่โหนออกไปนอกรถเพื่อชดเชยแรงเหวี่ยง อย่างแรกที่เห็นคือรถคุณเบาขึ้น แต่ผลที่จะตามมาแบบเห็นได้ชัดคือ ยางจมีน้ำหนักไปกดทับน้อยลง ยางก็เกาะพื้นได้น้อยลงตามไปด้วย อันนี้บอกยากแต่ให้คุณลองใช้ความรู้สึกจับอาการของรถดู ถ้าในสนามจะทำอย่างนี้ได้ดีเพราะในโค้งเดียวกัน คุณสามารถทดลองเข้าและออกจากโค้งได้ในหลายๆความเร็ว หลายๆครั้ง หลายๆรอบ ได้ทดสอบและจับความรู้สึกอาการของรถจนคุณเข้าใจและจนกว่าจะพอใจ
3. ภาพประกอบ
3.1 เริ่มการเบรค ถ่ายน้ำหนักที่ก้นออกมานอกตัวรถเพียงครึ่งเดียว
จากภาพ เป็นการจัดท่าก่อนการเข้าโค้ง เหมือนกับการวางน้ำหนักตัวอยู่บนต้นขาและรักษาสมดุลไว้
- การใช้เบรคหน้าจะใช้เบรคหน้าเป็นหลัก ส่วนเบรคหลังจะใช้เพียงเพื่อรักษาสมดุลเอาไว้เท่านั้น
3.2 ถ่ายน้ำหนักมาที่ด้านในของโค้ง
จากภาพการใช้เบรคหน้าจะหยุดเพียงเท่านี้ ในขณะเดียวกันขณะที่คุณคลายแรงบีบของเบรคหน้า แรงที่รถพุ่งไปข้างหน้าจะเริ่มน้อยลง การเคลื่อนไหวของร่างกาย ท่อนบน แขน และขาจะเป็นลักษณะอย่างในภาพ
- ลักษณะการมอง ให้มองไปยังจุดที่ต้องการจะพารถไป ( มองไปสุดโค้ง ไม่ใช่มองแต่หน้ารถตัวเอง1-2เมตร )
- น้ำหนักตัวให้ทิ้งน้ำหนักมายังด้านใน ไม่เน้นแรงกดไปยังแฮนด์รถ
- ลักษณะเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อแบนโค้ง
3.3 การใช้คันเร่ง ในโค้ง
จากที่กล่าวมาในข้อที่3.2 คือลักษณะของร่างกายท่อนบนจะโน้มไปด้านหน้าเพียงเล็กน้อย
ข้อควรระวังเป็นอย่างยิ่งคือ
- ห้ามใช้เบรคหน้า
- เบรคหลังใช้เพียงเล็กน้อยเพื่อรักษาสมดุลเท่านั้น
- ลักษณะที่สำพันธ์กันคือ การโน้มหรือถ่ายน้ำหนักตัวไปด้านหน้า ช่วงนี้การใช้คันเร่งให้คลอคันเร่งไปเรื่อยๆ( คลอคันเร่งหมายถึง ค่อยๆเปิดคันเร่ง ไม่กระทำทันทีทันใด ) อันนี้บอกยาก แต่ให้เข้าใจว่า คุณต้องรู้สึกว่า รถของคุณยังมีแรงที่เครื่องยนต์กระทำออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เความรู้สึก การจับจังหวะของคุณเองให้สำพันธ์กัน..(งง..มั๊ยเนี้ย! อธิบายยากเหมือนกัน )
- ให้นึกไว้ก่อนว่าก่อนเข้าโค้งคุณยกคันเร่ง และเบรค เพื่อลดความเร็วรถ แต่มาเพิ่มคือเปิดคันเร่งช่วงกลางค่อนมาทางปลายโค้ง เพื่อส่งรถของคุณให้ออกจากโค้ง (เตือน..! ขณะที่คุณกำลังอยู่ในโค้ง การเดินคันเร่งรีดรอบออกแบบทันทีทันใด /กระแทกคันเร่ง /ไม่ควรทำอย่างยิ่ง )
3.4 ขาด้านนอก และเท้าด้านนอกโค้ง ใช้รักษาสมดุลของรถ
3.5 จังหวะการเดินคันเร่งในโค้ง หรือที่ภาษา นักบิด เรียกว่า" การไต่โค้ง "
- ใช้การมองแบบ มองผ่าน แต่ไม่ได้หมายถึงว่า ให้ละเลยในจุดใด เป็นการมองสังเกตุสภาพของถนน อุปสรรค์ สิ่งกีดขวาง และช่องทางที่รถจะพุ่งออกไป ทั้งหมดที่กล่าวนี้ คุณต้องประมวลผลเอาในช่วงไม่กี่วินาที หรือที่ ภาษา นักบิดเรียกกันอีกนั้นหละว่า "การอ่านโค้ง "
- ข้อกำหนด /บังคับเลย...
- ห้ามเปิดคันเร่งเพื่อส่งรถ ก่อนที่คุณจะมองเห็นทางออก ถ้าไม่เห็นทางออกที่ปลายโค้ง คุณทำได้แค่คลอคันเร่งเท่านั้น การเปิดคันเร่งโดยไม่เห็นทางออก อาจส่งผลให้คุณเข้าผิดไลน์ได้ การเปิดคันเร่ง เพื่อเพิ่มความเร็วรถกระทำได้เมื่อเห็นช่องทางออกแล้ว อยู่ในจังหวะที่รถคืนการทรงตัว( รถเอนขึ้นตามแรงหนีศูนย์ที่กระทำกับตัวรถ ) ตัวคุณเองก็ต้องถ่ายน้ำหนักตัวขึ้น คืนในตำแหน่งเดิม ทั้งนี้ยังเปิดคันเร่งแบบสม่ำเสมอทีละนิดๆ
3.6 การกระทำที่ส่งผล ตามจังหวะการเดินคันเร่ง
- เดินคันเร่งมากไป ยิ่งจะทำให้รถคุณ ยิ่งบานโค้งออกทางด้านนอก ยิ่งเปิดคันเร่งมากเท่าไหร่ก็บานโค้งมากยิ่งขึ้นเท่านั้น เผลอๆ แหกโค้งไปเลย
- เดินคังเร่งน้อยไป จะส่งผลให้รถคุณ พับเข้าส่วนในของโค้งมากเกินไป ตามหลักวิทยาศาสตร์...แฮะๆการเปิดคังเร่งที่สมดุลกัน ระบบกันสะเทือนหน้าและหลังจะยุบตัวลงจากแรงเหวี่ยงที่กระทำต่อรถ( ยางสำคัญมาก.... )
3.7 คืนตำแหน่งของคุณกลับที่เดิม ช่วงจังหวะการออกจากโค้ง
3.8 จังหวะการเดินคังเร่งเต็มที่ ช่วงออกจากโค้ง (สบายแล้ว....ผ่านมาแบบหมูๆ )
เอาหละเป็นไงครับ พอจะเข้าใจมั๊ยเนี้ย! หรือว่า งง..ผมเองอ่านเอง เขียนเองยังงงเลย 55 เอาเป็นว่า ลักษณะการเข้าโค้งที่ปลอดภัยคือ ต้องสำพันธ์กันทั้ง ท่าทาง การวางเท้า การถ่ายน้ำหนักตัว และจังหวะการเบรคและเดินคันเร่งที่สมดุลย์กัน บางคนอาจจะว่า ปัดโธ่..แม่งเขียนง่าย แต่พอจริงๆทำไมมันยากจัง สำหรับมือใหม่ การถ่ายน้ำหนักตัว คงยาก เพราะกลัว พอลองทดลองทำดูมันยากเกินไป (หวาดเสียว ) แต่ทั้งนี้ ยางหน้า-หลัง ระบบเบรคสำคัญมาก อย่าไปหัดทั้งที่ยางไม่ดีนะครับ เพลอๆอีตอนโหนในโค้ง มันมีแรงหนีศูนย์ที่กระทำกับคุณและรถ มันไปเพิ่มถาระให้กับโช๊คหน้าและหลัง อ้าว..มันก็ไปเพิ่มแรงกดที่ยางสิทีนี้ ถ้ายางคุณไม่ดีก็จะเกิดอาการไม่เกาะโค้ง พอไม่เกาะ มันก็เกิดอาการสไลด์ ถ้าเข้าไม่แรงก็คงคงรู้สึกแบบสไลด์ แถ๋ๆ (ถืดๆๆ) แต่ยังเอาอยู่ แต่ถ้าคุณยังพยายามเข้าให้แรงและเร็วกว่านั้น ยางมันรับภาระไม่ไหว มันจะไถลหลุดถืดดดด...ไปเลย แต่ถ้าแบบเบาะๆ อีตอนยางมันเริ่มมีอาการสไลด์หน่อยๆ ถ้าคุณกลัว ตามสัญชาติญาณ คุณคงยกคันเร่งแบบอัตโนมัติ คราวนี้แรงเหวียงจะดันรถคุณให้เด้งขึ้นมา ผลคือรถวิ่งผิดไลน์ เรียกว่า"บานโค้ง" ก็มี2อย่างคือ เมื่อรถทำท่าจะแหกโค้งบานออกไป คุณก็ต้องรีบชลอความเร็วโดยด่วน เบรคสิ ถ้าเบรคแรงเกินไปหน้าอาจพับไปเลย หรือถ้าโชคดี อาจเอาอยู่ แต่หัวใจก็ตกลงไปอยู่ที่ตาตุ่มเรียบร้อยแล้ว ฉะนั้น บอกไว้เลยว่ายางสำคัญมากๆ อย่าละเลย นอกจากว่าคุณชอบให้อะดินาลีน หลั่งทุกโค้ง..!ตื่นเต้นดี
แล้วอีกอย่างนึงคือ ถ้าเทียบกันระหว่างยางหน้าและหลัง อันไหนสำคัญกว่ากันในโค้ง ผมว่า ยางหน้ามีผลมากกว่า ถ้าจำเป็นจริงๆต้องเดินทางไกล แต่ดันมีงบจำกัด ทำไงหละ?? ผมแนะนำว่า ถ้าต้องเลือกเปลี่ยนเส้นใดเส้นนึง เปลี่ยนยางหน้าให้ดีไว้ก่อนดีกว่า ยังไงซะถ้าเกิดอาการสไลด์จริงๆ ต่อให้ยางหลังเกิดอาการที่ผมว่า แต่เรายังแก้อาการที่ยางหน้าได้ (ยางหน้ายังเกาะถนนอยู่ ) เพราะถ้าเกิดอาการสไลด์ของยาง(ไม่เกาะถนน) ในยางหน้าแล้ว คุณแก้อาการของรถไม่ได้เลย....
เอ้า..พอไหวมั๊ยเนี้ย ฉะนั้นมือใหม่หัดขี่ ต้องค่อยๆพยายามเรียนรุ้ครับ อย่าห้าว..หรือประมาทเด็ดขาด เพราะรถล้มมันเจ็บและเสียเงิน ค่อยๆหัดไปทีละนิดสร้างประสพการ์ณไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เก่งไปเอง คราวนี้พอถ้าชำนาญแล้ว คุณจะเบื่อทางตรงมากๆ แต่พอขี่ไปมองเห็นทางข้างหน้าเป็นทางโค้ง คุณจะยิ้มในหมวกกันน็อค แล้วปรี่ ทิ้มเข้าหาโค้งเลย (ไชโย..เจอโค้งแล้วเฟ้ย!!!! )

pum118 เขียน
ขอขอบคุณหนังสือเก่าๆที่เก็บไว้นานแล้ว "หนังสือมอเตอร์ไซเคิล " เอามาปัดฝุ่นเรียบเรียงใหม่
ขอบคุณคร๊าบ....
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 10, 2010, 10:58:40 PM
เตรียมรถก่อนเดินทางด้วยมอเตอร์ไซค์

การเตรียมรถคันโปรดของเราให้พร้อมก่อนออกเดินทาง เพื่อที่จะได้เดินทางอย่างสนุกสนานไม่มีปัญหากวนใจหรือลดปัญหาระกว่างการเดินทางให้น้อยที่สุด และเพื่อความปลอดภัยขังผู้ขับขี่

1.เช็คสภาพยางและลมยางทั้งยางหน้าและยางหลังให้ความดันลมยางอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ซึ่งเราจะรู้ได้ว่ารถของเราต้องเติมลมเท่าไหร่ที่ตัวรถบริเวณสวิงอาร์ม หรือบังโซ่จะมีสติ๊กเกอร์บอกเราว่าต้องเติมเท่าไหร่ หรือถ้ามีคนซ้อนต้องเติมเท่าไหร่ สภาพยางต้องไม่หมดอายุ ไม่แตกร้าวหรือแตกลายงา

2.เช็คโซ่เสตอร์ให้อยู่ในระยะที่ได้มาตรฐานไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป ถ้าหย่อนจะทำให้มีเสียงเวลาโซ่กระตุก และรถจะมีอาการกระตุกตอนที่ปล่อยคลัชท์หรือเวลาเดินคันแร่งในแต่ละครั้ง และเป็นสาเหตุทำให้โซ่ยืดก่อนเวลาด้วย และถ้าโซ่ตึงไปก็จะทำให้มีเสียงดังและโซ่ยืดก่อนอายุการใช้งานเช่นกัน

3.เช็คระดับน้ำมันเครื่องให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง และเช็คว่าถึงเวลาถ่ายน้ำมันเครื่องไปเมื่อไหร่ ถ้าถึงกำหนดแล้วควรจะเปลี่ยนก่อนการเดินทาง

4.เช็คกรองอากาศ ถอดมาดูว่าอยู่ในสภาพที่สบูรณ์หรือไม่ และเปล่าลมหรือซักล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย

5.เช็คระบบระบายความร้อน เช็คน้ำในหม้อน้ำและถังพักน้ำ (มาทำความเข้าใจเรื่องถังพักน้ำกันก่อน)
ตั้งแต่ผมเล่นรถมา 10 กว่าปีผมเจอหลายๆท่านเข้าใจผิดกับถังพักน้ำเป็นจำนวนมาก หลายๆท่านเข้าใจผิดว่าสามารถเติมน้ำหม้อน้ำทางถังพักน้ำได้ แต่...จริงๆเป็นสิ่งที่หลายท่านเข้าใจผิดมาตลอด การเติมน้ำในถังพักน้ำไม่ได้ทำให้น้ำเข้าไปสู่หม้อน้ำแต่อย่างใด เราลองมาทำความเข้าใจระบบระบายความร้อนกันดีกว่า
น้ำในหม้อน้ำถ้าเราเติมจนเต็ม และพอรถวิ่งจนความร้อนถึงจุดเดือดน้ำจะขยายตัวและเกิดแรงดัน ดันจนเอาชนะแรงสปริงของฝาหม้อน้ำ และน้ำจะถูกดันออกไปทางถังพักน้ำ และเมื่อเครื่องเย็นหม้อน้ำจะดูดน้ำในถังพักน้ำกลับไปเป็นจำนวนใกล้เคียงของที่ถูกดันออกมา ฉะนั้นการที่หลายท่านเวลาน้ำในหม้อน้ำขาดแล้วไปเติมในถังพักน้ำ น้ำจะเข้าไปในหม้อน้ำไม่ได้เลย เพราะว่าไม่สามารถไหลย้อนเข้าไปในหม้อน้ำได้ จะไหลกลับเข้าไปก็ต่อเมื่อเกิดการดูดกลับเพียงเล็กน้อยจากความต่างบรรยากาศของหม้อน้ำเท่านั้น ฉะนั้นการเติมน้ำต้องเติมด้วยการเปิดฝาหม้อน้ำที่มีสปริงเท่านั้น ส่วนถังพักน้ำให้เราเติมตามระดับ อย่าเติมเกินเพราะเดี๋ยวน้ำในหม้อน้ำดันออกมาอีกจะทำให้น้ำร้อนในถังพักล้นออกมาโดนร่างกายได้
และถ้าน้ำมีสนิมเยอะเราจำเป็นต้องถ่ายทิ้งทั้งระบบและเติมของใหม่เข้าไป

6.เบรค แบ่งเป็น 3 จุดใหญ่ๆคือ น้ำมันเบรค ผ้าเบรค และอุปกรณ์เบรคปั๊มและสายเบรค เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ทำหรับชาวบิ๊กไบค์แล้วผมเชื่อว่า 80% เดินทางเพื่อเล่นโค้ง และวิ่งในเส้นทางที่สวยชมธรรมชาติซึ่งคดเคี้ยวและชันมาก การใช้เบรคจะเยอะมาก ผ้าเบรคจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
6.1.ผ้าเบรคต้องมีเหลือพอที่จะเดินทางทั้งไปและกลับ ถ้าเบรคก็แบ่งเป็น 2 เกรดใหญ่ๆคือธรรมดาและเรซซิ่ง ถ้าแบบธรรมดาเวลาผ้าเบรคยังไม่ร้อนจะเบรคดี แต่ถ้าร้อนจัดๆในสถาณการณ์เช่าขึ้นเขาลงเขาจะร้อนและไหม้ได้ ซึ่งตรงข้ามกับผ้าเบรคแบบเรซซิ่ง ถ้าไม่ร้อนจะแข็งเบรคไม่เต็มประสิทธิ์ภาพ แต่พอร้อนจะเต็มประสิทธิ์ภาพ ซึ่งก็ต้องดูให้เหมาะสม
6.2. น้ำมันเบรค สำหรับบิ๊กไบค์แล้วน้ำมันเบรคต้อง dot4 ขึ้นไปเท่านั้น ค่า dot ก็คือค่าจุดเดือดน้ำมันเบรค ยิ่งสูงยิ่งทนได้มาก ไปอ่านในบล๊อกเรื่อง dot ในบล๊อกผมอีกทีก็แล้วกันครับ มันยาวเหมือนกัน เพื่อนผมเคยใช้ dot3 ไปเที่ยว ขึ้นเขา ปรากฏว่าขาลงใช้เบรคเยอะ น้ำมันเบรคเดือดทำให้เกิดฟองอากาศในระบบ ทีนี้เบรคจะยวบเบรคไปเหมือนไม่เจออะไรเลย และเบรคไม่อยู่ด้วยครับ ส่วนจัวผมเองเคยเจอครั้งเดียวที่เคยเอา haya ไปขี่ในสนามแก่งกระจานที่มีทางโค้งขึ้นและลงเขาเยอะมาก ถึงกับเบรคไม่อยู่เลยครับและมักจะเกิดที่เบรคหลังก่อนเบรคหน้า

6.3.อุปกรณ์เบรค สายเบรค ต้องอยู่ในสภาพที่ดีไม่รั่วไม่แตก ปริ ร้าว แตกลายงา เช็คที่ลูกปั๊มล่างว่ามีคราบอะไรติดมากน้อยแค่ไหน เราสามารถรื้อถอดมาล้างได้ทั้งระบบ ด้วยการใช้ลมอัดเข้าไปในปั๊มให้ลูกสูบปั๊มเด้งออกมาเพื่อทำความสะอาด หรือค่อยๆบีบเบรคให้ลุกปั๊มขยับออกมาและใช้กระดาษทราบขัดให้รอบๆลูกปั๊ม วิธีนี้ไม่ต้องรื้อทั้งหมด แค่ถอดผ้าเบรค ออกมาก็ทำได้แล้วครับ


7.หล่อลื่นจุดหมุนต่างๆ โซ่เสตอร์ และจุดหมุนทุกจุด พักเท้า บูชล้อ ตุ๊กตาเกียร์ คันเร่งสายคันเร่ง สายคลัชท์ เป็นต้น และสำคัญมากจุดนึงที่ทุกคนนึกไม่ถึงคือ ก้านเบรคมือ ในส่วนของก้านเบรคที่ไปกระทุ้งกับลูกปั๊มเบรคมือ (จุดที่มันกดกันอยู่นั้นแหละ) ถ้าเบรคแล้วมีการสะดุดแข็งๆล่ะคือตรงนี้ฝืด ถ้าหล่อลื่นไปแล้วจะนุ่มมือทันทีเลย ก้านคลัชท์ก็ต้องได้รับการหล่อลื่นในจุดยึดนอตระหว่างก้านคลัชท์กับแผงคลัชท์ที่ยึดกับแฮนด์เช่นกัน

8.ระบบไฟและไฟส่องสว่างในจุดต่างๆเช่นสายไฟต้องไม่อยู่ในสภาพที่เปื่อย ขาด ไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว ไฟเบรค แตร และแบตเตอรี่ก็ต้องเช็คน้ำกลั่น และระดับน้ำให้ปรกติ และถ้าไม่ได้ขี่นานต้องชาร์จแบตเตรียมพร้อมให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทาง

9.เช็คลูกปืนและนอตทุกตัวต้องแน่นไม่หลวมไม่คลายตัว เช่นลูกปืนล้อ ลูกปืนคอ ลูกปืนสวิงอาร์ม

10.กระจกส่องหลังก็สำคัญนะครับ ปรับมุมให้เหมาะกับผู้ขับขี่ให้เรียบร้อย และหลายครั้งที่ผมเห็นกลุ่มบิ๊กไบค์ที่มีกระจก แต่ชอบถอดออก ผมก็ไม่เข้าใจพวกนี้ว่า เค้าเพิ่มอุปกรณ์เพื่อที่จะให้รถเค้าแรงขึ้น แต่...ทำไมเค้ากลับลดอุปกรณ์ที่จะช่วยชีวิตของเค้าออก การที่ไม่มีกระจกส่องหลังเราจะต้องหันไปมองหลังทำให้ต้องละสายตาไปจากทางข้างหน้า และกระจกยังช่วยสะท้อนไฟของรถคันหลังให้เราเห็นว่ามีรถอยู่ข้างหลัง หรือเพื่อนเรากำลังจะแซงเรา และลองสังเกตุพวกที่ชอบถอดอุปกรณ์พวกนี้จะควบคู่ไปกับท่อที่เสียงกัง และขี่รถเร็วควบคู่กันไปบนถนนหลวง ซึ่งผมเข้าใจว่าเค้าคงคิดว่าเค้ากำลังแข่ง moto gp กับบนถนนหลวง
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: tom 1980 ที่ ตุลาคม 11, 2010, 02:22:35 AM
เป็นประโยชน์มากขอบคุณครับ  pray pray pray
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: PhatZ ที่ ตุลาคม 11, 2010, 12:30:49 PM
เป็นประโยชน์มากครับจะได้ขับขี่อย่างถูกต้องและปลอดถัย ขอบคุณมากครับ เยี่ยมไปเลย thumbsup
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: AAA ที่ ตุลาคม 11, 2010, 12:41:31 PM
สาระต้องรู้...ขอบคุณหลายๆครับ pray  thumbsup thumbsup thumbsup number1
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pusfg17 ที่ ตุลาคม 11, 2010, 01:11:26 PM
ขอบคุณครับจะติดตามอ่านได้ความรู้และมีประโยชน์มาก
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 11, 2010, 01:17:55 PM
วางแผนการเดินทางให้พร้อม
เครดิตโดยพี่ปุ้ม 118 ไบค์


เบื้องต้น
1. ศึกษาเส้นทาง ลงทุนซื้อแผนที่หรือดาวโหลดแผนที่ เส้นทาง กันก่อนเดินทาง
2. จดหรือซีรอคแจกทุกคันที่เดินทางไปด้วยกัน
3. กำหนดจุดแวะพัก เติมน้ำมัน ดื่มน้ำ-ทานข้าวกันให้ชัวร์
4. เช็ตกิโลเมตรที่แวะพักไว้เลย ยกตัวอย่างเช่นทุก200Km ปั้มน้ำมันแรกที่เจอทำนองนั้น....
5. ทุกคนต้องทราบเบอร์โทรศัพท์ของกันและกันไว้
6. ทุกคนต้องตรงต่อเวลาและเตรียมพร้อม ตรวจเช็คสภาพรถดีแล้ว
7. สำรองที่พักก่อนออกเดินทาง ในกรณีที่นอนโรงแรมหรือ อุทยานแห่งชาติที่ต่างๆ
8. เงิน..ใครคิดว่าไม่สำคัญ ทุกคนต้องพร้อมจะมากน้อยไม่เป็นไรแต่ต้องพร้อมที่จะแชร์กัน เช่นค่าที่พัก ค่าอาหาร หรือ ค่าดื่ม ฉะนั้นเพื่อให้ดูเป็นกลางและยุติธรรม อาจจะต้องเก็บเงินกองกลางไว้ล่วงหน้า ให้ใครซักคนเป็นคนดูแล อาจเป็นเงินจำนวนไม่มากนัก พอกองกลางหมดแล้วค่อยทยอยเก็บกันใหม่ จะได้ไม่ต้องควักกันทุกครั้ง ส่วนเงินค่าน้ำมันก็ตัวใครตัวมัน สำรองกันให้พอจะได้ไม่ต้องไปหยิบยืมใคร เว้นแต่สนิทกันก็แล้วไป
หมายเหตุ..เสริม ก่อนออกเดินทาง อาจจะมีมิตติ้งเล็กนัดเจอกัน กินข้าว เพื่อคุยรายละเอียด แต่ไม่แนะนำให้ดื่มแอลกอฮอล์แบบหนักๆนะครับ กลางคืนพักผ่อนให้พอ ตื่นเช้ามาจะได้สดชื่น เตรียมอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาหา และแนะนำว่าเส้นทางจะใกล้หรือไกล ออกกันแต่เช้าๆจะดีกว่า รถราไม่เยอะ อากาศไม่ร้อน พอเวลาไม่รีบมากจะแวะกันตรงไหนก็ได้ ตำรวจก็ยังไม่ตั้งด่าน โอ้ย..ดีสารพัด!!
อ้อ..อีกอย่างนึง ปัญหานี้ทุกคนต้องเจอ คือ การไม่ตรงต่อเวลา ฉะนั้นคนนำทริปต้องบังคับแต่ละคนให้รักษาเวลา กำหนดเวลาเดินทาง( ล้อหมุน )ให้แน่นอน เลทได้ไม่เกิน30นาที ถ้ามีใครเกิดมาไม่ทัน ให้กำหนดจุดนัดที่2ไว้ อาจจะซัก ชานๆเมืองหรือปั้มอะไรซักที่ๆประมาณ70-100Km จากจุดแรก แล้วใครมาไม่ทันจุกแรกให้รีบทำเวลา ไปยังจุดที่2 แทน เพราะถ้าไม่กำหนดอย่างนี้ ขืนมาช้ากัน2-3คน ก็ไม่ต้องไปกัน เวลาต้องขยับออกไปอีก ฉะนั้นไม่ต้องโกรธกัน" เราต้องไม่เป็นภาระกับคนอื่นๆ"
เตรียมตัวนักบิด
1. ร่างกายพร้อม กินอาหารรองท้องหน่อย นมซักแก้ว กาแฟซักจอก
2. แต่งกายรัดกุม ตามสภาพภาวะเศรษฐกิจ แต่อย่างน้อย หมวกกันน็อคแบบมาตราฐาน ถุงมือแบบแข็งแรงหน่อย( ไม่แนะนำถุงมือใหม่เพราะยังไม่เข้าที่) เสื้อเจ็กเก็ตหนาๆ  กางเกงยีนส์ รองเท้าหุ้มข้อ อ้อ..หมวกแนะนำแบบเลนส์ใสจะดีกว่าเพราะถ้าเป็นแบบสีเข้มๆกลางวันสบายจริง แต่กลางคืนหละแย่แน่ ถ้าไม่งั้นแนะนำว่าพกแว่นกันแดดแบบขาตรง ใส่ในหมวกตอนกลางวันจะดีมาก เย็นๆค่อยถอด
2.1 ข้อนี้เสริมว่า อุปกรณ์ชิ้นนึงที่จะรักษาอนามัยของนักบิดได้คือ " โม่ง " ที่บอกอย่างนี้เพราะว่าการเดินทางไกลๆ นานๆมักจะมีเหงื่อออกมากถึงแม้อากาศจะเย็นก็เถอะ วันแรกของการเดินทางไม่เท่าไหร่ แต่วันที่2 ที่3 สิ หมวกเริ่มมีกลิ่นแล้ว จะซักจะล้างก็คงไม่ได้ เพราะใช้วลานานกว่าจะแห้ง คราวนี้หลายๆคนจะเห็นประโยชน์ของโม่งหละ คือ อย่างแรกกันหนาวได้ดีมาก อย่างต่อมาคือ สามารถถอดซักได้ช่วงเวลากลางคืนหรือช่วงที่ไม่ได้ใช้งาน เอา...พอซักแล้ว วันต่อๆมาก็จะหอมสดชื่น สร้างบรรยากาศในการขี่อีกเยอะ ใครยังไม่เคยใช้ก็ลองดู
3. แนะว่าก่อนเดินทางควรจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง จัดลงกระเป๋าให้พร้อม หมวก ถุงมือ ที่ชาร์ตมือถือ กล้องสารพัดฯลฯ ไว้เลย ล่วงหน้า1วัน เพื่อที่ว่าก่อนออกเดินทางจะได้ไม่ต้องกังวลอะไร เครื่องมือช่างต้องเตรียมไปบ้างเผื่อจะแก้ปัญหาเล็กน้อยถ้ามี อย่าไปหวังคนอื่นมากนัก
4. เครื่องมือที่ต้องมี
- ไขควงแบบสลับดอก
- ประแจเบอร์8-12
- เทปพันสายไฟ
- น๊อตเบอร์ 8 -12 ซักอย่างละตัว-2ตัว
- สเปรย์ฉีดโซ่ ต้องพกครับ ของใครของมัน ยกเว้นรถใช้เพลาก็แล้วไป
- ฟิวส์ เบอร์ที่ใช้งาน " " นอกจากหลักๆนี้ก็ตามแต่จะจำเป็นแต่ละคนไป



วันเดินทาง
1. ตื่นเต้นๆ บางคนนอนไม่หลับ ( ผมเองก็นอนไม่หลับเหมือนกัน )
2. เช็คความพร้อมรถและคนอีกครั้ง
3. บอกที่บ้านซักหน่อยว่าจะเดินทางไปไหน กลับเมื่อไหร่ จะได้ไม่ห่วง
4. โทรศัพท์แบ็ตเต็ม เบอร์เพื่อนมีครบ
5. ไปก่อนเวลานัด30นาที
6. เติมน้ำมันให้เต็มถังไปเลย ไม่ต้องเสียเวลาอีก
7. กำหนดเวลานัด เลทได้30นาที หากเกินกว่านี้ให้ทุกคนออกเดินทางเลย แล้วค่อยไปเจอกันที่จุดที่2

ระหว่างทาง
1. การขี่อาจไม่จำเป็นต้องกำหนดผู้นำก็ได้ แต่ใช้วิธีที่ใครชำนาญเส้นทางช่วงนั้นให้ยกให้เป็นคนนำทาง
2. ในเมืองไม่ต้องใช้ความเร็วมากนัก ให้ถือว่าเป็นการวอร์มเครื่องและยางไปในตัว
3. ต้องกำหนดบัดดี้ แบบกลายๆไว้บ้าง ว่าใครขี่ใกล้ใคร จะได้สังเกตุอาการกัน
4. เมื่อเส้นทางเริ่มการจราจรไม่ติดขัดแล้ว ให้ขี่ทิ้งช่วงกันบ้าง5-10 เมตร โดยประมาณ ในลักษณะพันปลา เยื้องๆกัน อย่าขี่เรียงกันในแนวเส้นตรง เพราะคันหลังจะไม่ทราบสภาพถนน อาจชนกันได้
5. เพื่อไม่ให้เบื่อ อาจสลับตำแหน่งกันได้บ้าง คนที่ชำนาญแล้ว ต้องสลับตำแหน่งมาดูเพื่อนๆน้องๆบ้าง ไม่ใช้ลักษณะตัวใครตัวมัน
6. ทุกทางแยก ต้องมี1คัน( คันหน้าสุด)ที่คอยเตือนรถสวนหรือรถที่จะหลงเข้ามาในขบวนให้รู้ว่า มากันหลายคัน
7. ความเร็วเดินทางต้องใกล้เคียงกัน ประมาณ110-140 เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และ จะดียิ่งขึ้นถ้าเกาะกลุ่มกันไว้ เพราะแสงสว่างของไฟหน้าจะช่วยบอกรถบนถนนคันอื่นๆว่า อย่าเพิ่งออกมาก ปล่อยให้ขบวนของเราไปก่อน
8. ทุกคนต้องคอยสังเกตุเพื่อนๆในกลุ่ม ว่ามีใครหลุดจากกลุ่มไปบ้างรึเปล่าว
9. มอไซด์คันก่อนสุดท้าย ต้องรอเพื่อนคนท้ายสุดเพื่อบอกทางทุกทางแยกที่เลี้ยว เพื่อไม่ให้มีใครหลงทางหลุดกลุ่มไป
10 . แวะพักทุก 200km.ถ้าเป็นไปได้ เพราะอาจมีเพื่อนใหม่บางคนที่ยังไม่คุ้นรถและการเดินทางไกล จะได้มีเวลาปรับตัว ไม่อ่อนล้าและเพลียจนเกินไป
11. สำคัญมากข้อนี้.... อย่างแรกให้สำคัญในใจไว้ว่า เรามาเที่ยว มาขี่รถ มาชมธรรมชาติ มาได้เพื่อนใหม่ๆ เราไม่ได้มาแข่งกัน ไม่จำเป็นต้องอวดหรือโชว์ว่าข้าหนะเจ๋ง..ฉะนั้น อาจมีบางช่วงคนที่ชำนาญรถ ชำนาญทาง อยากขี่เร็วบ้าง อยากตื่นเต้นทาง ไม่แปลกถ้าจะบิดหายไปตื่นเต้นซักพักนึง แต่หลักๆต้องใส่ใจกัน เรามาด้วยกัน ต้องห่วงกัน ช่วยเหลือกันถ้าทำได้ พี่สอนน้อง น้องเตือนพี่ ทางช่วงไหนอันตรายต้องบอกกัน ชลอความเร็ว คนเก่งอย่าลากเพื่อน ลากน้องไปล้ม ไปตาย บอกเตือนเทคนิคการขี่ถูกต้องกับคนที่ไม่รู้ ให้เค๊าปรับปรุง แล้วรับรองครับว่าทุกคนจะอยากไปกันอีกหลายๆทริป
12. หากเดินทางช่วงเช้าหรือเย็น ต้องระวังให้มาก เพราะเป็นช่วงที่มีกิจกรรมของชาวบ้านระหว่างเส้นทางมาก เช่น เด็กๆถีบจักรยานไปโรงเรียน รถอีแต๋น อีแต๊ก มอเตอร์ไซด์เล็ก หรือแม้กระทั้งสุนัข ต้องระวังให้มากขึ้นเท่าตัว มองไปไกลๆ หากไม่แน่ใจให้ชะลอความเร็วลง อาจให้สัญญาณไฟสูงหรือบีบแตรรถช่วย อย่าชะล่าใจว่าคงจะไม่ ให้นึกกลัวไว้ก่อนดีที่สุด เพราะเกิดอุบัติเหตุช่วงเวลาดังกล่าวกับทริปรถใหญ่มาก

การตรวจเช็คกลางทาง เมื่อพักรถ
1. ยาง - ลมยาง
2. โซ่ หย่อนรึเปล่าว โซ่แห้งมั๊ย
3. น๊อตต่างๆทั่วคัน
4. สามารถดับเครื่องได้ทันที
5. เติม95 เว้นแต่จำเป็นก็91ได้บ้าง ( หลังๆมานี่หาเติมยากคงต้อง91เป็นหลัก )
6. เอาหมวกมาเช็คชิวส์ ล้างสิ่งสกปรกออก ( คราบแมลงนี่ระหว่างกลางทางกำลังขี่ ยังไม่จอดถ้าบินมาตายแบบเละๆอย่าเอามือป้ายออกเพราะจะเละกันไปใหญ่ ทิ้งไว้อย่างนั้น จนจอดพักค่อยเช็ดๆออกจะดีกว่า
7. ระดับน้ำมันเครื่องเป็นยังไง ถ้าใครขี่แบบที่ไม่สมบูรณ์คือกินน้ำมันเครื่อง ให้พกติดตัวไปด้วยจะดีมากๆ ยิ่งทางเขาพอลงมาถึงที่หมายแล้ว จอดซักพักก็ให้เช็คได้เลย ถึงใครที่ยังไม่เคยก็ต้องเช็ค แล้วยิ่งระหว่างทางถ้าขามาเงียบๆ ไหง..พอกลางทางเครื่องดังขึ้นๆ อันนี้เดาได้เลยว่าน้ำมันเครื่องพร่องลงไปจนเสียงวาล์วดังขึ้นมา รีบหามาเติมซะ
8. สายรัดของ อุปกรณ์ต่างๆที่มัดมายังดีอยู่หรือ
9. ระดับน้ำมันเบนซินในถัง ถ้าพร่องมากอย่าหวังน้ำบ่อหน้า ให้เติมไว้ก่อน เพราข้างหน้าอาจไม่มีก็ได้
10. เช็คความสนิทสนม คุยๆๆๆๆๆแล้วก็คุย

หากรถมีปัญหา
1. รถเสีย-รถล้ม บัดดี้ของเราจะทราบได้ทันทีไม่เกิน5-10นาทีจากจุดที่เราหายไป
2. อย่าเพิ่งรน ตกใจ กระหน่ำโทรหาเพื่อนทันที เพราะเพื่อนขี่รถอยู่ไม่มีใครได้ยิน ให้รอพักนึง10-15นาที
3. เข็นเข้าข้างทาง หาจุดที่เสียเบื้องต้นก่อน
4. ถ้าจัดการไม่ได้ให้รอเพื่อนซักครู่
5. อันนี้สำคัญ ให้ตั้งสติดีๆ ใจเย็นๆ และคิดในแง่ดีไว้ก่อน เสริมนิดหน่อยว่า ใครที่ใช้รถอยู่ทุกวันแล้วรถก็ไม่เคยเกเร อย่าเพิ่งชล่าใจ เพราะเคยเกิดขึ้นกับผมมาแล้ว เล่าให้ฟัง...ตอนนั้นขี่CBR1100 XX ใช้งานทุกวันรถก็ปรกติดีทุกอย่าง ระหว่างทริปขากลับ รถมาเสียกลางทาง มืดมาก เพื่อนๆไม่มีใครรู้เลย ( ขี่คันสุดท้าย ) เบื้องต้นก็พอจะทราบว่าน่าจะเป็นที่ไฟ ก็เช็คดูใหญ่ ไหนได้มารู้ตอนหลังว่าแบ็ตฯพัง แบบกระทันหัน ไม่มีอาการแจ้งเตือนมาก่อนเลย ดีว่าไม่ไกลมากก็จะถึงตัวเมืองแล้ว ได้ผู้ใจบุญ เพื่อนๆของเพื่อนอีกทีนึง มาช่วยไว้ ( คุณจอห์น ) ก็เลยรอดตัวไป เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าประมาท ยิ่งแบ็ตฯที่ใช้มานานแล้ว ต้องระวังครับ ถ้าทางไกลจริงๆ ใช้เวลาท่องเที่ยวเดินทางหลายวัน ระยะทางไกล อันไหนไม่ชัวร์ เปลี่ยนเลยครับ อย่าเสียดาย เพราะกลางทาง ในป่า ในเขา ต่อให้มีตังค์ก็ซื้อของไม่ได้นะจ๊ะ.......

เสนอแนะเพิ่มเติม
แต่ละคนต้องรับผิดชอบตัวเอง โดยการตรวจเช็ครถ สภาพร่างกาย และเส้นทางให้พร้อม พยายามเป็นภาระกับคนอื่นๆให้น้อยเท่าที่จะทำได้ ขี่ไม่เก่ง ขี่ช้าไปบ้าง อย่าไปเครียด ศึกษาเส้นทางให้ดี จุดแวะพักต้องเข้าใจ การขี่ต้องพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นๆ ไม่ประมาท ช้าหน่อยดีกว่าไปไม่ถึง ให้เกียรติทุกคน จะรถใหม่รถเก่าไม่เป็นไร แต่ขอให้สภาพพร้อมเดินทาง แล้วรับรองครับว่าทริปหนาวนี้ ทุกคนจะได้เพื่อนใหม่มากขึ้น รักกันมากขึ้น แล้วคุณจะรู้สึกกับเพื่อนใหม่เหมือนกับว่าคบกันมาหลายปีแล้ว เชื่อผม....
ขอให้ทุกคนมีความสุข สนุกกับทริปที่จะเดินทางครับผม
-------------------------------------------------------------
pum118 บทความ
1. เวลา
ต้องนัดกันให้แน่นอน หากจะ เลทๆได้กี่นาที ที่ต้องบอกอย่างนี้ เพราะ ถ้าไม่กำหนดเวลาที่แน่นอน หลายคน มักจะสายประจำ แล้วทำให้คนอื่นๆที่มาก่อนต้องเสียเวลารอ เสียความรู้สึก และที่สำคัญ ส่วนใหญ่แล้ว มักจะออกกันแต่เช้า เพื่อเลี่ยงรถติด ขืนรอให้ครบทุกคน ก็ออกไปเจอรถติดบนถนน เซ็งแย่เลย
2. เส้นทางที่จะเดินทาง และจุดหมาย
คนที่กำหนดเส้นทาง ต้องเข้าใจมากกว่าคนอื่น แล้วมาแจ้งให้สมาชิกทุกคนทราบ ถึงเส้นทางที่จะใช้เดินทาง เพราะคงไม่รู้จักทางกันทุกคน เป็นไปได้ให้เขียนแผนที่เลย สำเนาแจกทุกคน รวมถึงต้องหมายเหตุ จุดแวะพักด้วย โดยมากมักจะเป็นปั้มน้ำมันที่เห็นเด่นชัด เวลาที่คาดว่าจะถึงในแต่ละจุด ยกตัวอย่าง เช่น จุดเริ่มต้นเดินทาง( จุดรวมตัว ) ถ้าใครมาไม่ทันกำหนดเวลาที่ออกเดินทาง ให้เดินทางตามไปจุดนัดพบที่2เลย อันนี้สะดวกต่อพวกชอบมาสาย และส่วนใหญ่ที่มากันครบแล้วจะได้ไม่ต้องรอ เวลาของส่วนรวมจะได้ไม่เสีย
3. ระยะที่แวะพัก
ขอเสนอแนะนี้ น่าจะคุยกันในหมู่สมาชิกก่อน เพราะอย่างแรกคือ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะขี่รถได้ชำนาญเหมือนกัน คงปนกันไปทั้งมือใหม่ มือเก่า มือเก๋า และสารพัดมือ คนที่เพิ่งขี่รถใหม่ คือ ชั่วโมงบินยังน้อยว่างั้นเถอะ ฉะนั้น มันมีความกลัว ความเกร็ง สารพัดที่จะคิดไป เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดมากอาจใช้จุดแวะพักนี่หละ เป็นจุดที่ค่อยๆปรับ ได้ผ่อนคลาย บางทีอาจจะซัก 100 - 150 กม. / การแวะ1ครั้ง บางทีเอาง่ายๆคือให้ทุกคันเซ็ทไมล์รถเลยให้เป็น 0.000เหมือนกัน แล้วกำหนดจำนวนกิโลเมตรที่ต้องการ แวะเข้าปั้ม อันนี้ง่าย แต่ต้องคำนึงถึงเส้นทาง ฤดูด้วย บางทีถ้าร้อนมากๆอาจต้องแวะบ่อยหน่อย จะได้ไม่เครียดกันมาก ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้
4. แบ่งกลุ่มย่อย ในกรณีที่มีหลายคันมากๆ
อันนี้ยังไม่เคยเจอนะครับ ส่วนใหญ่แล้วมากสุดแค่5-15 คันเท่านั้น แต่ที่แนะนำคือให้จับคู่บัดดี้กันซะ จะได้ช่วยกัน ทีนี้มันก็จะมีแบบซ่ามาก ซ่าน้อย กลุ่มหน้า กลาง หลัง แบ่งกันแบบไม่เป็นทางการหละ ใช้ความเร็วเป็นตัวกำหนด กลุ่มที่ขี่ช้าคงอยู่หลังๆ แต่ว่าถ้าในสไตล์ผม ตำแหน่งจะไม่ฟิกซ์ จะสลับกันไปมา หน้าบ้างหลังบ้าง คนขี่เร็ว ยกคันเร่งมาอยู่ข้างหลังบ้าง คันช้าลองเร่งไปอยู่กลุ่มกลางๆบ้าง แต่ทุกคนจะคอยสังเกตุการอยู่ของทุกๆคัน หากมีคันไหนหายไปจะรู้ทันที

5.วิธีการขับแบบเป็นกลุ่ม
5.1 แบบฟันปลาหรือแบบขั้นบันได ... อันนี้ใช้บ่อย เพราะทัศนวิสัยของแต่ละคันจะดี ไม่บังกันเอง แล้วโอกาศที่จะวิ้งไปเฉียวชนกันมีน้อย
5.2 แบบเรียงกันไป ...อันนี้น่าจะเหมาะสำหรับในเมือง หรือการจราจรหนาแน่น และ การขึ้นเขา-ลงเขา ในเส้นทางคดเคี้ยว อย่างนึงของข้อดี มักจะใช้ในทางเขา เพราะ จะได้เรียนรู้การขี่ในสไตล์ของแต่ละคน การแซงคันนำควรมีสัญญานมือหรือไฟ ที่บอกว่าให้แซงได้ ในโค้งถ้าตามคันที่ช้ากว่าให้ระวังอย่างมาก ในโค้ง ต้องเปิดคันเร่งเพื่อแซง โดยไม่ลังเล และห้ามแซงกันใกล้ๆเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้
5.3 อันนี้สำคัญมาก เลย ทุกคนต้องมีน้ำใจ รักกัน ให้อภัยกัน ไม่งั้นตีกันตายเลย พยายามเรียนรู้นิสัยการขี่ของแต่ละคน
6. สัญญานมือ เช่น ยกมือฉากกับลำตัว90องศา แปลว่าให้หยุด
ยกมือขนานกับลำตัว โบกขึ้นลง แปลว่า ให้ชะลอความเร็ว
ทำมือคล้ายว่า จะถูพื้น..55 แปลว่า พื้นลื่น อาจจะเป็น น้ำ - น้ำมัน
โบกมือให้แซง แปลว่า ก็ให้แซงสิ........
ส่วนอันนี้ใช้บ่อย เหมาะสำหรับคันที่นำหน้าสุด คือ คอยโบกมือแสดงตามแยกหรือจุดกลับรถ ให้คนที่ขับรถทราบว่า อย่าเพิ่งออกมานะ ยังมีมอไซด์ตามหลังมาอีก นั้นคือในกรณีที่ขี่กันห่างไม่มาก และแนะนำว่า ทุกคันอย่าทิ้งช่วงกันมาก เพราะ ขี่กันเป็นกลุ่ม จะได้รับความสะดวกและปลอดภัยมากกว่า รถบนถนนเค๊าจะรู้ทันทีว่ามีรถมอไซด์มาเป็นกลุ่ม เค๊าจะชะลอความเร็วให้ หรือ ให้ทาง เราไปก่อน ถ้า คุณทิ้งช่วงกันมากไป ทีนี้พวกรถทั้งหลาย เค๊าไม่เกรงใจคุณหละ ฉะนั้นคันที่รั้งท้ายแบบตามห่างๆ จะรู้สึกทันทีเลย อันตรายนะ....
6. กันหลงทาง....
ในกรณีที่ ชี้แจงเส้นทางกันไม่เคลีย ก็ให้วางตัวคนในกลุ่มไว้ 1คันเสมอ ให้คอยจอดรถในทางแยก ทางร่วม เพื่อรอคันหลัง ชี้เส้นทางที่ถูกต้องให้ เสนอแนะว่า น่าจะเป็นคันที่ขี่ได้ไวหน่อย แต่คันหลัง ก้อย่าเพิ่งชะล่าใจนะ ขี่ซะเต่าเลย เพราะรู้ว่ามีคนรอ คุณต้องพัฒนาตัวเองให้ขี่ได้ดีขึ้น จะได้ไม่เป็นภาระของคนอื่น ( ไม่ได้หมายความว่าให้ขี่เร็วๆ หมายถึงการรับผิดชอบ เรียนรู้เส้นทางที่ไปด้วย ใช้ความเร็วในอัตราที่ไม่ช้าจนเกินไป จนเวลาของส่วนรวมเสีย ) แล้วอย่าลืมแลกเบอร์โทรของทุกคนไว้ด้วย
โอโห...โม้กันมาซักขนาดนี้ ไม่รู้มีคนเบื่อรึเปล่าว เอาเป็นว่าคงเอาเทคนิคของผมไปประยุกต์ใช้ไม่มากก็น้อย คนที่รู้อยู่แล้วก็อย่าเบื่อซะก่อนหละ ขอให้ทุกๆทริปของคุณ มีความสนุกสนาน ปลอดภัยตลอดเส้นทางนะครับ

ออกทริป
เริ่มแรก มาว่ากันถึงขณะขับขี่กันเลยนะครับ
1. การเลี้ยวซ้าย - ขวา ต้องให้สัญญานไฟเลี้ยวทุกครั้ง ( อาจเป็นสัญญานมือก็ได้ )
2. ระยะห่างจากรถคันหน้า ให้เว้นว่างอย่างน้อย1คันรถหรือมากกว่านั้นและต้องสลับฟันปลากัน คือวางตำแหน่งให้เหลื่อมๆกัน ที่ต้องบอกอย่างนี้เพราะ อาจเกิดอุบัติเหตุได้ถ้าไม่ขี่ใกล้กันเกินไป คันหน้าเบรคกระทันหัน คันหลังเบรคไม่ทัน จิ้มกันซะ
- การขับขี่บนทางเขา ให้เว้นระยะมากกว่าปรกติ แล้วห้ามแซงหากเป็นโค้งลับตา( มองไม่เห็นทางออก ) หากจะแซงคันหน้าให้กะระยะและเดินคันเร่งแรงพอที่จะแซงโดยไม่ปาดเข้าไปใกล้มากจนเกินไป จนอาจทำให้คันที่ถูกแซง ตกใจจนเสียอาการได้
3. ทางเขาที่ชันมากๆ ให้ใช้เกียร์ต่ำ เชนสลับไปกับการเบรค อย่าใช้เบรคอย่างเดียว เพราะเบรคจะร้อนเกินไปจนมีอาการที่เรียกว่าเบรคหาย วิธีแก้คือ ต้องจอดรอให้เบรคเย็นลงก่อน
มาข้อนี้เป็นข้อเสนอแนะนะครับ
- หากคุณยังไม่มีชั่วโมงบินมากพอ แนะว่าอย่าขี่นำเป็นคันหน้าหรือ คันแรก ทริปช่วงทางเขา ก็เพราะว่าคุณยังอ่านโค้งไม่ขาด มองไม่ออกว่าโค้งจะลึกรึเปล่าว? โค้ง2ขยักมั๊ย? ให้ขี่ตามดีกว่าครับ แล้วสังเกตุ อาการของคันหน้าที่เค๊ามี ประสพการณ์มากกว่า แล้วลองคาดการณ์การใช้เบรค หรือ เอนจินเบรค และอาการทางกายขณะเข้าโค้งดู ก็จะทราบว่า คุณควรจะทำอย่างไรเมื่อถึงตาของคุณบ้าง
- การแซงในโค้ง นั้นก็หมายถึงว่าคุณอยากลองของหละ แต่ก็ต้องอยู่ในขอบเขตมารยาทอันดีที่พึงกระทำ คือให้กะช่วงที่คันหน้า กำลังเดินคันเร่งต้นๆของโค้ง แล้วคุณต้องเดินรอบเครื่องให้เร็วกว่า เมื่อประกบมาแล้วกลางโค้งคุณต้องรีดคันเร่งแซงเลย ไม่ลังเลใจ แต่ต้องเว้นช่วงห่างให้รู้สึกว่าปลอดภัยนะครับ แซงกันแบบปาด แบบแฮนด์รถแถบจะชนกันนี่ไม่เอาครับ เราไม่ได้มาแข่งกัน แค่ลองกันสนุกๆเฉยๆ พอหอมปากหอมคอเฉยๆ แล้วช่วงที่แซงนี่คุณต้องมองโค้งออกนะครับ โค้งแคบไม่เหมาะอย่างมาก อันตรายกับตัวคุณเอง หากมีรถสวน หรือ คุณเร็วไม่พอ ไลน์ของรถ2คันจะมาทับกันพอดี แต่ตามมารยาท ดันที่ถูกแซง เมื่อมองจากกระจกมองหลังแล้ว เห็นคันหลังกำลังจะแซง คงต้องเดินคันเร่งให้น้อยลงหน่อย เพื่อให้คันหลังเสียบขึ้นมาได้ ไม่หวาดเสียว เราไว้แซงคืนโค้งหน้าก็ได้ ( ก็เพื่อนกันทั้งนั้น )
- การไล่กันแบบ บี้ติดตูด กันใกล้ๆ ตามความเห็นก็สนุกดี ถ้าเอาแค่สนุกๆ แต่ถ้าเป็นทริปที่คุณขี่กับคนอื่น ไม่ควรกระทำอย่างยิ่งครับ ยิ่งเพิ่งรู้จักด้วยนะ เพราะคุณไปสร้างความกดดันให้คนอื่น คันหน้าต้องพยายามหนี (สนุกตื่นเต้น )แต่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และหากใกล้กันเกินไปหากเบรคกระทันหัน คันหลังเสยตูดเลย( ไปทั้งคู่ )
- ในทีมคุณถ้าไม่สร้างภาพลักษณ์มากเกินไป ผมว่า สลับกันนำบ้าง สลับตำแหน่งในการขี่บ้าง จะดีมาก คือ ไม่เบื่อ ที่จะต้องมองหลัง หรือตูด ใครนานๆ ให้เค๊ามามองของเราบ้าง 55....
- ในกรณีที่มีมือใหม่ หรือ ขี่ช้า ไปด้วยกัน ต้องมีคนชำนาญทางคอยเป็นพี่เลี้ยงให้ในบางช่วงของถนน ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ เช่นทางเขา(ขี่นำไลน์ ) , ทางชำรุด - หรือทางลื่น
- ให้แจ้งเส้นทางการเดินทาง ให้ทุกคนทราบและจะดีขึ้นถ้ามีแผนที่ ระหว่างจุดทางเลี้ยว ทางแยก ต้องทิ้งคนบอกทางไว้1คนเสมอ ( คนที่ช้ากว่าจะได้ไม่หลง แล้ว เบอร์โทรของแต่ละคนในทีม ทุกคนต้องมีไว้ เผื่อหลงหรือ รถเสียกลางทาง
- ระหว่างที่ขี่กันไปเรื่อยๆ ก็ให้สังเกตุ มองหลังบ้างเป็นบางครั้ง เพราะถ้าคันที่เราขี่แซงมาหายไป น่าจะเป็นข้อสังเกตุถึงความผิดปรกติได้ ให้คุณหาวิธีบอกคันหน้าๆ ให้ทราบแล้ว จอดรอซักพัก หากยังไม่มาอีกให้ส่งคันนึงวนกลับไปดู
- การจอดรถบนทางชันหรือทางลาด ให้สังเกตุพื้นที่จอดให้ดี อย่าจอดแบบขาตั้งเดี่ยว เพราะถ้าพื้นไม่แน่นพอ รถจะล้มเพราะน้ำหนักรถมาก ให้หาอะไรรองขาตั้ง และที่สำคัญคือทางลาดให้จอดรถเข้าเกียร์เสมอ จะได้ไม่ไหล หากเกิดอุบัติเหตุอย่าจอดรถช่วยทันที ให้จอดเลยจุดอันตรายไปก่อน เช่นทางโค้ง ทางแยก หรือ ปลายสะพาน
- หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ให้ทำสัญลักษณ์บอก รถยนต์ที่ตามหลังมาเพื่อที่จะได้ทราบ ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำ และถ้ามีคนเจ็บ หากสลบหรือไม่รู้สึกตัว อย่าช่วยในทันที เช่น ยกหรือลาก อุ้ม ไม่ได้ทั้งนั้น เพราะอาจเกิดอันตรายถึงตายได้ เราคนที่ช่วยต้องปล่อยไว้อย่างนั้น เรียกให้รู้สึกตัวก่อน ถามถึงอาการให้คนเจ็บลองขยับแขน-ขาดู ว่าเจ็บตรงไหน ถอดหมวกกันน็อคออก( ถ้าทำได้ ) หรือมีคนนึงช่วยประคองต้นคอไว้ แล้วอีกคน ค่อยๆดึงหมวกออก หากขยับตัวไม่ได้ให้เรียกหาคนช่วยทันที แต่ห้ามขยับเด็ดขาด จนกว่าคนที่มีความรู้เรื่องปฐมพยาบาลจะมา
- ขอให้ทุกคน นึกเสมอว่า เรามาเที่ยวกัน ไม่ได้มาขี่แข่งกัน ถ้าจะโชว์พาวเวอร์ หรือ อีโก้ ให้ไปลองกันในสนามเลย ชุดแข่งครบ พนันกันเลยก็ยังได้ แต่ ทีนี้เรามาเที่ยวกัน ให้นึกถึงความปลอดภัยไว้ก่อน ช่วงไหนเร็วไปน่าจะเกิดอันตรายก็ให้ลดความมีทิฐิลงบ้าง เพื่อนกันทั้งนั้น ไปกลับปลอดภัย สนุกสนานกันทุกคนจะดีกว่า
- อีกอย่างนึง ขอบอกเป็นข้อคิด ข้อสุดท้ายคือ คำพูดที่ผมมักพูดบ่อยๆคือ " ไอ้คนที่ยังเหลือขี่อยู่ทุกวันนี้หนะ ไม่เก่งซักคน เพราะว่า ไอ้คนที่มันขี่เก่งๆหนะ มันตายหรือไม่ก็พิการไปหมดแล้ว " ก็จำมาจากรุ่นพี่ รุ่นน้า คนอื่นเหมือนๆกัน

จบ


.....................................................................................

ขอบคุณบทความของพี่ปุ้มมากๆเลยครับมีประโยชน์มาก ผมชอบท่อนสุดท้ายจริงๆเลย (ไอ้คนขี่เก่งๆน่ะมันตายไปหมดแล้ว) จากประสบการณ์ของผมที่เคยเจอมาบางครั้งวางแผนกันไม่ดีทำให้เราต้องเสียเวลาเป็นอย่างมาก มีครั้งนึงไปกาญกันประมาณ 15 คัน นัดทานข้าวเช้ากันที่ไทรโยคน้อย ปรากฏว่าคนที่ไม่รู้ทางอยากซิ่งขี่นำหน้า ทำให้คนข้างหลังไม่สามารถแวะทานข้าวที่จุดนัดแรกได้ ต้องตามกวดคันหน้าไป..สรุปก็เลยไม่ได้กินข้าว ไปกินก็เลยไปอีก ชม.กว่าๆหิวมากๆ แถมแค่นี้ยังไม่พอ ไอ้คนที่เลยดันแวะปั๊มเติมน้ำมันปั๊มเล็กๆเพราะน้ำมันหมดเนื่องจากไม่ได้เติมเต็มถังจากจุดนัดพบแรก ทำให้เพื่อนๆอีกหลายคันต้องจอดรอ หรือบางคันก็จอดเติมในปั๊มเล็กๆนี้เลย ส่วนเพื่อนอีกกลุ่มที่ขี่เลยเพราะว่าไอ้คันแรกเข้าปั๊มแบบตามใจฉันไม่ได้ให้สัญญาณกับใครเลย เพื่อนก็แวะไปเติมปั๊มถัดไป แถมกลุ่มหลังสุดบอกว่ายังไม่เติมจะเลยไป ปตท.ใหญ่ๆ สรุปว่าผมแวะทั้ง 3 ปั๊มติดต่อกัน แล้วเพื่อนๆคิดว่าขี่รถกลางแดดใส่เสื้อเกราะชุดเต็ม เวลาต้องมาจอดรอเพื่อนเติมน้ำมันนอกแผนการมันสนุกนักหรือครับ ทั้งที่จริงแล้วปัญมามีแค่รถเพียงคันเดียวที่ไม่รู้แผนการแต่ดันอยากเป้นผู้นำ จริงๆตามหลักแล้วอีก 14 คันที่เหลือก็ต้องจอดแวะพักทานข้าวตามแผนไว้ ส่วนคันที่เลยพอเค้ามองกระจกไม่มีใครตามมาเค้าก็จะวกกลับมาเองเพราะเค้าผิดแผน แต่ด้วยความที่ในกลุ่มหลายคันไม่รู้ว่าจุดทานข้าวจุดแรกอยู่ตรงไหนก็เลยขี่ตามไปกันหมด สรุปว่าหิวครับ เป็นการเที่ยวที่เละเทะมากครับ ถ้าเพื่อนๆไม่อยากมีปัญหาระหว่างการเดินทางนัดประชุมวางแผนกันให้ทุกคนเข้าใจให้ดีๆก่อนจะเที่ยวกันอย่างสนุกสนานและปลอดภัยครับ



ไม่เที่ยวตอนนี้แล้วจะเที่ยวตอนไหน หรือจะรอเที่ยวตอนแก่
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 11, 2010, 01:37:58 PM
"เติมลมยางไนโตรเจน"

ปัจจุบันการเติมลมยางไนโตรเจน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยม เพราะมีข้อดีหลายอย่าง
ในระยะเริ่มต้น มีเติมเฉพาะยางล้อเครื่องบิน และ รถแข่งเท่านั้น

ข้อดีของการเติมลมยางด้วยไนโตรเจนมี ดังนี้

1. ช่วยประหยัดน้ำมัน จากการพิสูจน์ในอเมริกา รถที่เติมลมด้วยไนโตรเจน อัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน
จะลดลง โดยจำนวนระยะทางที่วิ่งได้ต่อน้ำมัน 1 แกลอน จะสูงขึ้น 1 ถึง 1.5 ไมล์

เหตุผล ด้วยอุณหภูมิของล้อที่ลดลง เมื่อใช้ลมยางไนโตรเจน จะช่วยลดแรงเสียดทานในการหมุนของยาง จึงช่วยประหยัดน้ำมัน

2. ปลอดภัยยิ่งขึ้น ทำให้อุบัตเหตุที่มีสาเหตุจากยางลดลง

เหตุผล เพราะไนโตรเจนจะช่วยรักษาอุณหภูมิของยางอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ความดันภายในลมยางขยายตัวได้น้อย จึงช่วยลดอุบัติเหตุจากการระเบิดของยางที่เกิดจากความร้อน

3. ไม่ต้องตรวจเช็คลมยางบ่อย อันนี้คงเหมาะกับสุภาพสตรีทั้งหลายที่ไม่มีความชำนาญเรื่องการ
ดูแลรักษารถ

เหตุผล เพราะไนโตรเจนมีอะตอมขนาดใหญ่กว่า ออกซิเจนมาก ทำให้ซึมเข้าออกเนื้อยางได้ยากกว่าออกซิเจน ดังนั้นลมยางจึงไม่ค่อยลดลง

4. ช่วยยืดอายุยาง มีผลมากกับยางที่ใช้น้อยแต่ใช้มาเป็นเวลานานๆ

เหตุผล เพราะการเติมลมยางปกติ ที่มีออกซิเจนผสมอยู่มากจะเข้าไปทำปฎิกิริยากับเคมีในเนื้อยาง ทำให้เสื่อมสภาพเร็วกว่าไนโตรเจน นอกจากนี้การที่อุณหภูมิร้อนน้อยกว่าทำให้ยากสึกหรอน้อยกว่าอีกด้วย

ที่มา : บริษัทบริดจสโตนเซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: makky ที่ ตุลาคม 11, 2010, 01:43:48 PM
การเติมลมยาง

(http://image.ohozaa.com/iv/yw3u1.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=d3bfd865fa370204c7db03e8677406e9)

การเติมลมยางถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการดูแลรักษายางรถยนต์ ถ้าขาดการดูแลที่ดี จะเกิดผลเสียดังนี้



เติมลมน้อยเกินไป
ยางจะบวมล่อนได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง ดอกยางสึกผิดปกติ อาจจะสึกที่ขอบยางข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง สึกที่ไหล่ยางหรือ
สึกที่ปลายดอก มีความฝึดที่ผิวสัมผัสมาก ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงกว่าปกติ

เติมสูบลมมากเกินไป
เมื่อได้รับแรงกระแทกจะระเบิดได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง ดอกยางโดยเฉพาะกลางหน้ายางจะสึกมาก ถ่ายเทการสั่นสะเทือนหรือการ
กระแทกขึ้นสู่ตัวรถได้มาก ขาดความนุ่มนวล

การเติมลมของยางล้อคู่
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมลม และรักษาระดับแรงดันลมในล้อคู่ให้เท่ากันตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นยางเส้นที่มีแรงดันมากจะรับน้ำหนักมาก
ชำรุดเสียหายง่าย สึกหรอผิดปกติ เส้นที่เติมลมน้อยจะรับน้ำหนักน้อย การสึกของยางจะไม่เรียบเสมอกัน หรือสึกอย่างผิดปกติ

- ไม่ควรปรับความดันลมยางในขณะยางร้อน เนื่องจากความร้อนทำให้อากาศขยายตัว

- ยางเรเดียลเส้นลวดต้องเติมลมมากกว่ายางผ้าใบธรรมดา


ความแตกต่างของแรงดันลมเพียง 1 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 14 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 400 ก.ก. ถ้าแรงดันลมต่างกัน 2 ก.ก./
ซ.ม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 800 ก.ก. ในกรณีแรงดันลมต่างกัน 2 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว ยางเส้น
ที่เติมลมมาก จะมีอายุใช้งานเพียง 70% เส้นที่ลมยางอ่อนจะมีอายุการใช้งานเหลือเพียง 45% การเติมลมให้เท่ากันจึงมีความจำเป็น
อย่างยิ่ง


เพราะฉะนั้น จึงควรเติมลมให้พอดี ตามเกณฑ์ที่โรงงานกำหนด หรือพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งาน นอกจากต้องเติมลมให้ถูก
ต้องแล้วจะต้องมีการตั้งศูนย์ล้อ ตั้งมุมของล้อหน้า ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรฐานของรถยี่ห้อนั้นๆ อีกด้วย

การตรวจเช็คลมยาง ควรตรวจเช็คในขณะที่ยางยังเย็นอยู่ และเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องควรเติมลมยางให้ได้ตามมาตรฐานที่บริษัทรถกำหนด

นอกจากนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเก็บยางไว้นานๆ ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ยางสัมผัสกับความร้อน แสงแดด ลม ฝน ความชื้น น้ำมัน และ
สารเคมีต่างๆ หากสามารถปฏิบัติได้ตามนี้ อายุการใช้งานของยางก็จะยาวนานขึ้น
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ลำไยกะโหลก ที่ ตุลาคม 12, 2010, 03:24:31 PM
 ขอบคุณครับ แต่ไม่เห็นภาพ
 pray
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: MR.TEE ที่ ตุลาคม 12, 2010, 04:04:45 PM
 thumbsup thumbsupสุดยอดเลยครับพี่ เป็นแหล่งข้อมูล และให้ความรู้ในการขับขี่ที่ดีมาก ขอบคุณมากเลยครับที่นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยช์ในการขับขี่อย่างมาก worship
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: eVo90 ที่ ตุลาคม 12, 2010, 06:37:58 PM
ขอบคุณ คุณmakky ที่นำข้อมูลเหล่านี้มาเผยแพร่ต่อใน HDP ครับ ผมอยากฝากถึงที่มาที่ไปของข้อมูลเหล่านี้ว่า เป็นข้อมูลที่อยูในเวป http://www.stormclub.com/ ซึ่งรวบรวมไว้โดยกลุ่ม Storm Rider เพื่อนๆในเวปนี้หลายๆท่านได้เคยผ่าน Riding Course ที่ทางกลุ่ม Storm ได้จัดขึ้นเสมอๆ มาแล้วคณะผู้บรรยายหลายๆท่านก็คือผู้มีประสพการณ์ในการขับขี่ทั้งในและนอกสนามแข่งขัน และหลายท่านเป็นผู้บรรยายและอบรมณ์ในส่วนของ Sefty Riding Course ให้กับข่ายรถจักรยานยนต์ยักษ์ใหญ่ในบ้านเรา ผมอยากให้ทุกๆท่านได้ให้เครดิตในข้อมูลทั้งหมดนี้แก่กลุ่มผู้ที่จัดทำและรวบรวมไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจารย์ชุมพล ที่เป็นหัวเรียวหัวแรงสำคัญทั้งในการจัดทำข้อมูลเหล่านี้รวมไปถึงการจัด Riding Course ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าขณะนี้อาจารย์ชุม ได้เสียชีวิตแล้วอย่างที่หลายท่านทราบ ก็ถือได้ว่าเจตนารมณ์ของอาจารย์ชุมทีต้องการให้การขับขี่เป็นไปด้วยความถูกต้องและปลอดภัยยังคงได้มีการสานต่อมาถึงพวกเราใน HDP แห่งนี้ แต่อย่างไรก็ตามผมอยากฝากขอบคุณท่านทั้งหลายโดยเเฉพาะอาจารย์ชุม ที่เป็นผู้รวบรวมและจัดทำเรื่องราวดีๆทั้งหมดนี้มาไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: plawarn ที่ ตุลาคม 22, 2010, 12:00:44 AM
ขอบคุณครับ ขอบคุณมากๆ ได้ประโยชน์สุดๆ และจะนำไปปฏิบัติตามครับ
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Angelita-DarknessRamaV ที่ ตุลาคม 22, 2010, 11:57:26 AM
 pray worship thumbsup
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: JUNG-RIDER ที่ ตุลาคม 29, 2010, 12:48:34 AM
   eyeopoping eyeopoping มีประโยชน์  ได้สาระ  ขอบคุณครับบบบบบบบบ     sadangel sprint 
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Independence ที่ ตุลาคม 29, 2010, 01:11:51 PM
ขอบคุณครับ  thumbsup thumbsup
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: k_kitti ที่ พฤศจิกายน 19, 2010, 01:36:14 PM
มีประโยชน์มากครับ   thumbsup thumbsup thumbsup thumbsup
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: V2 ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 03:28:04 PM
อ่านอีก
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: north010 ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 03:46:01 PM
ขอบคุณครับดีและมีประโยชน์มากๆครับ.
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่ ถ้าว่างจะ อัพ เรื่อยๆ น่ะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: nooi ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 06:26:09 PM
สาระแน่นประโยชน์มากมาย ขอบคุณคับ thumbsup
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่
เริ่มหัวข้อโดย: anusorn/deaw ที่ ธันวาคม 14, 2010, 04:01:17 PM
ไว้มีโอกาศ คงต้องไปรับการอบรม ที่นี้แน่นอนครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนี้นะครับ
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่
เริ่มหัวข้อโดย: port_hd ที่ ธันวาคม 14, 2010, 04:20:39 PM


 ขอบคุณมาก ๆ ครับผมสำหรับข้อมูล ดี ๆ มีประโยชน์ มากมายครับ
หัวข้อ: Re: เทคนิคการขับขี่
เริ่มหัวข้อโดย: jakrapan ที่ ธันวาคม 18, 2010, 03:23:22 AM
ดีสุดๆขอบคุณครับ thumbsup thumbsup thumbsup thumbsup