RECENT POST
B-C-01<br>Expired::
B-C-02<br>Expired::
B-C-03<br>Expired::
กำลังของสติ
By vrod raider
DATE: 2011.08.15
VIEW: 2284
POST: 1
แบ่งปัน   Like
ผมไม่หวังให้คุณอ่านจนจบ  ผมไม่หวังให้คุณต้องเข้าใจเดี๋ยวนี้ ผมไม่หวังว่าคุณจะทำตามหรือไม่ ผมไม่หวังใดๆเลย เพราะเมื่อมีความหวัง ย่อมต้องมีสมหวังและผิดหวัง มันเป็นทุกข์ที่มาพร้อมเสมอ
 
ผมได้ไปฝึกปฎิบัติธรรม จากวันป่าสุคะโต ที่ จ. ชัยภูมิ  เดิมทีเคยไปบวชที่วัดนี้และ เคร่งเก็บอารมญ์ ได้ 10 วันก็ถึงกำหนดต้องสึก ได้เข้าใจว่าคนเรามีความเชื่อผิดๆ ที่ว่า ถ้าไม่ทุกข์จนถึงที่สุด จะไม่หันหน้าเข้าหา ธรรมะ หรือ ตอนนี้ยังไม่มีอายุมากพอที่จะไปปฎิบัติธรรม และยังเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นคือมันเป้นความคิดหลอกๆ เนื่องจากสังขารเรายังไหว ถ้ารอจนแก่ไปแล้ว รึนานไปแล้ว มันจะมีโอกาศเท่าไหม มันจะได้มีเวลาเหลือพอไหม
 
ตอนนี้นี่คือโอกาศ ที่เราควรจะไปเรียนรู้และปฏิบัติธรรม  เพราะธรรมของพระพุทธเจ้านั้น  เอาไว้ดับทุกข์โดยเฉพาะ พระองค์ทรงเบื่อหน่ายในความเป็นไปของชีวิต เกิด มา ตั้งอยู่และดับไป เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันเป็นวงกลมไม่จบไม่สิ้น และทุกข์มันก็อยู่คู่กับเรา อย่างแนบแน่นแกะกันไม่ออกซะด้วย
 
แต่เราจะมีเครื่องมือหรือวิธีการใดๆ ที่สามารถ รับมือกับความทุกข์เหล่านั้นได้ พระพุทธเจ้าได้ทรงยอมเสียสละตนเองเป้นเครื่องทดลอง ไม่ว่าจะเป้นวิธีการ บำเพ็ญทุขกิริยา  ทดลองวิธีอื่นๆ มาอีก 40 วิธี จนในที่สุด ก็หาทางสยบ กิเลศ ลงได้  อันกิเลศ เกิดจาก โทสะ โมหะ โลภะ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงจำแนกแจกจ่าย วิธีการเกิดของทุกข์ และวิธีดับทุกข์ไว้ ในอริยสัจ 4
 
1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5
 
2. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิและ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ
 
3. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง
 
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีก
 
ชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
 
มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
 
ซึ่งมันยากต่อความเข้าใจ และต้องมานั่งอธิบาย  ผมเลยจะสรุปให้สั้นๆละกัน  คือ แนวทางการฝึกในการดับทุขก์  มองทุกข์ให้เป็นอากาศ  ไร้ทุกข์ ไร้สุข  ไร้ตัวตน
 
นั้นคือการฝึกสติของตัวเรานั้นให้แข็งแรง  รู้ทันความคิดของเราเอง   คนส่วนใหญ่จะรู้ ว่า ความคิดของตนเองนั้นเองทำร้ายตัวเองได้  แต่ไม่รู้หนทางในการบำบัด รักษา เยียวยาจิตใจตัวเอง เนื่องจาก สติยังไม่มั่นคงพอ ที่จะรู้เท่าทันความคิด ของตนเองว่า เป้น กุศลจิต รึ อกุศลจิต อะไรคือเท็จ อะไรคือ จริง  เป็นอวิชชา หรือเป็นวิชชา  
 
ขอยกตัวอย่าง   ความคิดเมื่อฟุ้งซ่าน  เมื่อมันฟุ้งไปแล้ว  มันก็จะต่อยอด ในบางครั้ง จะมีผลต่อร่างกาย คือความเศร้า ความโกรธ ความหงุดหงิด ความรำคาญใจ ทั้งๆที่ เหตุการณ์นั้นเกิดไปนานแล้ว  บ้างก็อาจยังไม่เกิด
 
อารมญ์ที่แปปรวนเหล่านี้  เกิดจากความคิดของตัวเอง เล่นตลกกับเราเอง เพราะ สติเรามีกำลังไม่มากพอที่จะรู้ทันว่า  เอะ เรากำลังคิดอะไร  มันไม่จริงนะ  มันเกิดไปแล้ว  รึทำไปแล้วมันจะมีผลอย่างไรต่อไปในอนาคต
 
 เมื่อเราฝึกสติได้ขณะนึงไปแล้ว  สติเราเข็มแข็งได้ในระดับนึง  เราจะสามารถแยกความจริง ความเท็จออกจากกันได้
 
จริงๆแล้ว สติมันอยู่กับเราตลอด แต่ส่วนใหญ่มันจะหลับ ต้องปลุกมันขึ้นมาทำงาน การจะปลุกมันได้ก็เหมือนกับคนขี้เกียจง่วงหาวซึม  สติจะไม่แจ่มชัด ความอยากจะได้ อยากจะมี ความคิดที่เกิดขึ้นตลอด ทำเราหลงอยู่ในความคิด หาทางออกไม่ได้ แต่เมื่อเราตั้งใจจะทำอะไรสักอย่าง สติก็กลับมามีกำลัง ทำให้ความหลงเหล่านั้นหยุดไปชั่วคราว แต่มันก็จะเผลอหลุดไปได้อีก ติดอยู่ในความคิดอีก
 
เป็นอย่างนี้เรื่อยๆไป  ดังนั้น  เราจึงใช้การฝึกสติด้วยการเอาสติมาจับไว้ที่อิริยาบทของตัวเราเอง ไม่ว่า จะนั่งนอน ยืน เดิน หายใจ ให้รู้สึกตัวเสมอ ไม่ต้องไปนั่งหลับตา ไม่ต้องไปทำอะไรให้มันยาก แค่บอกกับตัวเองว่า  เรารู้ทุกการเคลื่อนไหวของร่างกาย  เฝ้ามองความคิดของตัวเอง ให้เกิดความรู้เท่าทัน แยกออกว่านั้นคือ สิ่งที่ควรจะคิดจริงๆใช่หรือไม่ หรือว่ามันหลอก ให้เรารู้สึก ยินดี มีความสุข หลงไปในความคิด  เช่น การคิดถึงในสิ่งต่าง การคิดถึงอาหารมื้อต่อไป การคิดถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้ว การคาดเดาสิ่งที่จะเกิดในอนาคต เราต้องแยกให้รู้ว่า สิ่งใดเท็จ สิ่งใดจริง สิ่งใดเมื่อคิดแล้วก็ต้องปล่อยวางไป
 
เป็นการตัดกรรมไปในตัว วจีกรรม วาจากรรม และ มโนกรรม เพราะเรารู้เท่าทันกับสิ่งที่พึ่งจะเกิด เมื่อเราเท่าทันกับสิ่งที่เป็นอกุศลจิตแล้ว  เราก็เหมือนมีแผนที่ มี GPS มีหลงทางไปบ้างแต่เราก็ยังกลับมาทางเดิมได้เสมอ ไม่หลงทางจนกลับไม่ได้
 
ผมเห็นเพื่อนๆ หลายคน นอยด์  มองเห็นเพื่อนๆหลายคนหลงในความสุขทางโลก มองเห็นตัวผมเอง ในกองทุกข์ที่จะเกิดในวันข้างหน้า ทำให้เกิดความทุกข์ ดังนั้นเพื่อที่จะขัดเกลาจิตใจให้เบาสบาย จะได้มีหนทางการวางตัวในวันข้างหน้า  ผมจึงต้องเตรียมการรับมือกับอาการทุกข์เหล่า  ทุกข์เหล่านั้น เกิดจากกิเลศ เกิดจากความคิด  ดังนั้น การปฎิบัติธรรมในครั้งนี้ คือการจัดการระบบกรรมใหม่ ด้วยการจัดระบบความคิดเสียใหม่   คิดดี ย่อมทำดี เมื่อทำดี ย่อมอิ่มใจ แต่ถ้าอิ่มใจมากเกินไปก็นำมาซึ่งความทุกข์ได้อีก ต้องไปลดให้กลับมาสู่ทางสายกลาง ความ มี ความไม่มี ความแน่นอน ความไม่แน่นอน เหล่านั้นมันล้วนแต่เราสร้างขึ้นทั้งนั้น
 
บางคนก็เครียดเรื่องครอบครัว เรื่องลูก เรื่องการงาน เรื่องต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวพันในชีวิต เครียดเพราะกลัวไปล่วงหน้า เครียดเพราะกลัวว่าสิ่งต่างๆที่เคยได้รับจะไม่เท่าเดิม  ถ้าคุณเกรียดอยู่ ทุกครั้งที่คุณขยับตัว ทุกครั้งที่คุณต้องไปขับรถ  คุณลองรู้สึกตัว จับอารมณ์ในการรู้สึกให้ได้  จับพวกมาลัยรถก็รู้ว่าจับ เข้าเกียร์ก็รู้ว่าเข้าเกียร์ กำลังจะไปไหนก็รู้ แม้แต่จะไปห้องน้ำ ก็ให้รู้ว่าไปทำอะไร
 
ถ้าคุณยังเดินสะดุดพื้น ถ้าคุณยังหลงๆลืมๆ ตัวสติของคุณกำลังอ่อนกำลังลง จนทำให้คุณเผลอ เหมอ ขาดสติ ทำให้ อกุศลจิตเข้าครองครอง เมื่อนั้น  ความเดือดร้อน ความยับยั่งชั่งใจก็จะไม่มี เป้นเหตุทำให้เกิดความเดือดร้อนได้
 
ถ้าสนใจการฝึก ผมจะแนะนำให้ได้ ถ้าสนใจการดับทุกข์ ผมแนะนำให้ไม่ได้ ต้องลองทำเองครับ
Comments  
Posted by mysupranee
Date: 2011.11.28
พิจารณาธรรมได้ดังที่คุณเล่าให้ฟังแล้วจึงคิดตก