A-C-01<br>Expired::
A-C-02<br>Expired::
A-C-03<br>Expired::
 
[Interview & Review]
 
Big Cycle: ร้านใหญ่แดนอีสานเหนือ
By HDP PR
DATE: 2011.03.21
VIEW: 2151
POST: 0


หลายปีมาแล้วที่ HDP ได้เคยออกทริปผ่านมาทางอีสานเหนือ และได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมคารวะ พี่โต้ง แห่ง Big Cycle อุดร พร้อมกับตั้งใจว่าจะนำบทสัมภาษณ์ มาจัดทำเป็นคอลัมน์แนะนำให้เพื่อนๆ พี่ๆ ชาวมอเตอร์ไซค์ได้ทำความรู้จักกับร้านใหญ่แห่งดินแดนอีสานเหนือแห่งนี้ แต่ข้อมูลทั้งหมดที่เตรียมเอาไว้ ก็ได้หายไปพร้อมกับเครื่อง Notebook โดยฝีมือของโจรแขกขาวที่สนามบินบรัสเซลซ์ จนมาถึงปี 2010 ถึงได้มีโอกาสไปตระเวนสำรวจพื้นที่ทางภาคอีสานอีกครั้ง เลยถือโอกาสบึ่งรถจากขอนแก่น มาสู่ อุดรธานี เพื่อมาคารวะพี่โต้งกันอีกครั้งหนึ่งครับ
 



HDP: Big Cycle เริ่มเปิดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ
พี่โต้ง: ถ้ารวมตั้งแต่เปิดจนถึงปัจจุบัน ปีนี้ก็เป็นปีที่ 19 ครับ

HDP: อยู่ที่นี่มาตลอดเลยเหรอครับ
พี่โต้ง: คือแต่ก่อนเราอยู่ในเมืองครับ แล้วก็ตอนนั้นทางนี้ก็ยังสร้างไม่เสร็จ พอทางนี้สร้างเสร็จ ถนนอะไรเรียบร้อยแล้ว เราก็ย้ายมาอยู่ที่นี่ เรามาอยู่ที่นี่ประมาณ 7 ปี แล้ว

HDP: โห ยุคนั้นก็เป็นยุคที่มอเตอร์ไซค์กำลังเริ่มนิยมเลยนะครับ
พี่โต้ง: ครับ มอเตอร์ไซค์ใหญ่กำลังเข้ามาบ้านเราเยอะเลย ช่วงนั้นกำลังเป็นที่นิยม ในตอนนั้นก็มีทั้ง 2 อย่าง คือ มีทั้งพวกซุปเปอร์ไบค์แล้วก็มีทางช็อปเปอร์ด้วย ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็มาจากจังหวัดใกล้เคียงครับ ขอนแก่น หนองคายก็มาที่นี่

 

 

HDP: แล้วพี่โต้งเริ่มขี่มอเตอร์ไซค์ตั้งแต่เมื่อไรครับ
พี่โต้ง: ก็เริ่มขี่ตั้งแต่เปิดร้านเลย ก็น่าจะ 20 กว่าปีแล้ว ตอนนั้นก็จะเป็น Yamaha XV750

HDP: ตอนนั้น 7 แรงครึ่งนี่ก็ใหญ่มาก
พี่โต้ง: ตอนนั้นก็ใหญ่ครับ พอดีว่าตอนนั้นชอบ...รู้สึกว่าชอบ แล้วก็เริ่มต้นเป็นช็อปเปอร์เลย ไม่ได้มีสปอร์ตหรือครุยเซอร์อะไรเลย ตัวรถเล็กยุคนั้น ส่วนมากจะเป็นรถนำเข้าจากญี่ปุ่น เป็นพวกรถ 250 ซีซี ก็มี เป็นพวกรีเบลก็มีครับ ก็จะขี่รถขนาดใหญ่มาตลอด ตอนเริ่มต้นใหม่ๆ ตัวเล็กๆ ไม่ได้ขี่เลยครับ มาจับรถใหญ่เลย

HDP: แล้วพี่โต้งเริ่มขี่ฮาร์เล่ย์มาตั้งแต่ตอนไหน
พี่โต้ง: ฮาร์เล่ย์นี่มาขี่ตอนที่เริ่มจะเปิดร้านใหม่ๆ ช่วงประมาณปีที่ 20 ปี 91-92 ตอนนั้นโอ้โห ภาพของคนเหล็กนี่กำลังดังเลย เป็นปีของ Fatboy เลย ดังมากตอนนั้น เราก็ฝังใจเลย ตอนนั้นก็ได้คันแรกเป็น Heritage Softail ปี 93

HDP: ตอนนั้นแถวนี้มีคนขี่ฮาร์เล่ย์รึยังครับ
พี่โต้ง: โอ๊ย หายากมาก สมัยก่อนนี่แบบ รถฮาร์เล่ย์เทียบกับปัจจุบันแล้ว หายากมากเลย แต่ละจังหวัดแถวทางอีสานนี่แทบจะนับคันได้เลย น้อยมากๆ ครับ เต็มที่เลยผมให้ไม่เกิน 3 คัน

HDP: แต่สมัยก่อนมีฐาน GI อยู่ที่นี่ ก็น่าจะมีของอเมริกันเยอะนี่ครับ
พี่โต้ง: ครับ แต่ว่าช่วงสมัยนั้นตอนที่ GI เลิกไป ปรากฎว่า มีกลุ่มที่เขามารับซื้อรถพวกนี้ กลับไปต่างจังหวัดของเขา อย่างพวก โคราช หรือจังหวัดอื่นๆ กลับกลายเป็นว่าอุดรฯ นี่ไม่มีรถพวกนี้เหลืออยู่เลย อย่างพวก WLA อะไรพวกนี้ก็ไม่เหลือ อย่างในตอนนั้นก็จะมีพวก Shovel หรือพวก Panhead ทั้งตัว 750 ก็มีครับ สมัยนั้น

HDP: เท่าที่ขี่ๆ ฮาร์เล่ย์มา พี่โต้งชอบเครื่องยนต์ตัวไหนที่สุดครับ
พี่โต้ง: ถ้าสำหรับผมก็ชอบตัว Evo ครับ ก็ชอบฟีล Evo มากกว่า แต่เนื่องจากเทคโนโลยี เรื่องความทันสมัยที่จะต้องตามให้ทันโลก เขาก็เลยเปลี่ยนแปลงไปเป็น Twin Cam หรือว่าหัวฉีดไปแล้วในปัจจุบัน

HDP: แล้วตัวเก่าๆ พวก Panhead พวก Shovel ละครับ
พี่โต้ง: ถ้าพูดถึงตลาดทางด้านนี้ พวก Shovel หรือว่า Panhead นี่ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะเขากลัวเรื่องการเซอร์วิส แต่ถ้าถามว่าคนรุ่นหลังนี่ ที่รุ่นอดีตที่ก่อนเราเนี่ย ก่อนที่พวกเราจะมาเล่นเนี่ย พวกนั้นเขาชอบ

 





HDP: ก็ยังมีคนที่เล่น Shovel อยู่แถวนี้เหมือนกัน
พี่โต้ง: ครับ แต่ว่ามีเป็นส่วนน้อย เพราะจริงๆ แล้วคนแถวนี้จะซื้อฮาร์เล่ย์เพื่อสำหรับขี่ท่องเที่ยว จะไม่ค่อยแบบว่าซื้อมาเพื่อขี่ฉาบฉวย เพราะฉะนั้นเค้าจึงต้องการรถที่มีสมรรถภาพที่จะพร้อมในการเดินทาง

HDP: มีทริปไหนที่ชอบ ไปแล้วอยากไปอีก หรือว่าทริปที่ประทับใจมั้ยครับ
พี่โต้ง: หลวงพระบางครับ เป็นที่ที่ประทับใจที่สุดเลย เพราะว่าได้ไปสัมผัสบรรยากาศ และชีวิตความเป็นอยู่ของเขา เริ่มขี่จากนี่ไปหนองคาย ข้ามไปเวียงจันทน์ ขากลับ กลับเส้นเดิมครับ เพราะตอนนั้นเราไปกันประมาณ 10 คัน

HDP: ฮาร์เล่ย์นี่เข้าไปได้ใช่มั้ยครับ
พี่โต้ง: ไปได้ครับ ไปได้ ถนนนี่ถือว่าโอเคเลยครับ เพียงแต่ว่าเราต้องระวังเรื่องพวกสัตว์ ที่ทางนู้นเขาเลี้ยงกัน อย่างพวกหมูกี้อะไรอย่างเนี้ยครับ (หมูดำ)

HDP: แล้วทริปที่ไม่เคยไปแล้วอยากไปละครับ
พี่โต้ง: อืม ตอนนี้ผมคิดว่าอยากเดินทางไปประเทศจีน อาจจะไปเริ่มที่คุนหมิงก่อน แล้วก็ไล่ขึ้นไป

 



HDP: อย่างทางอเมริกาละครับ
พี่โต้ง: อเมริกา ก็อยากจะไป พอดีมีเพื่อนอยู่ที่ Florida เค้าก็ชวนเราไป ก็คิดว่าถ้ามีโอกาสก็จะไปเเหมือนกัน แล้วก็มีอีกประเทศที่อยากไปขี่เหมือนกันก็คือประเทศญี่ปุ่น เพราะว่าเราเห็นจากทางแม็กกาซีน หรือว่าเพื่อนที่ไปสัมผัสทางนั้นก็ว่าถนนและวิวดีมากครับ ถนนหนทาง แล้วก็บรรยากาศที่นั่น เป็นเมืองที่สะอาดมาก

HDP: ระหว่างออกทริปนี่ พี่โต้งเคยเจออุบัติเหตุมั้ยครับ
พี่โต้ง: อุบัติเหตุ ใช่มั้ยครับ ก็สำหรับฮาร์เล่ย์นี่ยังไม่เคยเจอเลยครับ แต่ถ้าเป็นสมัยรถญี่ปุ่น สมัยเรายังใจร้อนอยู่ ยังไม่รู้จักระวังตัว นั่นก็เจออุบัติเหตุ แต่พอมาขี่ฮาร์เล่ย์แล้วไม่ค่อยเร็ว เลยไม่เคยเจออุบัติเหตุ

HDP: อยากให้พี่โต้งช่วยฝากถึงคนที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์หน่อยครับ ว่าควรจะระวังกันในส่วนไหนบ้าง
พี่โต้ง: ผมก็อยากเตือนเหมือนแบบเตือนตัวเองครับ สมัยที่เราเริ่มเล่นรถใหม่ๆ อยากให้ระมัดระวังมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถยนต์ พาหนะบนท้องถนนหรือว่าสัตว์เนี่ย ที่ผมประสบกับตัวเองก็คือโดนหมาตัดหน้า แล้วเราคิดว่าเราอยู่ ปรากฎว่าเราถึงเราชนจริงๆ นี่ ปรากฎว่ามันเอาไม่อยู่ มันดิ้น แล้วก็แรงของรถด้วย อัตราแรงเฉื่อย ก็เลยทำให้เราเกิดอุบัติเหตุได้ ก็เลยอยากเตือนว่าอย่าไปเสี่ยงหรือวัดดวงกับสิ่งเหล่านี้เลย คือต้องยอมให้เขาไปก่อนดีกว่า คือเบรกได้ก็เบรก อย่าไปวัดดวงว่า เอ้อ เดี๋ยวเขาคงจะไปแล้วละ คงไม่กลับมา อะไรอย่างเงี้ย อยากจะฝากให้พรรคพวกสองล้อด้วยกันระมัดระวังเรื่องนี้ให้มากๆ ครับ

 



HDP: ในปัจจุบัน เรื่องงานมอเตอร์ไซค์ที่มีในบ้านเราละครับ มันมีค่อนข้างเยอะ ดูแล้วพี่โต้งคิดว่าเป็นยังไงบ้างครับ
พี่โต้ง: ผม ก็คิดว่างานอีเว้นต์เดี๋ยวนี้ก็ มีกันแทบทุกจังหวัดละนะครับ ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ เหมือนการส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่ก็อยากให้ทุกคนมีความหมาย หรือว่ามีจุดหมายเดียวกัน คือรักที่จะขี่สองล้อ แล้วก็ร่วมเดินทางได้อย่างมีความสุข ไม่อยากให้มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน ทุกคนก็มีความฝันหรือว่าจินตนาการที่เหมือนกัน อยากจะให้ร่วมทางหรือว่าไปเที่ยวด้วยกันอย่างสนุกครับ

HDP: แถวนี้เคยมีแบบตีกันมั้ยครับ
พี่โต้ง: จริงๆ แล้วถ้าพูดถึงในวงการช็อปเปอร์หรือวฮาร์เล่ย์นี่ ที่ผมประสบมาแถวทางภาคอีสานหรือว่าตอนเหนือนี่ ยังไม่เคย จะเป็นรถประเภทอื่นซะมากกว่า เมายังไงก็ยัง รักกันเหมือนเดิม

HDP: พี่โต้งทำพวกทัวร์บ้างมั้ยครับ มีแบบนำขี่อะไรแบบนี้บ้างรึเปล่า
พี่โต้ง: ก็จริงๆ ทัวร์ส่วนมากเราก็จะมีไปเที่ยวเป็นกรุ๊ปกันเอง มีแต่ไปกันเอง แล้วก็ดูแลกันเอง เราก็ยังไม่เคยแบบว่าไปจัดทัวร์จากที่อื่นมา

HDP: แล้วทางอุดรฯเนี่ย ปัจจุบันกลุ่มคนขี่เยอะมากมั้ยครับ
พี่โต้ง: ถ้าพูดถึงปัจจุบันนี่รถเยอะ ค่อนข้างเยอะ น่าจะเยอะมาก เพราะว่ากระแสของฮาร์เล่ย์ค่อนข้างจะแรง จำนวนรถนี่ก็มากขึ้นทุกวันลำดับ โดยเฉพาะงานอีเว้นต์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศนี่เหมือนกับเป็นการส่งเสริมให้ค่านิยมฮาร์เล่ย์มันมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ ตอนนี้ สำหรับอุดรฯ ถ้าเทียบกับขอนแก่น หนองคาย ทางอุดรฯ จะเยอะกว่า ตอนนี้น่าจะมีร่วมๆ ร้อยแล้วครับ

 

 

HDP: ช่วงนี้ยังมีงานอุดรไบค์วีคอยู่มั้ยครับ
พี่โต้ง: ช่วง นี้ทางอุดรไบค์วีค ทางคณะกรรมการได้คุยกันแล้ว แต่ว่ายัง ยังไม่พร้อมที่จะจัด เพราะว่าต้องดูเกี่ยวดับเรื่องสถานการณ์อะไรหลายๆ อย่าง

HDP: ตอนนี้พี่โต้งก็มีทำซ่อม เซอร์วิสรถ ก็ทั้งรถญี่ปุ่น รถฮาร์เล่ย์
พี่โต้ง: เรารับทำรถทุกประเภทนะครับ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เยอรมัน อเมริกันอะไร เรารับทำหมด

HDP: แล้วรถแนว Vintage รับซ่อมด้วยไหมครับ
พี่โต้ง: Vintage นี่จะมีเป็นส่วนน้อย จะมีทางลาวเข้ามาอยู่

HDP: เขามาขี่เล่นในบ้านเรา หรือว่ามาซ่อมครับ
พี่โต้ง: คือเขาส่วนมากจะเป็นเอามาซ่อมมากกว่า เพราะว่าจริงๆ แล้วกฎหมายลาวเขาให้แค่ 250 ซีซี แต่จะมีแค่แบบว่า ทางเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับด้านหน่วยงานราชการที่เขาอาจจะมีสิทธิพิเศษ ถึงจะมีรถประเภทนี้ได้ อย่างพวก MZ, BSA

HDP: พี่โต้งเคยไปเจอพวกกลุ่มคนขี่ทางฝั่งนู้นบ้างมั้ยครับ
พี่โต้ง: ก็งานอุดรไบค์วีคที่ผ่านมาครับ เขาก็มาร่วมงานนะครับ เขาก็ขับข้ามสะพานไทย-ลาว มาร่วมงานที่อุดรฯ



HDP: คนทางลาวเล่นกันเยอะมั้ยครับ
พี่โต้ง: อย่าง ที่บอกตั้งแต่แรกว่ากฎหมายของลาวค่อนข้างจะจำกัดเรื่องซีซี จะได้แค่ 250 เพราะฉะนั้นคนที่มีเกิน 250 นี่ ค่อนข้างจะเป็นเจ้าหน้าที่อะไรอย่างนี้ ก็เลยทำให้จำนวนรถนี่ไม่มาก

HDP: พี่โต้งเคยไปเจอพวกกลุ่มคนขี่ทางฝั่งนู้นบ้างมั้ยครับ
พี่โต้ง: ก็งานอุดรไบค์วีคที่ผ่านมาครับ เขาก็มาร่วมงานนะครับ เขาก็ขับข้ามสะพานไทย-ลาว มาร่วมงานที่อุดรฯ

HDP: คนทางลาวเล่นกันเยอะมั้ยครับ
พี่โต้ง: อย่างที่บอกตั้งแต่แรกว่ากฎหมายของลาวค่อนข้างจะจำกัดเรื่องซีซี จะได้แค่ 250 เพราะฉะนั้นคนที่มีเกิน 250 นี่ ค่อนข้างจะเป็นเจ้าหน้าที่อะไรอย่างนี้ ก็เลยทำให้จำนวนรถนี่ไม่มาก

HDP: ให้พี่โต้งช่วยฝากถึงคนที่เป็นไบค์เกอร์เหมือนกัน แล้วก็คนที่อ่านคอลัมน์ด้วยครับ
พี่โต้ง: ก็อยากจะฝากชาวไบค์เกอร์ว่าทุกๆ คน เราก็มีความฝัน แล้วสักวันหนึ่งฝันของเราก็จะเป็นจริง ก็อยากให้ทุกคนมีความมุ่งมั่น แล้วก็รัก สามัคคี กลมเกลียวกัน คิดว่าวันหนึ่งต้องได้มาเจอกัน สักวันหนึ่งนะครับ ไม่งานใดก็งานหนึ่งครับ

 

หลายครั้งที่ผมได้พบกับพี่โต้งระหว่างการเดินทางออกทริป ถึงแม้จะไม่เคยได้ร่วมขับขี่ด้วยกัน แต่อัธยาศัยที่มีให้แก่กันในยามที่พบเจอกันตามจุดแวะพักต่างๆ ได้พูดคุยสอบถามถึงสิ่งที่พบเจอระหว่างการเส้นทาง เป็นมิตรภาพของชาวมอเตอร์ไซค์ที่ไม่สามารถหาได้ในกิจกรรมยามว่างประเภทอื่น

หลังจากพูดคุยกับพี่โต้งถึงเรื่องราวของแวดวงมอเตอร์ไซค์ในเขตภาคอีสานตอนบน ถึงได้ทราบว่า ลาว ประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้กับ อุดร เพียงแค่ไม่ถึงชั่วโมง มีกฏหมายห้ามประชาชนทั่วไปครอบครองรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ จึงทำให้ชาวลาวหลายคนที่ชื่นชอบรถ Big Bike สนใจที่จะเข้ามาขี่รถในประเทศไทย ซึ่งเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเช่ารถและนำเที่ยว ที่จะจับกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ได้ในอนาคต ซึ่งจะเป็นการนำเงินตราเข้าสู่ประเทศผ่านทางการท่องเที่ยวด้วยรถมอเตอร์ไซค์อีกทางหนึ่ง

 

Share   Like
Comments